พามาเบิ่ง🧐เปิดประตูโคราช ส่องขุมทรัพย์การลงทุนจากแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵

จังหวัดนครราชสีมา หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “โคราช” ถือเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ที่มีศักยภาพครบครันทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ดินที่กว้างขวาง และแรงงานคุณภาพจำนวนมาก ด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้หลายบริษัทเลือกใช้จังหวัดนี้เป็นฐานการผลิตและจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่บางส่วนของจังหวัดจึงถูกพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ซึ่งกลายเป็นศูนย์รวมของโรงงานผลิตจากทั้งในประเทศและต่างประเทศในภาคอีสาน

เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีเพียงนักลงทุนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ความสามารถของแรงงานไทย และต้นทุนค่าแรงที่สามารถแข่งขันได้ ประเทศที่มีการลงทุนในภาคอีสานมากที่สุดคือ ญี่ปุ่นด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,500 ล้านบาท ตามมาด้วยเกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 4,600 ล้านบาท และ 2,200 ล้านบาทตามลำดับ

อีสานบ่ธรรมดา! ต่างชาติทุ่มทุนมหาศาล พาส่อง ต่างชาติแห่ลงทุน มูลค่ารวมทะลุสองหมื่นล้าน

ญี่ปุ่นคือ 1 ในนักลงทุนหลักของภาคอีสานมาตลอด 3 ทศวรรษ

จำนวนบริษัทญี่ปุ่นในภาคอีสาน: ประมาณ 130 บริษัท

  • มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในอีสาน: ประมาณ 7,500 ล้านบาท

 

จำนวนบริษัทญึ่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 70 บริษัท

  • มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 6,700 ล้านบาท

 

บริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมาที่มีรายได้มากที่สุด 10 อันดับแรก

  • บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตนาฬิกา
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2530
    • มูลค่าการลงทุน: 1,020 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 7,984 ล้านบาท (-9.6%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 287 ล้านบาท (7.8%YoY)

 

  • บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช เบรก ซิสเตมส์ จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2543
    • มูลค่าการลงทุน: 74 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 7,759 ล้านบาท (5.4%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 885 ล้านบาท (5.3%YoY)

 

  • บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2538
    • มูลค่าการลงทุน: 217 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 4,231 ล้านบาท (9.8%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 498 ล้านบาท (6.9%YoY)

 

  • บริษัท ชิน-เอ ไฮ เทค จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2537
    • มูลค่าการลงทุน: 139 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 4,223 ล้านบาท (2.1%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 559 ล้านบาท (3,874.3%YoY)

 

  • บริษัท โตคูมิ อิเล็คทรอนิคส์ ไทย จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2547
    • มูลค่าการลงทุน: 1 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 3,946 ล้านบาท (26.9%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 369 ล้านบาท (-14.1%YoY)

 

  • บริษัท สตาร์ ไมโครนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตเครื่องจักร
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2548
    • มูลค่าการลงทุน: 406 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 2,923 ล้านบาท (-13%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 145 ล้านบาท (-30.5%YoY)

 

  • บริษัท เจวีซีเคนวูด ออพติคัล อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2551
    • มูลค่าการลงทุน: 488 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 2,747 ล้านบาท (-4.2%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 0.6 ล้านบาท (105.1%YoY)

 

  • บริษัท สีมา เทคโนโลยี่ จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2538
    • มูลค่าการลงทุน: 0 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 2,562 ล้านบาท (-9.8%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 50 ล้านบาท (-47.7%YoY)

 

  • บริษัท นิชิกาว่า เตชาพลาเลิศ คูปเปอร์ จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2538
    • มูลค่าการลงทุน: 490 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 2,535 ล้านบาท (12%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 536 ล้านบาท (32.6%YoY)

 

  • บริษัท เอ็ม.เอ็น.ที. จำกัด
    • ประเภทธุรกิจ: ผลิตเหล็กและเหล็กกล้า
    • ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2537
    • มูลค่าการลงทุน: 125 ล้านบาท
    • รายได้รวมปัจจุบัน: 1,750 ล้านบาท (-13.4%YoY)
    • กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 12 ล้านบาท (468.2%YoY)

 

ข้อตกลง Plaza Accord จุดเริ่มต้นโลกาภิวัฒน์(Globalization) สู่การย้ายฐานของ Supply Chain ของโลก

สำหรับโรงงานของนักลงทุนญี่ปุ่นในภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มสินค้าส่งออกหลักของประเทศไทย กล่าวได้ว่า โรงงานจากญี่ปุ่นเหล่านี้มองเห็นศักยภาพของแรงงานไทย และเลือกใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากแรงงานไทยมีทักษะสูง ในขณะที่ค่าแรงยังอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจคือในปี พ.ศ. 2538 บริษัทจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยในภาคอีสานมีจำนวนโรงงานญุ่นปุ่นที่จดทะเบียนในปี พ.ศ. 2538 อยู่ประมาณ 10 โรงงาน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เห็นการลงทุนจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ ทั้งนี้มีปัจจัยหลายประการที่คาดว่าเอื้ออำนวยให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับการตั้งฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2533 ที่โดดเด่นจนได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย” ด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ที่สูงถึง 8–10% ต่อปี ประกอบกับต้นทุนแรงงานในไทยที่ต่ำกว่าญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้บริษัทญี่ปุ่นเห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเองก็มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้ง การแข็งค่าของเงินเยนหลังข้อตกลง Plaza Accord เมื่อปี พ.ศ. 2528 ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในญี่ปุ่นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำร้ายด้วยเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2533 กำลังประสบปัญหาหลังการแตกของฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง บริษัทญี่ปุ่นจึงต้องปรับตัวด้วยการลดต้นทุน ซึ่งหนึ่งในวิธีที่นิยมใช้คือการย้ายกำลังการผลิตออกไปยังต่างประเทศ อีกทั้งในปี พ.ศ. 2538 ที่ค่าเงินเยนแข็งมากถึงระดับ 80–100 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้บริษัทญี่ปุ่นต้องหาทางลดต้นทุนโดยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น

นอกจากนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในไทยก็เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจสำคัญ ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน บริษัทญี่ปุ่นชั้นนำอย่าง Toyota, Honda และ Nissan ได้ขยายการผลิตในไทยเพื่อรองรับทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็ขยายตัวตามแรงหนุนจากแรงงานไทยที่เริ่มมีทักษะสูงขึ้น และโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุน นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็มีบทบาทอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร และการอำนวยความสะดวกด้านการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บทถัดไปของเศรษฐกิจโลก “หรือ Trump Tariffs จะเป็นจุดสิ้นสุดของยุค โลกาภิวัฒน์ (Globalization)” และจะเกิดผลกระทบใดมาถึงอีสานหรือไม่?

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓

 

 

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top