พามาเบิ่ง KUBOTA ผู้นำเบอร์ 1 รถเพื่อการเกษตรในไทย

ผู้ก่อตั้ง: Gonshiro Kubota

  • ชื่อบริษัท: บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ปีที่ก่อตั้ง: พ.ศ. 2521
  • ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: ปทุมธานี
  • รายได้: 54,347 ล้านบาท (-7.6% YoY)
  • กำไร (ขาดทุน): 4,838 ล้านบาท (-13.9% YoY)
  • ยอดรถแทรกเตอร์จดทะเบียนครั้งแรกปี 2567: ทั่วประเทศ 40,222 คัน / ภาคอีสาน 19,606 คัน

 

จังหวัด จำนวนศูนย์บริการ (แห่ง) จำนวนตัวแทนจำหน่าย (แห่ง) รายได้จากตัวแทนจำหน่าย (ล้านบาท) จำนวนรถรถแทรกเตอร์คูโบต้าจดทะเบียนครั้งแรก ปี 2567 (คัน)
ชัยภูมิ ศูนย์บริการเทคนิค 1 8 1,335.7 1,876
ยโสธร ศูนย์บริการเทคนิค 1 5 540.9 452
อุบลราชธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 16 4,334.6 1,430
ศรีสะเกษ 14 1,188.7 919
บุรีรัมย์ 11 1,132.2 1,125
นครราชสีมา ศูนย์บริการเทคนิค 1

ศูนย์กระจายอะไหล่ 2

คลังสินค้า 8

28 3,165.3 3,153
สุรินทร์ ศูนย์บริการเทคนิค 1 11 1,806.1 869
อำนาจเจริญ 4 259.8 336
หนองบัวลำภู 5 977.3 729
บึงกาฬ 7 3.2 216
หนองคาย 4 722.9 353
เลย ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 735.4 682
อุดรธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 15 3,552.8 1,754
นครพนม ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 401.1 426
สกลนคร ศูนย์บริการเทคนิค 1 10 1,007.4 937
ขอนแก่น ศูนย์บริการเทคนิค 1 16 1,577.3 1,469
กาฬสินธุ์ 6 741.9 1,211
มหาสารคาม 8 926.8 496
ร้อยเอ็ด ศูนย์บริการเทคนิค 1 14 900.7 818
มุกดาหาร 3 1.6 355

หมายเหตุ: ข้อมูลรายได้รายจังหวัดอาจมีความคลาดเคลื่อนจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างข้อมูลสถานประกอบการที่บริษัทรายงาน และข้อมูลในฐานทะเบียนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในบางกรณี

 

ทำไม คูโบต้า ถึงครองใจเกษตรไทย?

เมื่อพูดถึงการเกษตร ภาพแรกที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้นภาคอีสาน ภูมิภาคที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของภาคเกษตรไทยด้วยพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 65.4 ล้านไร่ คิดเป็น 20.4% ของพื้นที่ทั้งประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเกษตรกรมากที่สุดในไทย โดยมีจำนวนเกษตรกรสูงถึง 3.9 ล้านคน คิดเป็น 36.2% ของเกษตรกรทั่วประเทศ

ในจำนวนเกษตรกรชาวอีสานกว่า 3.9 ล้านคน มีจำนวนเกษตรกรกว่า 2.6 ล้านคนที่ใช้เครื่องจักรกลในการทำการเกษตร คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 65.4% ของเกษตรกรทั้งในอีสาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพูดถึงแบรนด์เครื่องจักรกลที่ได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกรอีสานมากที่สุดกว่า 84.6% เลือกใช้ “คูโบต้า” แบรนด์ที่อยู่คู่เกษตรกรไทยมาหลายสิบปี ด้วยภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ คุณภาพที่พิสูจน์ได้ และการเข้าถึงบริการหลังการขายอย่างทั่วถึง

คูโบต้า แบรนด์เครื่องจักรกลการเกษตรสัญชาติญี่ปุ่นที่อยู่คู่เกษตรกรมายาวนานก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่นโดยคุณ Gonshiro Ohde ในปี พ.ศ. 2433 ในชื่อ “Ohde Casting” ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “Kubota Iron Works” ในเวลาต่อมา เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหนึ่งในลูกค้าหลักของเขาคือบริษัท “Kubota Match Machine Manufacturers” ซึ่งบริหารงานโดยคุณ Toshiro Kubota ด้วยความขยันขันแข็งและความมุ่งมั่นในการทำงานของคุณ Gonshiro ทำให้คุณ Toshiro รู้สึกประทับใจอย่างมาก และในเวลาต่อมาได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมนั่นจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญคุณ Gonshiro เปลี่ยนนามสกุลจาก Ohde เป็น Kubota และชื่อ Kubota นี้เองก็ได้กลายมาเป็นชื่อของบริษัทอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ได้ติดต่อ คูโบต้า เพื่อขอซื้อรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา แต่แทนที่จะเป็นเพียงผู้ผลิตส่งออกคูโบต้าเห็นโอกาสสำคัญจึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่ตลาดอเมริกาเหนือในนามแบรนด์ของตนเอง คูโบต้าพัฒนาแทรกเตอร์ดีเซลแบบหลายสูบที่มีจุดเด่นทั้งความ กะทัดรัด น้ำหนักเบา แต่ให้สมรรถนะเทียบเท่ารุ่นใหญ่ ทำให้มียอดขายทะลุกว่า 2,000 คันในปีแรก กลายเป็นแบรนด์หน้าใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในตลาดสหรัฐฯ ด้วยความสำเร็จนี้คูโบต้าจึงก่อตั้งฐานปฏิบัติการขายแห่งแรกในต่างประเทศภายใต้ชื่อ Kubota Tractor Corporation (KTC) ที่เมือง คอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยดำเนินการร่วมกับ Marubeni Corporation เพื่อรองรับการเติบโตอย่างมั่นคง

คูโบต้าเข้ามาสู่ตลาดประเทศไทยในปี พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อแรกว่า บริษัท สยามคูโบต้าดีเซล จำกัด ทำการผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ตราสินค้า “คูโบต้า” และ “ตราช้าง” ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม จำกัด ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทได้ทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปี พ.ศ.2553 เป็นการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท สยามคูโบต้าแทรกเตอร์ จำกัด เป็น “บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 3,114 ล้านบาท โดยการร่วมทุนระหว่างคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) และ SCG (เอสซีจี) สยามคูโบต้าเริ่มส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 โดยเริ่มจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศกัมพูชา พม่า ลาว และอินเดีย ปัจจุบันส่งออกสินค้าภายใต้ตราสินค้าคูโบต้าและตราช้างไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ภายใต้เงื่อนไขและมาตรฐานของคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) โดยมียอดส่งออก มากกว่า 4,000 ล้านบาท

ด้วยจำนวนเกษตรกรกว่า 3.9 ล้านคน และพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า 65 ล้านไร่ ภาคอีสานจึงเป็นหัวใจสำคัญของภาคการเกษตรไทย และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้กลายเป็นหัวใจในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และทุ่นแรงของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน ในบรรดาเกษตรกรที่ใช้เครื่องจักรกลเพื่อการเกษตรนั้น กว่า 84.6% เลือกใช้ “คูโบต้า” เป็นเครื่องมือคู่ใจในการทำไร่ไถนา สะท้อนถึงความไว้วางใจในคุณภาพและบริการของแบรนด์ที่อยู่เคียงข้างเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน ผลจากความนิยมนี้ ทำให้ภาคอีสานมีตัวแทนจำหน่ายคูโบต้ากระจายอยู่ถึง 200 แห่ง ครอบคลุม 20 จังหวัด และสามารถสร้างรายได้รวมกันสูงถึง 25,000 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมามีการจดทะเบียนรถไถคูโบต้าในภาคอีสานถึง 19,606 คัน จากยอดรวม 40,222 คัน ทั่วประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 48.7% แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคอีสานในฐานะฐานผู้ใช้หลัก และบทบาทของเครื่องจักรกลเกษตรในการขับเคลื่อนอนาคตของเกษตรกรรมไทย

 

อ้างอิง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, กรมสรรพากร, เว็บไซต์ของบริษัท, ลงทุนแมน, PPTVHD36

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top