Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

เวียดนามจ่อลดขนาดหน่วยงานรัฐ ท่ามกลางเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น

ฮู้บ่ว่า เวียดนาม ตั้งเป้าหมายใหม่ ลดขนาดหน่วยงานภาครัฐลง 20% เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และจัดสรรงบประมาณไปที่การลงทุนในโครงการมากขึ้น โดยคาดว่ามีหลายหน่วยงานถูกยุบและบุคคลากรของรัฐจำนวนมากได้รับผลกระทบ “ หากเปรียบเทียบกับบริบทของประเทศไทย เป็นอย่างไรบ้าง? “   . เวียดนามปฏิรูประบบราชการ ผ่านแผนการลดขนาดหน่วยงานรัฐลง 20%  รัฐบาลเวียดนามเริ่มดำเนินการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าลดขนาดหน่วยงานของรัฐลง 20% เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ ลดหนี้สาธารณะ และเพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงการของภาครัฐ รวมถึงช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร   . ขนาดของภาครัฐไทยเปรียบเทียบกับเวียดนาม จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ไทยมีบุคลากรภาครัฐ 2.81 ล้านคน ขณะที่เวียดนามมี 2.00 ล้านคน นอกจากนี้ หากพิจารณาสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ พบว่า ไทยใช้จ่ายภาครัฐสูงถึง 21% ของ GDP ในปี 2566 โดยแบ่งเป็นการบริโภคของรัฐบาล 17% และการลงทุนในภาครัฐ 4.4% เวียดนามใช้จ่ายเพียง 18% ของ GDP แต่มีสัดส่วนการลงทุนในภาครัฐมากกว่าไทยโดยที่เกินครึ่งของค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล เป็นการลงทุนในภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวม รัฐวิสาหกิจ ภาครัฐของเวียดนามกลับมีขนาดใหญ่กว่าไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่เวียดนามมีรัฐวิสาหกิจมากกว่า 2,200 แห่ง และมีพนักงานกว่า 1.5 ล้านคน ในขณะที่ไทยมีเพียง 52 แห่ง และมีพนักงานราว 230,000 คน เท่านั้น   . ทำไมเวียดนามต้องลดขนาดภาครัฐ? ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้เวียดนามผลักดันการปฏิรูประบบราชการ เป็นผลมาจากเป้าหมายในการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆให้มากขึ้น รวมถึงลดการขาดดุลงบประมาณและระดับหนี้สาธารณะลง สำหรับเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 8% อีกทั้งการยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ และการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชนสามารถเติบโตและเข้ามามีบทบาทในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น รวมถึงยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการลดอุปสรรคจากความซ้ำซ้อนและกฎระเบียบของภาครัฐ   . แนวทางปฏิรูปของเวียดนาม ลดจำนวนแผนกและฝ่ายงานภายในกระทรวง รวมถึงลดจำนวนข้าราชการ ผ่านการเกษียณก่อนกำหนด หรือโอนย้ายไปยังภาคเอกชน รวมถึงมีการยุบและควบรวมหน่วยงานที่มีบทบาทซ้ำซ้อน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นเวียดนามจะมีการยุบหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ผ่านการปิดกิจการสถานีโทรทัศน์ 5 ช่อง ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารอีกราวๆ 19 บริษัท รวมถึงการควบรวมกระทรวงและหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงวางแผนและการลงทุนจะอยู่ในกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจะถูกรวมอยู่ในกระทรวงเกษตร เป็นต้น    . ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เวียดนามได้อานิสงส์จากการลดภาระงบประมาณ ทำให้มีงบเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเสถียรภาพทางการเงิน เพิ่มความสามารถในการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ จากโอกาสที่ให้ภาคเอกชนได้เติบโต   แต่ในขณะเดียวกัน ผลกระทบอาจทำให้เกิดการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการถูกปลดของแรงงานในภาครัฐซึ่งนำไปสู่แรงต้านจากกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวแม้ว่าจะมีการชดเชยรองรับแล้ว อีกทั้งอาจเป็นอุปสรรคในการทำตามเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องการ จากความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่อาจเกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจขึ้นได้ หากการดำเนินการปฏิรูปถูกจัดการได้ไม่มีประสิทธิภาพ   . ไทยควรพิจารณานโยบายปรับลดขนาดภาครัฐเช่นเดียวกับเวียดนามหรือไม่? ด้วยโครงสร้างภาครัฐของไทยยังค่อนข้างใหญ่กว่าเวียดนาม โดยมีบุคลากรมากกว่าของเวียดนามถึง 40% หากไม่นับรวมรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งไทยใช้ยังมีการใช้งบประมาณภาครัฐในสัดส่วนต่อ GDP ที่สูงกว่า ซึ่งในสัดส่วนที่มากเป็นการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของภาครัฐ   แต่ด้วยบริบทที่ต่างกันทั้งในแง่ของโครงสร้างของภาครัฐ […]

เวียดนามจ่อลดขนาดหน่วยงานรัฐ ท่ามกลางเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น อ่านเพิ่มเติม »

‘กู้มากกว่าออม’ ภาคอีสานภูมิภาคที่มีสัดส่วนเงินกู้มากที่สุดในประเทศ เผยยอด เงินออม-สินเชื่อ แบงก์พาณิชย์อีสาน ปี 2567

“ร้อยเอ็ด” กู้มากกว่าออมที่สุดในประเทศ ตามมาด้วย “จังหวัดกลุ่มราชธานีเจริญศรีโสธร” เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในแง่หนึ่ง เงินฝากช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเก็บออมเงินได้อย่างปลอดภัยพร้อมได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ธนาคารสามารถนำเงินฝากเหล่านี้ไปปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ ในปี 2567 ปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคอีสานอยู่ที่ 11.2 ล้านล้านบาท และภาคอื่นๆ ได้แก่ ภาคกลาง 45.1 ภาคเหนือ 10.2 และ ภาคใต้ 10.5 (หน่วย: ล้านล้านบาท) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญต่อการลงทุนและการบริโภคในทุกระดับ ทั้งบุคคล ธุรกิจขนาดเล็ก และธุรกิจขนาดใหญ่ การเข้าถึงสินเชื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายกิจการ จ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สินเชื่อยังช่วยให้ประชาชนสามารถซื้อสินทรัพย์มูลค่าสูง เช่น บ้านและรถยนต์ ผ่านระบบผ่อนชำระ  ในปี 2567 แนวโน้มปริมาณสินเชื่อรายเดือนลดลงต่อเนื่องทุกเกือบตลอดทั้งปี จากความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์และสัดส่วนหนี้เสียที่ยังสูง และจะพบได้ว่าหลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในจาก 2.50% เป็น 2.25% ส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อรายเดือนในช่วงสิ้นปีสูงปรับขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคอีสานรวมตลอดทั้งปีอยู่ที่ 11.6 ล้านล้านบาท พาสำรวจเบิ่ง เงินฝากในอีสานกว่า 9.5 แสนล้านบาท แต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนในช่วง 10 ปี   สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก: ตัวชี้วัดความสมดุลทางการเงิน โดยจังหวัดที่มีปริมาณเงินฝากและสินเชื่อมากในอีสานโดยปกติแล้วก็เป็นจังหวัดใหญ่ที่มีเงินสะพัดมากเช่น นครราชสีมา ที่มีเงินฝากและสินเชื่อเกือบ 20% ของทั้งหมดในอีสาน แต่หากพิจารณาถึง ‘ความสมดุล’ ระหว่างการฝากออมและการกู้เงิน ความสัมพันธ์ระหว่างเงินฝากและสินเชื่อสะท้อนถึงการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินที่เกิดขึ้นผ่านธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit Ratio: LDR) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยวิเคราะห์ความสมดุลของการพัฒนาทางการเงินในแต่ละพื้นที่ คำนวณได้จาก สินเชื่อทั้งหมด หารด้วย เงินฝากทั้งหมด โดยในปี 2567 ภาคอีสานมี LDR อยู่ที่ 103% และภาคอื่นๆได้แก่ ภาคกลาง 60% ภาคเหนือ 75% และภาคใต้ 83% ซึ่งจากภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วน LDR สูงที่สุดในประเทศ และยังเป็นภูมิภาคเดียวที่มีสัดส่วน LDR เกิน 100% (หากไม่รวมกรุงเทพฯ) ซึ่งสะท้อนว่า ภาคอีสานมีความต้องการสินเชื่อ ที่สูงกว่า การเก็บออม จังหวัดที่มี LDR สูงเกิน 100% หากมองลึกลงไปในระดับจังหวัดของภาคอีสาน พบว่า มี 11 จังหวัดในภาคอีสานที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงกว่า 100% ได้แก่: ร้อยเอ็ด (150%) บึงกาฬ (121%) อุบลราชธานี (119%) สกลนคร (115%) ขอนแก่น (114%) อำนาจเจริญ (112%) สุรินทร์ (109%) ยโสธร

‘กู้มากกว่าออม’ ภาคอีสานภูมิภาคที่มีสัดส่วนเงินกู้มากที่สุดในประเทศ เผยยอด เงินออม-สินเชื่อ แบงก์พาณิชย์อีสาน ปี 2567 อ่านเพิ่มเติม »

ครั้งแรกในรอบ 10 ปี คนอีสาน เกิด-ตาย เกือบเท่ากัน ในขณะที่คนไทยเกิดน้อยกว่าตาย 4 ปีซ้อน

“การลดลงของประชากรอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง มีรายได้สูง ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากร เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และอาจมีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจ” วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   ปัญหาการลดลงของอัตราการเกิดใหม่ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญและพยายามแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่าผลกระทบในปัจจุบันอาจยังไม่ชัดเจน แต่ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า การหดตัวของประชากรวัยแรงงานจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจชะลอตัวลง และประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทำไมคนไทยถึงมีลูกน้อยลง สาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลงนั้น เกิดจากทั้งวิถีชีวิตและทัศนคติที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีความหลากหลายทางเพศที่ทำให้รูปแบบครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ขยับตัวไม่ทัน ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้จึงไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ กลายเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ทำให้ตัดสินใจไม่อยากมีลูก เนื่องจากกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนจบปริญญาตรีสูงถึงประมาณ 5 แสน จนถึง 2 ล้านบาทต่อคน ทำให้หลายครอบครัวลังเลหรือชะลอการมีบุตร   10 ปีที่ผ่านมาการเกิดของคนไทยลดลงไปมากแค่ไหน ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยมีจำนวนการเกิดลดลงในทุกๆปี ซึ่งตรงกันข้ามกับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี การระบาดของโควิด-19 เป็นเสมือนสิ่งที่กระตุ้นให้ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีที่คนไทยมีจำนวนการเกิดใหม่อยู่ที่ 544,570 คน ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นมีสูงถึง 563,650 คน ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในทางกลับกันการระบาดของไวรัสทำให้ผู้คนพบเจอกันน้อยลงปฎิสัมพันธ์ของคนก็น้อยลงเช่นกัน เหลือแต่เพียงการติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แม้จะผ่านพ้นช่วงการระบาดของโควิด-19 มาแล้วก็ตามแต่จำนวนการเสียชีวิตของคนไทยก็ไม่ได้มีการลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19ขนาดนั้น หนำซ้ำจำนวนการเกิดของคนไทยกลับลดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่กำลังเกิดในปัจจุบันเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลัง และใกล้เข้ามามากขึ้นทุกวันๆ รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถาบันฯ ได้ทำการสำรวจข้อมูลในปลายปี 2567 ในประชาชนไทยอายุ 28 ปีเป็นต้นไป จำนวน 1,000 กว่าคน พบว่า ร้อยละ 71 มองว่าการเกิดน้อยเป็นวิกฤตของประเทศ และมีเพียงร้อยละ 6 มีมองว่ายังไม่ใช่วิกฤต “ซึ่งข้อค้นพบนี้ทำให้เห็นว่าคนไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตนี้ ส่วนคำถามถึงแผนการมีบุตรในกลุ่มประชากรที่มีความพร้อม พบว่าร้อยละ 35.8 ตอบว่าจะมีลูกแน่นอน ร้อยละ 29.9 ตอบว่า อาจจะมีลูก ร้อยละ 14.6 ตอบว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.1 ตอบว่าจะไม่มีลูก และร้อยละ 6.6 ตอบว่าจะไม่มีลูกอย่างแน่นอน”จากชุดข้อมูลพบว่า มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่คิดจะมีลูก แม้จะน้อยแต่ก็ยังเป็นแนวโน้มในเชิงบวก ส่วนกลุ่มที่ตอบว่า “อาจจะมีลูก” นั้น เป็นกลุ่มสำคัญต่อนโยบายส่งเสริมการมีลูก ที่จะต้องไปพูดคุยอย่างชัดเจนให้ถึงสาเหตุของการตอบว่า อาจจะ เพราะหากมีการสนับสนุนที่ตรงจุดก็จะทำให้กลุ่มดังกล่าว มั่นใจที่จะมีลูกเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ประชากรที่จะมีลูกอย่างแน่นอนเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละกว่า 60   ภาพที่ 1: จำนวนการเกิด และเสียชีวิตของประชากรทั่วประเทศ พ.ศ. 2558

ครั้งแรกในรอบ 10 ปี คนอีสาน เกิด-ตาย เกือบเท่ากัน ในขณะที่คนไทยเกิดน้อยกว่าตาย 4 ปีซ้อน อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมโคราช ถึงถูกเสนอให้เป็น เมืองหลวงแห่งที่ 2 ในวันที่ กรุงเทพฯ อาจจมบาดาล

โคราช ถูกเสนอเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 หลังถูกพูดถึงอีกครั้ง ในการประชุมแก้ปัญหาวิกฤต กทม. เมืองหลวงที่กำลังจะจมน้ำจากภาวะโลกร้อน หลังจากมีข่าว กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และ สรุปผลการพิจารณาข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ในส่วนของแผนการจัดน้ำที่ดี กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำและกักเก็บน้ำเพิ่มเติมสำหรับแผนการจัดการน้ำในระยะกลางแล้ว และได้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ซึ่งเป็นอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แล้ว 4 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 แห่ง และมีแผนสร้างคันกั้นน้ำด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเพื่อการจัดการน้ำในระยะยาวอีกด้วย ในส่วนของโครงสร้างการป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงสร้างแบบแข็ง (เขื่อนกันคลื่น/กำแพงกันคลื่น) และแบบอ่อน (เนินทราย/ป่าชายเลน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดสมุทรสาคร และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลียทางด้านวิชาการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะระบบระบายน้ำ การย้ายเมืองหลวง จากกรุงเทพมหานครไป จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่า การการย้ายเมืองหลวงจะต้องมีการทำประชามติ และประเมินผลกระทบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการและการจ้างงาน และกระทบต่อวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชน ดังนั้น การสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือดำเนินการเพิ่มเมืองศูนย์กลาง ระดับภาคและศูนย์กลางรองระดับภาคเพื่อสร้างสมดุลให้แก่ระบบเมืองของประเทศ น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า ความเหมาะสมของจังหวัดนครราชสีมา ที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมือง และกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการศึกษาและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาด้านทรัพยากรน้ำในทุกมิติให้เกิดความมั่นคงและความสมดุลกับความต้องการน้ำในอนาคต และศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงของประเทศอื่นเป็นแนวทางและเทียบเคียงด้วย การศึกษาในเรื่องน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเกิดจากภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการศึกษา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เช่น การจัดทำ Sea barrier ได้แก่ การพัฒนาเขื่อน ประตูกั้นปากแม่น้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำทะเล รวมทั้งการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาแนวทางการป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และการศึกษาการคาดการณ์อนาคต ระดับน้ำที่สูงขึ้นในแต่ละช่วงปี เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาให้เกิดความครอบคลุมและควรศึกษาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและปัญหาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า ควรมีการจัดทำฉากทัศน์ เพื่อเปรียบเทียบ สถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเลือกและผลได้ผลเสียเปรียบเทียบ และควรศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นให้รอบคอบเพื่อกำหนดแผนป้องกัน แก้ไข และการจัดการแบบปรับตัว (Adaptive Management) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาในการออกแบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ควรมีการศึกษาการออกแบบอาคารใหม่ และการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิมแบ่งตามประเภทอาคารที่ใช้งานรวมถึงขนาดและความสูงของอาคาร ควรมีการปรับปรุง Rule Curve ของแต่ละอาคารบังคับน้ำและอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งควรเตรียมการด้านกฎหมายและการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ควบคู่กันไป และควรมีการปรับกฎหมายสิ่งก่อสร้างให้สอดรับกับการปรับโครงสร้างอาคารสถานที่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ประชุมครม.ได้มีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย หรือการสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ประสบปัญหากำลังจะจมบาดาล เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนจากนี้จะแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบตามขั้นตอนต่อไป ล่าสุด 4/2/2568 : ครม.รับฟังข้อเสนอ เมืองหลวงแห่งที่ 2 หนีวิกฤตกรุงเทพฯ จมน้ำ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัฐบาลได้มีการพิจารณาหาทางออกอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในแนวคิดที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ การย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครราชสีมา หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “โคราช” ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยรวบรวมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2

ทำไมโคราช ถึงถูกเสนอให้เป็น เมืองหลวงแห่งที่ 2 ในวันที่ กรุงเทพฯ อาจจมบาดาล อ่านเพิ่มเติม »

คูน้ำโบราณบุรีรัมย์ มรดกภูมิปัญญาแห่งแดนอีสานใต้

คูน้ำ เป็นร่องที่ถูกขุดขึ้นเพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ โดยทำหน้าที่เป็นเส้นทางการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค โดยในอีสานใต้ โดยเฉพาะบุรีรัมย์ มีคูน้ำที่ล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยอยู่มากมาย ซึ่งบทความนี้จะพามาดูต้นกำเนิดของคูน้ำ มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องราวของเมืองโบราณแห่งอีสานอย่างบุรีรัมย์ ภายในตัวอำเภอเมืองบุรีรัมย์ บริเวณใจกลางเมืองมีคูน้ำขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปวงรีล้อมรอบบริเวณพื้นที่ศาลหลักเมือง คนบุรีรัมย์เรียกคูน้ำนี้ว่า “ละลม” มีความกว้างเฉลี่ย 80 เมตร ยาวประมาณ 5,000 เมตร พื้นที่รวม 179 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา แต่ก่อนมีเพียงคูเดียวล้อมรอบ แต่ปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ซึ่งละลมแห่งนี้มีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ช่วง พ.ศ.1100 – 1500) มีอายุกว่า 1,800 ปี  ซึ่งการกร้างละลมนี้มีจุดประสงค์เป็นเพื่อการอุปโภคบริโภคของชาวเมือง และการทำอุตสาหกรรมเหล็กในสมัยก่อนเป็นหลัก โดยละลมถูกจัดตั้งเป็นโบราณสถานตามประกาศกรมศิลปากร ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2523 นอกจากจะเป็นสถานที่ประวัติศาตร์แล้ว ปัจจุบันละลมของเมืองบุรีรัมย์ ก็เป็นสวนสาธารณะและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองบุรีรัมย์และนักท่องเที่ยว นอกจากละลมในตัวเมืองแล้วนั้น คูน้ำลักษณะนี้ยังกระจายอยู่หลายพื้นที่ในจังหวัด โดยขอยกตัวอย่าง “บ้านปะเคียบ” ตั้งอยู่ ตําบลปะเคียบ อําเภอคูเมือง เป็นชุมชนเมืองโบราณที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล หมู่บ้านมีลักษณะที่ถูกโอบล้อมด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งบ้านปะเคียบแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานโนนสำโรง ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากโบราณวัตถุมากมายไม่ว่าจะเป็นก้อนศิลาแลง หรือชิ้นส่วนกระเบื้อง เป็นต้น โดยตัวอย่างชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีคูน้ำล้อมรอบเพื่อใช้ประโยชน์ ที่หยิบยกมานำเสนอ ได้แก่ บ้านเมืองฝ้าย ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เป็นอีกชุมชนเมืองโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น ลึกประมาณ 2.50 เมตร บ้านทะเมนชัย ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย เป็นชุมชนเมืองโบราณ มีคูน้ำล้อมรอบขอบเนินเป็นรูปวงรี ตามแนวเหนือใต้ 3 ชั้น กว้างยาวโดยประมาณ 244  ไร่ บ้านตะลุงเก่า ตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย เมืองโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นวงรีซ้อนกันสามชั้น ปัจจุบันเหลืออยู่สองชั้น บ้านแสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย กับคูน้ำโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี นอกจากชุมชนที่กล่าวมา ยังมีชุมชนอื่นๆ ที่มีคูเมืองล้อมรอบ เช่น บ้านพระครู บ้านเมืองดู่ และบ้านไทรโยง คูน้ำถือเป็น ‘นวัตกรรม’ การบริหารจัดการน้ำของชาวอีสานใต้ในอดีต สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการปรับตัวของผู้คนที่อาศัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระบบคูน้ำนี้ไม่เพียงช่วยกระจายน้ำสู่พื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง แต่ยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อีกทั้งยังเป็นระบบนิเวศขนาดเล็กที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำและพืชน้ำหลากหลายชนิด ซึ่งยังคงให้ประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน    ที่มา สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม วิกิชุมชน วารสารเมืองโบราณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์  

คูน้ำโบราณบุรีรัมย์ มรดกภูมิปัญญาแห่งแดนอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม »

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน

ฮู้บ่ว่า? นอกจากสินค้าจากจีนที่ทะลักมาไทยแล้ว จีนยังเริ่มย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น โดยในปีล่าสุดมีโรงงานตั้งใหม่กว่า 179 แห่งที่มีการลงทุนจากจีน . หลังจากการเกิดสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2560 ส่งผลให้จีนได้เริ่มมีการมองหาตลาดใหม่ๆ ในการขายสินค้าที่ผลิตออกมามหาศาลในประเทศ ทำให้สินค้าจีนมีแนวโน้มที่จะทะลักมายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศใน GMS รวมถึงไทยเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน . การทะลักของสินค้าจากจีน สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยได้ในหลายมิติ ในด้านหนึ่งผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้รับอานิสงค์จากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้น จากสินค้าที่มีราคาถูกลง มีความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในภาคการผลิต กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันภายในประเทศที่เข้มข้น ตลอดจนความยากลำบากในการแข่งขันด้านต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศได้ ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถรับมือกับปัญหาการทะลักของสินค้าจีนได้ จนนำไปสู่การปิดโรงงานหรือยุติการดำเนินกิจการในที่สุด . นอกจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนแล้ว จีนยังเริ่มขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการจัดตั้งหรือร่วมลงทุนในโรงงานภายในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดแนวโน้มนี้คือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนสามารถใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีสินค้าจีนที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศไทยเองยังมีความต้องการสินค้าจากจีนสูง ทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนมองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ ส่งผลให้การย้ายฐานการผลิตมายังไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปภาพ 1 : มูลค่าการลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตจากประเทศจีน ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รูปภาพ 2 : จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการจากจีน ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน . มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากจีนในภาคการผลิตของไทยเติบโตกว่า 6 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,547 ล้านบาท ก่อนสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เป็น 38,401 ล้านบาท ในปี 2566  สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการขยายฐานการผลิตของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จีนมีความได้เปรียบ เช่น พลาสติก โลหะ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ที่ไทยมีการพึ่งพาจากจีนสูง รวมถึงกลยุทธ์การย้ายฐานการผลิตของจีนเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติตะวันตกและสิทธิประโยชน์จาก BOI ยังผลักดันให้จีนขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น รูปภาพ 3 : จำนวนการตั้งโรงงานในปี 2567 โดยจำแนกตามสัญชาติที่มีการลงทุน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม รูปภาพ 4 : มูลค่าการลงทุนในบริษัทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . ในปี 2567 มีการตั้งโรงงานที่ได้รับการลงทุนจากจีนกว่า 179 แห่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการตั้งโรงงานในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนการตั้งโรงงานที่มีจีนลงทุนมากถึง 164% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆที่ไม่มีการลงทุนจากจีน รวมถึงเม็ดเงินการลงทุนในโรงงานจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 11,387 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนให้ความสำคัญกับตลาดไทยมากขึ้นทั้งในด้านการรองรับสินค้านำเข้าจากจีนและโอกาสที่จะเติบโตในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รูปภาพ 5 : ประเภทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน จำแนกตามขนาดของโรงงาน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . การลงทุนจากจีนในโรงงานของไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่จีนได้เปรียบและไทยมีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน อ่านเพิ่มเติม »

มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน

เผาอ้อย สาเหตุจากต้นทุน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง  การเผาอ้อย เป็นกรรมวิธีที่ชาวไร่อ้อยทำในช่วงเก็บเกี่ยวอ้อยจนกลายเป็นวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงเปิดหีบอ้อยช่วงเดือนธันวาคม-ช่วงต้นปี ซึ่งสาเหตุหลักที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเลือกที่จะทำการเผา มาจากปัจจัยด้าน “ต้นทุน” เนื่องมาจากแรงงานตัดอ้อยสดหาได้ยากกว่า แรงงานไม่ชอบตัดอ้อยสด เพราะยุ่งยาก เสี่ยงที่โดนใบอ้อยบาดมือ และใช้เวลามากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีต้นทุนค่าแรงที่สูง เจ้าของไร่อ้อยหลายรายจึงมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะจ้าง และเลือกที่จะใช้วิธีการเผาแล้วจึงเก็บเกี่ยว   ปัจจัยต่อมาคือการใช้รถตัดอ้อยเพื่อแก้ปัญหาแรงงานนั้นทำไม่ได้ทั่วถึงเนื่องจากในบางพื้นที่สภาพทางกายภาพไม่เหมาะสมกับรถตัด ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นเนิน มีหินเยอะ มีต้นไม้เยอะ พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังได้ง่าย นอกจากนั้นการใช้รถตัดอ้อยนั้นมีต้นทุนที่สูง จำนวนรถตัดมีไม่มาก และไร่อ้อยบางพื้นที่รถตัดเข้าไปได้ยาก และเสี่ยงที่จะไม่คุ้มค่า ลักษณะของแปลงของเกษตรกรไร่อ้อยในภาคอีสานเป็นแปลงขนาดเล็ก เกษตรกรมีจำนวนมากในบางโรงอาจมีเกษตรกรมากถึงเป็น 10,000 ราย ในการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เช่นรถตัดอ้อยเข้าไปในแปลงขนาดเล็กนั้นจะไม่คุ้มทุนเพราะต้องเสียหัวแปลงท้ายแปลงในการกลับรถเสี่ยงต่อการที่รถตัดอ้อยจะเหยียบอ้อย การที่แปลงไร่อ้อยกระจายอยู่ทั่วไปไม่รวมตัวกันทำให้การเคลื่อนย้ายรถตัดทำได้ลำบาก อาจมีต้นทุนที่สูงจึงทำให้หารถเข้าไปตัดได้ยาก  คุณภาพของการบริการรถตัดอ้อยก็ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรเช่นกันเพราะถ้าหากคนขับรถตัดไม่ชิดดินทำให้ตออ้อยถอนขึ้นหรือเหยียบตออ้อยจะทำให้อัตราการงอกในปีต่อไปค่อนข้างต่ำและเกิดการสูญเสียในปีต่อๆไป   นอกเหนือจากปัจจัยสำคัญในข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น ปัญหาไฟไหม้ธรรมชาติ หรือไฟที่เผาจากแปลงอื่นลุกลามมา นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการแข่งขัน ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องทำการรีบเร่งให้ผลผลิตของตนออกสู่ตลาดก่อนรายอื่น จึงต้องทำการเผาอ้อยเพื่อเร่งเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้   การแข่งขันระหว่างโรงงานอาจเป็นเหตุจูงใจให้มีการจุดไฟเผาไร่อ้อย เพื่อบังคับให้เกษตรกร เร่งการเก็บเกี่ยวหากไม่มีคิวหีบก็จะต้องขายอ้อยที่ไหนก็ได้แบบเร่งด่วนเพื่อไม่ให้น้ำหนักอ้อยไฟไหม้สูญเสียไปมากกว่าที่ควรเป็น ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้   ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีการปลูกอ้อยมากที่สุดในในประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเผาอ้อยมากที่สุดตามไปด้วย โดยปริมาณอ้อยไฟไหม้ที่เกษตรชาวไร่อ้อยอีสานได้นำมาขายให้โรงงานมีปริมาณทั้งสิ้น 14 ล้านตัน หรือเป็นสัดส่วนกว่า 34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบในภาคอีสาน การเผาอ้อยนั้นเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาควัน เศษที่เถ้า ฝุ่น PM2.5 ผนวกกับช่วงต้นปีมีความกดอากาศต่ำอยู่แล้ว จึงส่งผลให้ปัญหามลภาวะหนักขึ้นไปอีกและกลายเป็นปัญหาที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทุกปี  เผาอ้อยเฮ็ดหยัง? ต้นตอฝุ่นควัน กับเหตุผลที่หลายคนยังไม่รู้ สัดส่วนอ้อยเผาเข้าหีบอีสานลดลง จากมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ปีเก็บเกี่ยว 2567/68 นี้ บอร์ดคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเก็บเกี่ยวและซื้อขายอ้อยของชาวไร่และโรงงาน เพื่อลดปัญหาการเผาและฝุ่นควัน ผ่านการสนับสนุนให้เก็บเกี่ยวอ้อยสดเพิ่มขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับใบและยอดอ้อยผ่านการรับซื้อจากชาวไร่ มีการสนับสนุนและดูแลเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวอ้อยสด ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวไร่ประมาณ 120 บาทต่อตันอ้อย อีกทั้งในปีนี้มีมาตรการหักเงินชาวไร่ตามสัดส่วนของอ้อยเผาที่ส่งเข้าโรงงาน ตั้งแต่ 30-130 บาทต่อตัน นอกจากนั้นยังมีบทลงโทษแก่โรงงานน้ำตาลที่มีการรับซื้ออ้อยเผาเกินสัดส่วน ดังเช่นในกรณีของ บริษัท น้ำตาลไทย อุดรธานี ที่ได้ถูกสั่งปิดชั่วคราวหลังจากมีการรับซื้ออ้อยเผาเป็นปริมาณมาก   โดยจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในปีเก็บเกี่ยวนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณอ้อยเข้าหีบหลังจากเปิดหีบ 45 วัน ของปีการผลิต 2566/2567 และ 2567/2568  พบว่าตัวเลขการรับซื้ออ้อยเผาของโรงงานน้ำตาลภาคอีสานลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปีการผลิต 2566/2567 (เปิดหีบ 12 ธ.ค. 2566) มีปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบ 7 ล้านตัน คิดเป็น 30% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม ขณะที่ปีการผลิต 2567/2568 (เปิดหีบ 6 ธ.ค. 2567) พบว่าปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบลดลงเป็น 4.2 ล้านตัน และคิดเป็นเพียง 20% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมในปีนี้ สะท้อนผลในเชิงบวกของการใช้มาตรการ เป็นแนวทางการลดปัญหาการเผาอ้อยและมลภาวะต่อไป

มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม »

แบงก์ไทย🇹🇭อนุมัติยากนัก 🇨🇳 สินเชื่อจีนเตรียมบุก หวังดันยอดรถ EV🚘อนุมัติง่าย ดอกเบี้ยต่ำ

ยอดรถจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซาตลอดปี 67 จากบทความที่ยกมาข้างต้น จะพบว่ายอดจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซา รวมถึงสถานการณ์ทั้งประเทศก็ไม่ต่างกันมากนัก โดยเฉพาะตลาดรถกระบะที่ซบเซามากที่สุดในรอบ 5 ปี อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น และหนี้เสีย(NPL) รวมทั้งหนี้ที่ต้องเฝ้าระวังหรือชำระล่าช้าเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และอนุมัติวงเงิน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ยากมากยิ่งขึ้น โดยตัวเลขประมาณการณ์การอนุมัติไม่ผ่านของสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นถึง 20-30% โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพค้าขาย และอาชีพอิสระ ที่อาจมีการปฏิเสธสินเชื่อสูงมากขึ้นด้วย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อสถานการณ์โดยรวม ดังต่อไปนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: แม้จะมีการสนับสนุนจากรัฐบาลและแผนที่ชัดเจนสำหรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ แต่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยในปี 2566 ก็ต่ำกว่าเป้าหมายอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากความยากลำบากในการขอสินเชื่อจากธนาคารสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แม้ความต้องการรถไฟฟ้าของผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสนใจมากขึ้น และต้องการใช้สิทธิ์ในการสนับสนุนการซื้อจากภาครัฐ ธนาคารไม่ยอมให้กู้ยืมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า: อัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงในตลาดยานยนต์ไทยทำให้ธนาคารระมัดระวังในการให้กู้ยืมสำหรับรถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีงานไม่เป็นทางการ เช่น ฟรีแลนซ์, ค้าขาย โอกาสและช่องว่างทางธุรกิจของธุรกิจการเงินจากจีน สถาบันการเงินจีนเข้ามาแทนที่: เพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ สถาบันการเงินจีนได้เข้าสู่ตลาดไทยด้วยเงื่อนไขสินเชื่อที่ยืดหยุ่นกว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า และขั้นตอนการอนุมัติที่ง่ายกว่า ทั้งยังเพื่อช่วยส่งเสริมการรุกตลาดของรถยนต์ EV ในไทย และเพื่อทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถ EV สามารถเร่งทำยอดขายก่อนที่โควต้าการนำเข้าต่อการผลิตรถภายในไทยที่บังคับไว้จะเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ผู้ให้กู้ยืมชาวจีนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี: สถาบันเหล่านี้ใช้ AI และข้อมูลขนาดใหญ่ในการประเมินความน่าเชื่อถือเหนือกว่าคะแนนเครดิตแบบดั้งเดิม ทำให้บุคคลที่มีแหล่งรายได้ไม่เป็นทางการสามารถมีคุณสมบัติสำหรับสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่จะทำในรูปแบบ FinTech(แอพกระเป๋าเงินดิจิตอล) หรือ รูปแบบ Virtual Bank (ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา) เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการทางการเงิน รวมถึง นำเทคโนโลยีจากจีนที่เชี่ยวชาญในการทำ SuperApp ที่รวมทุกบริการไว้ในแอปเดียว และให้บริการ Fintech อย่างที่แบรนด์จีนเข้ามาทำตลาดในไทยก่อนหน้านี้ อย่างเช่น ShopeePayLater, LazadaPayLater, หรืออย่าง Grab PayLater ที่ใช้เทคโนโลยีตรวจเช็คพฤติกรรมการใช้จ่าย การจ่ายที่ตรงเวลา และอื่นๆ เพื่อนำมาคำนวณเครดิตในการปล่อยสินเชื่อ นั่นเอง ตัวเลือกในตลาดที่มากขึ้นและเพิ่มการแข่งขันด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งหากสถานบันการเงินจากต่างชาติเข้ามาเป็นตัวเลือกให้ลูกค้าย่อมทำให้เกิดการแข่งขัน และดึงดูดด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ต้องรอดูสถานการณ์และดูแนวโน้มต่อไป เพราะ แม้จะมีแนวโน้มว่าสินเชื่อรถยนต์ EV จีนจะปล่อยแบบลดต้น-ลดดอก แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน เพียงแต่หากเกิดขึ้นจริง ย่อมทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนตลาด ลิซซิ่งสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่อาจจะตามาในอนาคต ความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลทางการเงินของจีน: การเพิ่มขึ้นของสถาบันการเงินจีนในตลาดยานยนต์ไทยก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบระยะยาวต่อระบบการเงินไทย ที่จะไม่เฉพาะในวงการของรถยนต์ รวมถึงความกังวลจากการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น เนื่องจากหนี้รถยนต์เป็นภาระที่ค่อนข้างก้อนใหญ่ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น ความท้าทายที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากลำบากในการขอสินเชื่อจากธนาคารสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นำเสนอการเกิดขึ้นของสถาบันการเงินจีนเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ ซึ่งนำเสนอตัวเลือกสินเชื่อที่ยืดหยุ่นและเข้าถึงได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลทางการเงินของจีนในตลาดไทย รวมทั้งยังต้องมีการผ่านข้อบังคับ และข้อกฎหมายในประเทศไทยตามการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเป็นต้องติดตามการอัพเดตกันต่อไปว่า สินเชื่อจากจีนนี้จะมาเมื่อไหร่ในรูปแบบใด และจะเข้ามามีบทบาทในตลาดการเงินของไทยมากน้อยเพียงใด   โค้วยู่ฮะ อีซูซุ กับความท้าทาย ในตลาดรถกระบะ ปี 2567

แบงก์ไทย🇹🇭อนุมัติยากนัก 🇨🇳 สินเชื่อจีนเตรียมบุก หวังดันยอดรถ EV🚘อนุมัติง่าย ดอกเบี้ยต่ำ อ่านเพิ่มเติม »

NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ”

พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5   ในทุกฤดูหนาวอากาศที่เย็นตัว พร้อมกับความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผนวกกับลมประจำฤดูที่พัดลมหนาวจากตะวันออกเฉียงหนือ จาก Infographic ที่แสดงจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า มลพิษทางอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เป็นอีก 1 สาเหตุของมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรม, การใช้รถที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และที่กำลังเป็นประเด็นสังคม คือ การเผาในทางการเกษตร ทั้ง นาข้าว อ้อย และข้าวโพด ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT เสนอให้มีการตรวจสอบและศึกษาวิจัยสาเหตุของฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจัง เพื่อหาต้นตอที่แท้จริงโดยนำวิเคราะห์ฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์มาใช้ ศึกษาฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์ “การเผา-การใช้รถ” อาจไม่ใช่ “สาเหตุหลัก” ฝุ่น PM2.5 รองผู้อำนวยการ NARIT เผย ต้นตอหลักของการเกิดฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาและการใช้รถไม่ถึงครึ่ง แต่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “ละอองลอยทุติยภูมิ” ในงาน NARIT The Next Big Leap เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 68 ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT ได้มีการกล่าวถึงการนำองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งรวมถึงปัญหาใหญ่ใกล้ตัวอย่าง “วิกฤตฝุ่น PM2.5” ด้วย ดร. วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการ NARIT บอกว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคนิค “Mass Spectrometry” (แมสสเปกโทรเมทรี) ในการศึกษาองค์ประกอบฝุ่นเพื่อหาว่าต้นตอจริง ๆ ของฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาตามที่มีการเข้าใจกันเป็นวงกว้างจริงหรือไม่ Mass Spectrometry คือการจำแนกโครงสร้างของโมเลกุลสารต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบของสเปกตรัม ซึ่งทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สารนั้น ๆ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันเป็นอะไรบ้าง เช่น นักดาราศาสตร์จะใช้ตรวจวัดสเปกตรัมรังสีคอสมิกในบรรยากาศดวงจันทร์ ในที่นี้ ก็สามารถนำมาใช้ศึกษาฝุ่นได้และสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้ด้วย ดร.วิภูบอกว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2016 งานวิจัยต่างประเทศเคยมีการทดลองใช้ ACSM ใกล้กับกรุงมิลาน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมของอิตาลี และมีประชากรมาก มีหลายองค์ประกอบที่คล้ายกรุงเทพและเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนั้นออกมาว่า ในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบโดยเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์ถึง 58% รองลงมาคือไนเตรท (NO3) 21% ตามด้วยซัลเฟต (SO4) 12% และแอมโมเนีย (NH4) 8% งานวิจัย Variations in the chemical composition of

NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ” อ่านเพิ่มเติม »

อะไรๆ ก็หม่าล่า พามาเบิ่ง หม่าล่าในอีสาน ยังฮอตฮิต หรือแค่กระแส(ที่เริ่มแผ่ว)

ถ้าพูดถึงอาหารยอดฮิตยอดนิยมตตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น “หม่าล่า” อาหารรสชาติเผ็ดชาที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์จีน ที่ตอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นนักเรียนนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน ซึ่งตอนนี้ก็มีธุรกิจร้านอาหารหม่าล่าผุดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ด (ร้านอาหารข้างทาง) ร้านอาหารปิ้งย่างชาบูบุฟเฟต์อลาคาส ที่มีคนยืนต่อคิวเข้าร้านมากกว่าร้อยคิวต่อหนึ่งวัน ฮู้บ่ว่าจริงๆ “หม่าล่า” ที่คนไทยพูดติดปากกันเป็นชื่ออาหาร แต่จริงๆแล้วคำว่า “หม่าล่า” นั้นแปลว่า อาการเผ็ดหรือเผ็ดจนลิ้นชา ซึ่งความเผ็ดนั้นมาจากเครื่องเทศ “ฮวาเจียว” ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งจากพริกไทยเสฉวน หรือ Sichuan Pepper  ความชื่นชอบรสชาติเผ็ดชาที่เป็นของแปลกใหม่ และถูกใจคนไทยจนถึงปัจจุบัน ทำให้ร้านหม่าล่าผุดขึ้นมามากมาย จำนวนร้านหม่าล่าเปิดเยอะกว่าก็อาจเป็นเพราะด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าเชียงใหม่ รวมไปถึงจำนวนพื้นที่และพลังสื่อโซเชียลที่ช่วยกระจายร้านอร่อย ร้านเด็ด ร้านดังแชร์ให้คนตามมากินกันได้ง่ายกว่า แม้ว่าร้านหม่าล่าเป็นกระแสมาสักพักใหญ่ๆแล้ว ร้านดังที่เป็นกระแสก็ยังเป็นที่นิยมมักเป็นร้านที่สร้างความแตกต่างจากที่อื่นได้ก่อน ยกตัวอย่างเช่น ร้านสุกกี้จินดา ที่ผสมความเป็นหม่าล่ากับหม้อชาบูเข้าด้วยกัน และยังเพิ่มจุดขายคือ สุกี้เสียบไม้ ซึ่งเป็นการใช้ความสะดวกสบายที่ใช้สายพานในการเสริฟอาหาร และด้วยความเป็นไม้ทำให้ลูกค้าสามารถกำหนดงบประมาณของตัวเองได้ และในช่วงที่เป็นกระแสในโลกออนไลน์ ก็ได้ไอเดียมาจากช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่ต้องใส่ใจความสะอาด และสุขอนามัยกลายมาเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเพิ่มมากขึ้น ไอเดียหม้อแยกจึงสร้างความไว้วางใจ และช่วยประกอบการตัดสินใจได้ ยิ่งไปกว่านั้น สไตล์การกินแบบหม้อแยกยังเจาะกลุ่มเป้าหมายคนที่อยากกินคนเดียว ปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่า 40 สาขา แบ่งเป็นเจ้าของแบรนด์บริหารเอง 7 สาขา สาขาแฟรนไชส์ 33 สาขา   . ย้อนกลับไปช่วงปี 2566 ร้านหม่าล่าในไทยมีจำนวน 16,000 ร้าน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 7.3% ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่อย่าง LINE MAN ได้เผยสถิติที่สุดแห่งปี 2566 ด้านอาหาร พบว่าเมนูยอดฮิตจากผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคน จากร้านอาหารกว่า 1 ล้านร้านใน 77 จังหวัด คือ หมาล่าเสียบไม้และสุกี้ชาบูหมาล่า เมนูดาวรุ่งสุดร้อนแรง มีผู้ใช้บริการ LINE MAN สั่งมากกว่า 1 ล้านออเดอร์ เพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับปี 2565 มีการพูดถึง หม่าล่า ถึง 3,697 ข้อความ Engagement 315,561 ครั้ง . ประเภทอาหารหม่าล่าที่คนบนโลกออนไลน์สนใจมากที่สุด ชาบูหม่าล่า 46% สุกี้หม่าล่า 37% ปิ้งย่างหม่าล่า 17% . ถ้าลองวิเคราะห์สถานการณ์ของกิจการ . จุดแข็งของกิจการ มีเมนูอาหารที่หลากหลาย วัตถุดิบมีคุณภาพ ราคาถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับ คุณภาพของอาหาร ปรุงด้วยสตรเฉพาะของทางร้าน  สถานที่ตั้งร้านอยู่ในแหล่งชุมชนและมีบริการจัดส่งในชุมชน มีการแนะนาเมนูอาหารใหม่ๆ และโปรโมชั่นใหม่ๆ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นเว็บ เพจ ทางเฟสบุ๊ค ไลน์  มีอุปกรณ์อานวยความสะดวกในร้าน โดยมีเครื่องปรับอากาศที่เปิดตลอดเวลา และมีบริการ Free WIFI ให้แก่ลูกค้าเล่นระหว่างนั่งรออาหาร

อะไรๆ ก็หม่าล่า พามาเบิ่ง หม่าล่าในอีสาน ยังฮอตฮิต หรือแค่กระแส(ที่เริ่มแผ่ว) อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top