Article

สนามบินแห่งใหม่กับความหวังทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน

ภาคอีสานมีโครงการที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่อยู่ 3 แห่งในอนาคต ซึ่งท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ว่านั้น ประกอบด้วย . 1.ท่าอากาศยาน “มุกดาหาร” กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างและพบว่าสถานที่ที่เหมาะสม คือ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร ในพื้นที่ 2,000 กว่าไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารเพียง 20 กม. ห่างจากสนามบินนครพนม สกลนคร และร้อยเอ็ด 120, 125 และ 134 กม. ตามลำดับ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดที่ว่าสนามบินต้องก่อสร้างห่างกันเกินกว่า 100 กม. . อีกทั้งยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กล่าวคือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีโอกาสทางการค้าและการลงทุนสูง โดยกลุ่มผู้โดยสารน่าจะมาจากสุวรรณเขต สปป.ลาว รวมถึงผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก เพื่อเชื่อมต่อไปยังด่านแม่สอด จ.ตาก และข้ามต่อไปยังประเทศเมียนมา ตรงจุดนี้กรมท่าอากาศยานคาดการณ์ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะเกิดความคุ้มค่าและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดมุกดาหารได้ . ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบผังแม่บททางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ รวมไปถึงศึกษาการรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเต็ม (EIA) โดยจะขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2565 ในงบวงเงินประมาณ 42.69 ล้านบาท และหากนับจากปี 2565 คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ใช้ในปี 2570 . 2.ท่าอากาศยาน “บึงกาฬ” จังหวัดน้องใหม่ล่าสุดของประเทศไทย จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสร้างสนามบิน พบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่าง ต.โป่งเปือย และต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ โดยใช้ที่ดินคิดเป็นพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ . โดยอยู่ห่างจากวงเวียนหอนาฬิกาที่ อ.เมืองบึงกาฬประมาณ 12 กม. นับว่าตั้งอยู่ใจกลางเมืองบึงกาฬเลยก็ว่าได้ ทั้งยังอยู่ระหว่างทางเลี่ยงเมืองที่ตัดสู่สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ และหากสังเกตจะพบว่า บึงกาฬมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีหลายแห่ง หากมีการก่อสร้างสนามบินก็คาดว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว พร้อมกับสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้ด้วย . ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างฉบับสมบูรณ์ ก่อนที่จะนำเสนอกับกรมท่าอากาศยานและกระทรวงคมนาคมเพื่อขออนุมัติ ก่อนจะทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมฉบับเต็ม (EIA) และจัดหางบประมาณ อันนำไปสู่การจัดสร้างสนามบิน หากเป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถใช้บริการท่าอากาศยานบึงกาฬได้ในปี 2571 . 3.ท่าอากาศยาน “สารสินธุ์” เป็นโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่เพิ่มเข้ามาล่าสุด โดยคาดการณ์ว่าจะใช้พื้นที่ของ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในการก่อสร้าง . เหตุผลที่เลือกพื้นที่นี้เป็นเพราะ อ.ยางตลาดอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่าง กาฬสินธุ์ – มหาสารคาม ทำให้ประชาชนทั้งในกาฬสินธุ์เองและมหาสารคาม สามารถเดินทางมาใช้บริการได้สะดวก อีกทั้งกาฬสินธุ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ มีการส่งออกพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้งก้ามกราม และปลากระชัง เป็นต้น …

สนามบินแห่งใหม่กับความหวังทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

การพนันกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดในอีสาน

“ รางวัลที่หนึ่ง เลขที่ออก…” . ช่วงเวลาระทึกใจสำหรับนักเสี่ยงโชคชาวไทยที่เกิดขึ้นเพียงเดือนละสองครั้ง แต่คุณ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สมหวังหรือผิดหวัง เคยสงสัยกันมั้ยว่า การเดิมพันรูปแบบไหนที่สามารถจูงใจนักเสี่ยงโชคชาวไทยได้มากที่สุด . . แนวโน้มคนไทยกับการพนัน . หนังสือรายงานศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันปี 2563 ให้สถิติข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทยไว้น่าสนใจ แม้จะเป็นการเก็บข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่าง (ปี 2562) แล้วนำมาคำนวณกับประชากรทั้งประเทศ (สถิติเชิงประมาณการ) แต่ก็พอให้ภาพที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงได้ . ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ประมาณการว่า มีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เล่นการพนันในรอบปี 2562 จำนวน 30.42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของกลุ่มตัวอย่าง* (เพิ่มขึ้นจากปี 2560 1.49 ล้านคน หรือร้อยละ 5.2) และในจำนวนนี้มีอยู่ 0.72 ล้านคนเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่เพิ่งเล่นการพนันเป็นครั้งแรก (เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ถึงร้อยละ 14.43) . น่าสนใจว่า โดยเฉลี่ยแม้คนจะเริ่มเล่นการพนันที่อายุ 23 ปี แต่กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 50.2 ระบุว่าตนเริ่มเล่นการพนันก่อนอายุ 20 ปี โดยมีคนเริ่มเล่นการพนันที่อายุตํ่าสุด 7 ปี . สำหรับการพนันที่คนนิยมเล่นมากเป็นอันดับ 1 ยังคงเป็นสลากกินแบ่งรัฐบาล มีประมาณ 22.75 ล้านคน อันดับ 2 คือ หวยใต้ดิน ประมาณ 17.74 ล้านคน และเกือบ 3 ใน 4 ของคนที่เล่นหวยใต้ดิน จะเล่นสลากกินแบ่งรัฐบาลควบคู่กันไปด้วย หรือคิดเป็นจำนวน 13.056 ล้านคน . ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจส่วนใหญ่ไม่คิดว่าการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นการพนัน เนื่องจากเป็นเรื่องถูกกฎหมายที่รัฐบาลดำเนินการเอง แม้ความเป็นจริง การซื้อเพื่อหวังจะได้รางวัลแต่มีโอกาสเสียเงินไปเปล่า ๆ ก็คือการพนันรูปแบบหนึ่ง . ส่วนการพนันที่คนนิยมเล่นมากอันดับ 3 เป็นพนันไพ่ 4.พนันทายผลฟุตบอล 5.ไฮโล/โปปั่น/น้ำเต้าหู้ปูปลา 6.วัวชน/ไก่ชน 7.มวยหรือมวยตู้ 8.หวยหุ้น 9.พนันบิงโก และ 10.จับยี่กี/หวยปิงปอง . . คนภาคไหนเล่นการพนันมากที่สุด? . หากลองมาเทียบสัดส่วนคนเล่นการพนันกับประชากรในภูมิภาค พบว่า ภาคอีสาน มีสัดส่วนคนเล่นเทียบกับประชากรในภาคสูงที่สุดคือ ร้อยละ 58.90 หรือคิดเป็นประชากรจำนวน 10.91 ล้านคน รองลงมาคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 58.30, ภาคใต้ ร้อยละ 54.40, ภาคเหนือ ร้อยละ …

การพนันกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เช็ก! พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในอีสาน ปี 57-64

GISTDA ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำในภาคอีสานผ่านภาพถ่ายดาวเทียม โดยพบพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 8 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่เกษตร และชุมชนในบางส่วน ประกอบด้วย . จ.กาฬสินธุ์ สายทาง กส.4034 แยก ทล.2253 – บ้านคำไฮ ปีที่เกิดอุทกภัย 2557, 2560, 2561 และ 2562 สายทาง กส.4001 แยก ทล.2291 – บ้านโคกกลาง ปีที่เกิดอุทกภัย 2560, 2562, 2558 และ 2559 สายทาง กส.4022 แยก ทล.2291 – บ้านชาด ปีที่เกิดอุทกภัย 2560, 2561 และ 2562 . จ.ขอนแก่น สายทาง ขก.4030 แยก ทล.2039 – บ้านโนนสง่า ปีที่เกิดอุทกภัย 2559, 2560, 2561 และ 2564 . จ.นครพนม สายทาง นพ.4061 แยก ทล.2417 – บ้านข่า ปีที่เกิดอุทกภัย 2557, 2559, 2560 และ 2561 สายทาง นพ.4058 แยก ทล.2346 – บ้านดอนมะจ่าง ปีที่เกิดอุทกภัย 2557, 2558, 2559, 2560 และ 2561 สายทาง นพ.4036 แยก ทล. 2028 – บ้านดอนถ่อน ปีที่เกิดอุทกภัย 2560, 2561, 2562, 2563 และ 2564 . จ.มหาสารคาม สายทาง มค.4019 แยก ทล.2322 – บ้านคูชัย ปีที่เกิดอุทกภัย 2560, 2561 และ 2562 . จ.ยโสธร สายทาง ยส.4014 แยก ทล.2083 – บ้านดงมะหรี่ ปีที่เกิดอุทกภัย 2560, 2561, 2562 และ 2564 . จ.ร้อยเอ็ด …

เช็ก! พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในอีสาน ปี 57-64 อ่านเพิ่มเติม »

หากเปิดทางต่างชาติซื้อบ้านและคอนโดได้มากขึ้น จะช่วยพยุงตลาดอสังหาฯ ในอีสานได้ขนาดไหน ?

จากแนวนโยบายขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของชาวต่างชาติ รัฐบาลได้เล็งพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ให้ต่างชาติสามารถเข้าถือครองอสังหาฯ ในไทยได้มากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขการผ่อนปรน ซึ่งเดิมทีมีแค่ห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมเท่านั้น เพื่อจูงใจให้เกิดการพำนักอาศัยระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเกษียณอายุที่มีกำลังใช้จ่ายเงินสูง ผู้ซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งนักลงทุน . เมื่อดูข้อมูลสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติปี 2561 ถึง 2562 ที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ (REIC) จัดทำขึ้น จะพบว่า สัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ของตลาด แต่ในปี 2563 หลังเจอวิกฤต COVID-19 มีชาวต่างชาติโอนห้องชุด 8,285 ยูนิต ลดลงจากปี 2562 ถึง 35.3% เหลือเพียง 6.8% ของตลาด . โดยปี 2563 จังหวัดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติมากที่สุด 10 ลำดับแรก คิดเป็นสัดส่วนจำนวนยูนิตรวมกันมากถึง 99.7% และมีสัดส่วนมูลค่าการโอนรวมกันมากถึง 99.8 % ประกอบด้วย . อันดับ 1 กรุงเทพฯ มีสัดส่วนจำนวนยูนิต 57.1% และมีสัดส่วนมูลค่าการโอน 73.5% ซึ่งเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเกินกว่าครึ่งหนึ่งของชาวต่างชาติทั่วประเทศ . อันดับ 2 จังหวัดชลบุรี มีสัดส่วนจำนวนยูนิต 24.9% และสัดส่วนมูลค่า 14.2% . อันดับ 3 จังหวัดภูเก็ต มีสัดส่วนจำนวนยูนิต 4.7% และสัดส่วนมูลค่า 4.6% . ส่วนอันดับ 4 – 10 ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) ปทุมธานี ระยอง นนทบุรี และเชียงราย ตามลำดับ . ขณะที่จังหวัดในภาคอีสานรวมกันทุกจังหวัดกลับมีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติจำนวนยูนิตไม่ถึง 0.3% และสัดส่วนมูลค่ารวมไม่ถึง 0.2% ด้วยซ้ำ . สำหรับปี 2564 ในช่วง 6 เดือนแรก มีชาวต่างชาติโอนห้องชุดรวม 4,358 ยูนิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,449 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของผู้ซื้อชาวจีนกว่า 63% (2,748 ยูนิต) รองลงมาคือ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหรัฐฯ ตามลำดับ แต่ถึงอย่างนั้น หากเปรียบเทียบกับอสังหาฯ ประเภทอื่น ห้องชุดก็ยังมีสัดส่วนค้างสต็อกสูงสุดที่ 86,000 ยูนิต . จากภาพรวมทั้งประเทศดังกล่าว เป็นที่น่าสนใจว่า ภาคอีสานก็ยังไม่ใช่ทำเลที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เลือกที่จะถือครองกรรมสิทธิ์ในที่พักอาศัยตอนนี้อยู่ดี อาจด้วยไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยว การเดินทางไป-กลับ หรือการมองถึงผลจากการลงทุน ที่ยังไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร …

หากเปิดทางต่างชาติซื้อบ้านและคอนโดได้มากขึ้น จะช่วยพยุงตลาดอสังหาฯ ในอีสานได้ขนาดไหน ? อ่านเพิ่มเติม »

พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสำคัญอย่างไร?

ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของคนเมือง เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวในปริมาณที่เหมาะสม ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ยิ่งถ้าเมืองนั้นมีประชากรหนาแน่น พื้นที่สีเขียวก็จะยิ่งมีคุณค่า โดยเฉพาะต่อสุขภาวะทางกายและใจของคน รวมไปถึงคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองที่ส่งผลเป็นวงกว้าง เช่น การลดอุณหภูมิความร้อน การดูดซับมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง การเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ ระบายน้ำ เป็นต้น . . พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของภาคอีสานมีมากแค่ไหน? . จากข้อมูลพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของประเทศไทยจำนวน 2,695 ตารางกิโลเมตร พบว่าเป็นพื้นที่ภาคอีสานถึง 1,074 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 39.85 % ของพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองทั้งหมด ซึ่งหากดูเป็นรายจังหวัด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย . 1. ขอนแก่น มีพื้นที่สีเขียว 221 ตร.กม. 2. อุดรธานี มีพื้นที่สีเขียว 129 ตร.กม. 3. นครราชสีมา มีพื้นที่สีเขียว 112 ตร.กม. 4. บุรีรัมย์ มีพื้นที่สีเขียว 84 ตร.กม. 5. สกลนคร มีพื้นที่สีเขียว 77 ตร.กม. 6. กาฬสินธุ์ มีพื้นที่สีเขียว 69 ตร.กม. 7. นครพนม มีพื้นที่สีเขียว 51 ตร.กม. 8. อุบลราชธานี มีพื้นที่สีเขียว 50 ตร.กม. 9. บึงกาฬ มีพื้นที่สีเขียว 49 ตร.กม. 10. เลย มีพื้นที่สีเขียว 41 ตร.กม. . . พื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในอีสานเป็นเท่าไร? . องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวของเมืองว่าอย่างน้อยควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ส่วนพื้นที่สีเขียวในอุดมคติ คือ 50 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งภาคอีสานมีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ย 107 ตารางเมตรต่อคน หรือหากดูเป็นรายรายจังหวัด พื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร 10 อันดับแรก ประกอบด้วย . 1. บึงกาฬ 394 ตร.ม./คน 2. นครพนม 237 ตร.ม./คน 3. เลย 163 ตร.ม./คน 4. ขอนแก่น 140 ตร.ม./คน 5. บุรีรัมย์ 138 ตร.ม./คน 6. อุดรธานี 134 …

พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสำคัญอย่างไร? อ่านเพิ่มเติม »

แมงแคง สินค้าป่าหายาก เพิ่มรายได้ในช่วงฤดูฝน

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ทวีคูณความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์การขายหรือไม่ก็ต้องปิดตัวลง ทว่ากลับมีอาชีพสวนกระแสอย่างหาของป่าที่ดูจะคึกคักขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ฤดูฝนมาเยือน . ในภาคอีสาน ตลาดสดเทศบาลตำบลนาแก อ.นาแก จ.นครพนม ถือเป็นศูนย์รวมสินค้าของป่าหายากตามฤดูกาล เพราะจะมีชาวบ้านนำของป่ามาวางขายกันอย่างเนืองแน่น สร้างเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 บาท/วัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีแมงแคง . แมงแคงเป็นแมงที่มีลักษณะคล้ายกับโล่ เมื่อโตเต็มวัยจะออกสีน้ำตาลปนเหลือง มักพบตามต้นค้อ แต่ในทางภาคเหนือจะพบตามต้นลำไยและลิ้นจี่ โดยแมงแคงจะกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนของต้นเป็นอาหาร จึงพบได้มากช่วงที่ต้นกำลังงอกใบใหม่ . ส่วนเรื่องของราคา ถือเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ซึ่งหากเทียบกับปีที่ผ่านมาก็คาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยปีนี้ราคาซื้อขายจากกิโลกรัมละ 1,500 ขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 2,000 บาท หากเฉลี่ยเป็นตัว ตัวใหญ่จะตกประมาณตัวละ 1-2 บาท . การรับประทาน นิยมทานทั้งแบบดิบและนำไปปรุงสุก แบบดิบ เพียงแค่เด็ดปีกทิ้งแล้วบีบตรงส่วนท้องเพื่อไล่ฉี่ที่มีกลิ่นฉุนออก ส่วนถ้าจะนำไปปรุงสุก ก็ใช้วิธีการคั่วไฟ หรือที่คนนิยม คือ นำไปทำน้ำพริกแมงแคง ไม่ก็แจ่วแมงแคง แต่ยังต้องระวังเรื่อง “ฉี่” ของมันอยู่ เนื่องด้วยฤทธิ์ที่เป็นกรด หากสัมผัสโดนผิวหนังจะก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และจะยิ่งเป็นอันตรายมากหากเข้าสู่ดวงตา . อีกทั้ง แมงแคงยังเป็นศัตรูพืชของต้นลำไยและลิ้นจี่ เนื่องจากมันจะเข้าไปดูดน้ำหวานจากช่อดอกจนเกิดอาการหงิกงอ ใบอ่อนเหี่ยว จนต้นหยุดยั้งการเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำหรือไม่มีผลผลิตได้เลย . วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การจับแมงแคงที่เป็นตัวเต็มวัยไปขาย จากนั้นก็ทำลายไข่และตัวอ่อน ของมันให้หมด และทำการตัดแต่งกิ่งใบให้โปร่ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีแมงแคงมาอาศัยอยู่อีก . การจับแมงแคง ถ้าเป็นพื้นที่ป่าต้องอาศัยความชำนาญ โดยจะต้องเดินเลาะป่าที่เริ่มมีความชื้นหลังฝนตก แล้วใช้ไม้ไผ่ยาวฟาดไปตามใบไม้ เพื่อให้แมงแคงหล่นลงมาใส่ถุงที่มัดไว้กับปลายไม้ไผ่ หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ วิ่งไล่จับแมงแคงในช่วงที่ฝนกำลังตกใหม่ ๆ เนื่องจากขณะนั้นปีกของแมงแคงยังเปียกจึงบินไปได้ไม่ไกล . อย่างไรก็ตาม แม้แมงแคงจะเป็นสินค้ายอดฮิตในตลาดขายของป่า แต่ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เช่น เห็ดเผาะหนัง ที่ราคาขายตกกิโลกรัมละ 600 บาท แมงจีนูน ราคากิโลกรัมละ 350 บาท และผักหวานป่า ราคากิโลกรัมละ 250 บาท . สุดท้าย ผลของการบุกรุกพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตนานาพรรณมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต้นไม้ หรือการลักลอบจับสัตว์ป่าหายาก ล้วนมีผลให้แมงแคงและผักผลไม้ป่าอื่น ๆ มีจำนวนลดลงไปด้วย ดังนั้นผู้ที่สนใจหารายได้เสริมจากอาชีพนี้ นอกจากจะต้องศึกษาถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติและข้อห้ามทางกฎหมายแล้ว อาจต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตารายงานความผิดปกติให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย . #ISANInsightAndOutlook . . อ้างอิงจาก : http://blog.arda.or.th/แมงแคง/ https://esan108.com/แมงแคง.html https://siamrath.co.th/n/240850 https://today.line.me/th/v2/article/2ERYBP

พิษโควิดเศรษฐกิจแย่! ทุบธุรกิจปิดกิจการในภาคอีสาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กินเวลาเกือบ 2 ปีในประเทศไทย ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจจำนวนมาก รายได้ของธุรกิจที่ปรับลดลง ภาระต้นทุนที่ผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับได้ไหว ทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องเลิกกิจการ เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน กังวลกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ภาคประชาชนไม่มีมีกำลังซื้อ ทำให้รายได้ไม่สอดคล้องกับค่าดำเนินการในการทำธุรกิจต่อไป . ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยสถิติช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ถึงจำนวนยอดจดทะเบียนเลิกกิจการธุรกิจในภาคอีสาน มีจำนวนมากถึง 573 ราย ซึ่งทุนการจดทะเบียนเลิกกิจการในภาคอีสานของช่วงนี้อยู่ที่ 1,507 ล้านบาท ในขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจำนวนยอดจดทะเบียนเลิกกิจการมากถึง 736 ราย ทุนการจดทะเบียนเลิกกิจการอยู่ที่ 1,371 ล้านบาท . หากพิจารณาในประเภทธุรกิจย่อยที่เลิกกิจการสูงสุด ในครึ่งปีแรกของทั้ง 2 ปี ประกอบด้วย . 1. ธุรกิจพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขายสินค้าอุปโภคและบริโภค สินค้าแฟชั่น ผลผลิตและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเคมีภัณฑ์ โดยครึ่งปีแรกของปี 2564 มีธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการ 239 ราย ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจำนวน 243 ราย . 2. ธุรกิจบริการ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรับ-ส่งพัสดุ ธุรกิจอีเวนท์และงานโฆษณา และธุรกิจจัดการประชุม (Meeting) โดยครึ่งปีแรกของปี 2564 มีธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการ 113 ราย ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจำนวน 218 ราย . 3. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป โดยครึ่งปีแรกของปี 2564 มีธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการ 118 ราย ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจำนวน 117 ราย . จากที่กล่าวมา จะพบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นี้ ภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจพาณิชย์และธุรกิจก่อสร้างอาคาร นอกจากจะได้รับผลกระทบที่มากกว่าธุรกิจอื่นแล้ว ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัวจากปีก่อนหน้าเท่าไรนัก ส่วนธุรกิจบริการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ถือได้ว่าได้รับผลกระทบมากและรุนแรงขึ้นจากปีก่อนหน้า . หากลองมาพิจารณารายจังหวัดในภาคอีสาน พบว่า จังหวัดที่เลิกกิจการสูงสุด 5 อันดับ ประกอบด้วย . 1. นครราชสีมา ครึ่งปีแรกของปี 2564 มีธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการรวม 107 ราย ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจำนวน 118 ราย . 2. ขอนแก่น ครึ่งปีแรกของปี 2564 มีธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการรวม 86 ราย …

พิษโควิดเศรษฐกิจแย่! ทุบธุรกิจปิดกิจการในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

“น้องอึ่ง” สัตว์เศรษฐกิจต่อยอดธุรกิจอาหารกระป๋อง

“ย่างเข้าเดือนหกฝนก็ตกพรำ ๆ กบมันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา” เมื่อได้ยินเพลงนี้หลายคนคงจะนึกถึงบรรยากาศของท้องทุ่งชนบทที่ชโลมไปด้วยฝน ซึ่งนอกจากเสียงของความชุ่มฉ่ำในท้องนาแล้ว จะไม่พูดถึงเสียงสัตว์เล็กสัตว์น้อยอย่าง “อึ่งอ่าง” หนึ่งในสัญญาณเตือนการมาถึงของฤดูฝนก็คงไม่ได้ . เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “น้องอึ่ง” สัตว์ที่เป็นเมนคอร์สในเมนู “ต้มอึ่งใส่ใบมะขามอ่อน” ที่พี่น้องอีสานหลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห้ามพลาด” . ที่พูดเช่นนี้ เพราะปกติแล้วต้มอึ่งจะหากินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น คือ ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่อึ่งอ่างจะออกมาเล่นน้ำ หาอาหาร และผสมพันธุ์กัน โดยพวกมันจะใช้การส่งเสียงร้องเรียกหาคู่ในขณะที่ฝนตก และหลังจากที่หมดช่วงนี้ไปอึ่งอ่างก็จะกลับไปจำศีลอยู่ใต้พื้นดิน จะออกมาให้เห็นใหม่อีกครั้งก็ช่วงฤดูฝนของปีถัดไป . อาจกล่าวได้ว่า ช่วงที่อึ่งอ่างออกมาเล่นน้ำหาอาหารถือเป็นโอกาสทองให้ใครหลาย ๆ คนออกไปจับพวกมัน เพราะนอกจากจะนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้ว หากเหลือก็ยังสามารถนำไปขายตามตลาดท้องถิ่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะในแถบพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลาง (ภาคที่คนอีสานอพยพเข้าไปทำงานมากที่สุด) . ส่วนราคาของอึ่งในช่วงฝนแรกจะขึ้นอยู่กับชนิดของอึ่ง เช่น อึ่งข้างลายจะอยู่ที่ 200 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถ้าขายคละกับตัวมีไข่จะอยู่ที่ 250 บาท/กิโลกรัม หรือถ้าเฉพาะตัวที่มีไข่ก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้น เฉลี่ยประมาณ 300 – 400 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงเทียบเท่ากับการซื้อเนื้อหมู เนื้อไก่ 2 – 3 กิโลเลย . น่าสังเกตว่า แม้จะมีราคาสูงตามความหายาก แต่ผู้บริโภคจำนวนมากก็ยอมจ่ายเพื่อให้ได้รับประทาน ส่งผลให้จำนวนอึ่งอ่างที่นำมาจำหน่ายในท้องตลาดยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ค้ารายใดที่สามารถนำอึ่งอ่างมาจำหน่ายช่วงนี้ได้ ก็มีโอกาสขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเช่นกัน . . สำรวจผู้เพาะเลี้ยงอึ่งอ่างในตลาด . อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่า อึ่งอ่างตามธรรมชาติจะสามารถจับได้ในช่วงฤดูฝนที่มีปีละครั้งเท่านั้น นอกเหนือจากนี้คนก็ยังมีความต้องการสูงในช่วงนอกฤดู เพราะอึ่งสามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายไม่เฉพาะต้มอึ่งใบมะขามอ่อนได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำอึ่ง ปิ้งย่างอึ่ง และต้มโคล้งอึ่ง จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่มองเห็นโอกาสสร้างรายได้หันมา “เพาะเลี้ยงลูกอึ่งอ่างขาย” กันมากขึ้น . ยกตัวอย่างผู้จำหน่ายอนุบาลอึ่งอ่างรายหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ที่สามารถสร้างรายได้จากการขายลูกอึ่งอ่างได้ถึง 32,000 บาท/สัปดาห์ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาจากจังหวัดหนองคาย ร้อยเอ็ด ชลบุรี และเพชรบูรณ์ จะรับซื้อแล้วนำไปเลี้ยงต่อจนโต ก่อนจะจำหน่ายออกสู่ท้องตลาดอีกที แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดอยู่ ยิ่งช่วงหลังที่เริ่มมีการต่อยอดไปสู่ธุรกิจอาหารที่หลากหลายขึ้นด้วย . ตัวอย่างนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ที่เบื้องต้นจะรับซื้ออึ่งอ่างจากชาวบ้านในพื้นที่ แล้วนำไปแปรรูปเป็นต้มอึ่งบรรจุกระป๋องพร้อมรับประทาน โดยเลือกใช้อึ่งเพ้าหรืออึ่งปากขวด เพราะพวกมันมีจุดเด่นที่ไข่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค . ส่วนกรรมวิธีการแปรรูปก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน กล่าวคือ เมื่อทำความสะอาดอึ่งและเอาไส้ออกจนหมดแล้ว ก็จะนำไปลวกพอสุก บรรจุใส่กระป๋องพร้อมราดน้ำซุปที่เตรียมไว้ลงไป ก่อนจะนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวไปไล่อากาศออกและปิดฝาพร้อมฆ่าเชื้อ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้ได้นานไปอีก 1 ปี . แน่นอนว่าได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคอย่างล้นหลาม จนการผลิตไม่ทันต่อความต้องการเช่นกัน ยิ่งแต่เดิมทีสามารถผลิตได้ประมาณวันละ 120-150 กระป๋อง เมื่อเจอสถานการณ์ COVID-19 ที่มีผลต่อการเข้าเรียนของนักศึกษา ก็ทำให้กำลังการผลิตเหลือเพียงวันละ 80 กระป๋องเท่านั้น การจำหน่ายจึงหมดได้ในระยะเวลาอันสั้น . มาถึงตรงนี้ …

“น้องอึ่ง” สัตว์เศรษฐกิจต่อยอดธุรกิจอาหารกระป๋อง อ่านเพิ่มเติม »

คุณคิดว่า “ความสุข” ของคนในสังคมเราอยู่ระดับไหน ?

จากภาพรวมความสุขของคนไทย . รายงาน The World Happiness Report 2021 ที่ดำเนินการสำรวจข้อมูลดัชนีความสุขมวลรวมของแต่ละประเทศทั่วโลก เปิดเผยว่าในปี 2020 ประเทศไทยมีดัชนีความสุขอยู่ในอันดับที่ 48 (5.885 คะแนน) ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงระหว่างปี 2017 ถึง 2019 ดัชนีความสุขของเราอยู่ในอันดับที่ 44 (5.999 คะแนน) เท่ากับว่าถดถอยลงมา 4 อันดับ (-0.114 คะแนน) . โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดในปีนี้ ประกอบด้วย GDP ต่อหัว, อัตราการว่างงาน, สวัสดิการสังคม, จำนวนปีที่เหลือของชีวิตที่ (คาดว่า) ยังมีสุขภาพดี, เสรีภาพในการใช้ชีวิต, มุมมองของการเป็นผู้ให้, การรับรู้เกี่ยวกับคอร์รัปชัน รวมไปถึงประเด็นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ อย่างการเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลจากการพูดคุยต่อหน้าไปเป็นการโทร . . ความสุขของคนไทยรายภาค – จังหวัด . ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้ทำการสำรวจความสุขของประชาชนคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (ตลอดปี 2020) ผ่านคำถามสุขภาพจิต 15 ข้อในแบบสอบถามที่มีคะแนนเต็ม 45 คะแนน ผลปรากฏว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงสุด คือ 34.36 คะแนน รองลงมาเป็นภาคใต้ 34.18 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33.88 คะแนน ภาคกลาง 33.53 คะแนน ส่วนเขตกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) มีคะแนนความสุขต่ำกว่าภาคอื่น ๆ คือ 32.06 คะแนน . หรือหากเจาะลึกเป็นรายจังหวัด ที่มีคะแนนความสุข 7 อันดับแรก จะประกอบด้วย 1.มหาสารคาม (37.39 คะแนน) 2.ชุมพร (37.21 คะแนน) 3.ชัยภูมิ (37.15 คะแนน) 4.น่าน (37.04 คะแนน) 5.ร้อยเอ็ด (36.64 คะแนน) 6.สมุทรสาคร (36.40 คะแนน) และ7.บึงกาฬ (36.37 คะแนน) ซึ่งในแรงก์นี้ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่ามีจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานถึง 4 จังหวัด . โดยปัจจัยสนับสนุนที่สอดคล้องกับสภาพสังคม ไม่ว่าจะเป็นความผูกพัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทั้งกับคนในครอบครัว ชุมชน หรือที่ทำงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมและความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีผลอย่างมากกับความสุขของพวกเขาเหล่านี้ . …

คุณคิดว่า “ความสุข” ของคนในสังคมเราอยู่ระดับไหน ? อ่านเพิ่มเติม »

การกลับคืนถิ่น ผลของ COVID-19 จะช่วยหรือซ้ำเติมปรากฏการณ์สมองไหลของอีสาน

“จากอีสานบ้านนามาอยู่กรุง จากแดนทุ่งลุยลาย ชัยภูมิบ้านเดิมถิ่นเกิดกาย บ่ได้หมายจากจร” . ท่อนเปิดของเนื้อเพลง “คิดถึงทุ่งลุยลาย” ที่ลูกอีสานหลายคนรู้จักและร้องตามกันได้อย่างสนุกสนาน แต่นอกจากทำนองที่ช่วยกระตุ้นให้ทั้งร่างกายขยับแล้ว ก็คงเป็นเนื้อร้องที่ตรงใจใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพลัดถิ่นเพื่อไปแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในเมืองกรุง . ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ตั้งแต่ระลอก 2 เป็นต้นมา ที่ทำให้เราได้เห็นภาพเหตุการณ์แรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเรามีการเคลื่อนย้ายประชากรจากภูมิภาคต่าง ๆ เข้าสู่เขตเศรษฐกิจหลัก อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปไม่น้อยเลย . เนื่องจากแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประชากรย้ายถิ่น คือ โอกาสการมีงานทำ รายได้ การศึกษา และฐานะความเป็นอยู่ในภาพรวม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เมื่อเปรียบเทียบการย้ายถิ่นระหว่างจังหวัดแล้ว กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่ที่มีการย้ายถิ่นเข้าและย้ายถิ่นออกสูงที่สุดในปี 2020 โดยเป็นการย้ายเข้าประมาณ 82,000 คน และย้ายออกประมาณประมาณ 127,300 คน จากผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด 1.05 ล้านคน . หรือถ้าเทียบการย้ายถิ่นระหว่างภาค ในปีเดียวกันนี้ ภาคอีสานก็ทำสถิติทั้งการย้ายถิ่นเข้าและย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ สูงที่สุดเช่นกัน โดยเป็นการย้ายถิ่นเข้าประมาณ 35,800 คน และย้ายถิ่นออกประมาณ 60,400 คน จากผู้ย้ายถิ่นระหว่างภาค 0.39 ล้านคน (คิดจากผู้ย้ายถิ่นเฉพาะภายในประเทศ 1.02 ล้านคน) . ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าการย้ายถิ่นที่ดูจะเป็นเรื่องปกติของมนุษย์นั้น สัมพันธ์กับ “ปรากฏการณ์สมองไหล” อย่างไร ? . ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่า สมองไหล (brain drain หรือ human capital flight) เดิมทีใช้นิยามถึงการอพยพ ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี จากทวีปยุโรปไปยังอเมริกาเหนือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง . ต่อมาปรากฏการณ์นี้ถูกนำมาใช้อธิบายถึงประเทศใดก็ตามที่ต้องสูญเสียคนชั้นมันสมอง ซึ่งมักเป็นการอพยพออกจากประเทศของกลุ่มบุคคลที่มีทักษะหรือความรู้เฉพาะด้าน โดยที่ผ่านมาปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่กำลังเผชิญปัญหาไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้กระทั่งอนามัยสิ่งแวดล้อม . เมื่อนำมาพูดในบริบทของภูมิภาค ก็จะหมายถึงผู้มีความรู้ความสามารถ ที่ควรจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภูมิภาคนั้น แต่กลับต้องอพยพโยกย้ายไปทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งปรากฏการณ์สมองไหล มักถูกตีความว่าเป็นการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้อพยพบางส่วนก็นำทักษะความรู้ต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือบริษัทเอกชนเป็นฝ่ายสนับสนุนไปด้วย ทำให้ต้องเสียเงินทุนและเวลาในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้นมาใหม่ . แม้ในสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้แรงงานกลับคืนถิ่นจำนวนมาก แต่หากเราลองเจาะดูในมิติเซ็กเตอร์จะพบว่า แรงงานกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักคือแรงงานที่ทำงานในภาคบริการ โรงแรม และภัตตาคาร . สอดคล้องกับผลสำรวจด้านอาชีพของผู้ย้ายถิ่นปี 2020 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ โดยกลุ่มใหญ่สุด คือ กลุ่มอาชีพที่ต้องใช้ทักษะปานกลางและต่ำ เช่น อาชีพงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า 1.6 แสนคน รองลงมาเป็นอาชีพพื้นฐาน เช่น คนทำความสะอาด คนงานด้านเกษตรกรรม และคนงานก่อสร้าง 1.05 แสนคน ผู้ปฏิบัติงานฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง 0.97 …

การกลับคืนถิ่น ผลของ COVID-19 จะช่วยหรือซ้ำเติมปรากฏการณ์สมองไหลของอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top