พามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอีสาน กับ เมียนมาร์
.
ด้านภูมิศาสตร์
#ภาคอีสาน: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาภูพานและภูหลวงเป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล
# เมียนมาร์: ตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง ส่วนภูมิประเทศทาง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบล้อมรอบด้วยพื้นที่สูงชัน พื้นที่สูงขรุขระ มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 5,881 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
.
ด้านประชากร
#ภาคอีสาน: มีประชากรประมาณ 21.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลาว พูดภาษาไทยอีสาน
#เมียนมาร์: มีประชากรประมาณ 54.2 ล้านคน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่าเป็นหลัก ส่วนที่เหลือพูดภาษากระเหรี่ยง มอญ และจีนกลาง
.
ด้านวัฒนธรรม
#ภาคอีสาน: ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ขอม และมีบางวัฒนธรรมร่วมกับลาว ประเพณีสำคัญคือบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่เทียนพรรษา
#เมียนมาร์: มีวัฒนธรรมที่คล้ายกันกับภาคอีสานคือการนับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปะ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมากจาก อินเดีย จีน และประเทศใกล้เคียง
.
ด้านเศรษฐกิจ
#ภาคอีสาน: เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมีรายได้จากการปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา มี GRP อยู่ที่ 1.76 ล้านล้านบาท โดยที่มีค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 343 บาทต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 95,948 บาทต่อปี นอกจากนี้อิสานยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักคือ ลาว, จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของภาคอิสานที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในแถบ GMS นี้
#เมียนมาร์: มีเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมที่มีรายได้จากการปลูกถั่ว ข้าว ข้าวโพด และยางพารา ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับภาคอีสาน มี GDP อยู่ที่ 2.27 ล้านล้านบาท ค่าแรงขั้นต่ำพึ่งถูกให้ปรับสูงขึ้นเป็น 108 บาทต่อวันเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2567 และมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 41,566 บาทต่อปี
เศรษฐกิจในภาพรวมส่งสัญญาณที่จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังต้องเจอกับปัญหาเงินเฟ้อที่สูง และสถานการณ์ความไม่สงบภายในที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีภาคการผลิตสินค้าและแรงงานในต่างประเทศที่ยังคงผลักดันให้เศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ ส่วนภาคการท่องเที่ยว เมียนมาร์ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงโควิดที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2565 เหลือเพียง 2.3 แสนคนลดลง 95เปอร์เซ็น จากปี พ.ศ.2562 ที่มีมากถึง 4.4 ล้านคน
.
สรุป
ภาคอิสานของประเทศไทย มีจุดเชื่อมโยงที่มีความใกล้เคียงกันทางด้านวัฒนธรรมกับเมียนมาร์ จากอิทธิพลทางศาสนาพุทธ และอิทธิพลจากอินเดียและจีน จึงมีผลทำให้มีบางจุดของวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน แม้ว่าจะไม่ได้มีพรมแดนติดกันก็ตาม นอกจากนี้ยังมีความใกล้เคียงกันในด้านพืชเศรษฐกิจ ที่มีข้าว ข้าวโพด และยางพาราเหมือนกัน ความแตกต่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนคือ จำนวนของผู้ประกอบการ MSME ที่ในประเทศเมียนมาร์มีผู้ประกอบการต่อประชากร 1 พันคนอยู่ที่ 1.4 รายซึ่งค่อนข้างน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอิสานที่มี 34.6 รายต่อประชากร 1 พันคน ทำให้เห็นถึงความแตกต่างในภาพรวมของ สภาพเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการผลักดันจากภาครัฐ ของภาคอิสานในประเทศไทย และประเทศเมียนมาร์ได้อย่างชัดเจน
.
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักเศรษฐกิจการเกษตรม, กรมการค้าต่างประเทศ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงการต่างประเทศ, Asean Briefing, FAO, Myanmar National Trade Portal, MIFER,UNESCO, WITS,World Bank
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่