พาส่องเบิ่ง! รถเเทรกเตอร์เกือบครึ่งประเทศอยู่ในเเดนอีสาน เเละหากเทียบสัดส่วนรถเเทรกเตอร์ 1 คันต่อเนื้อที่การเกษตรคิดเป็นเท่าไหร่
.
รถเเทรกเตอร์(Tractor) เครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเพื่อการเตรียมแปลงเกษตร
โดยความต้องการใช้เครื่องจักรเพื่อการเกษตรของไทยมีสัดส่วนสูงที่ 71.3% ของจํานวนผู้ถือครองทําการเกษตรทั้งหมด โดยชนิดของเครื่องจักรที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ รถเเทรกเตอร์ (50.8% ของผู้ถือครองเนื้อที่ทําการเกษตรที่รายงานว่ามีการใ้เครื่อจักรเพื่อการเกษตร ) รองลงมาเป็นเครื่องเกี่ยวนวดข้าว(27.9%)
.
คํานิยามของรถเเทรกเตอร์ คือ เป็นรถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลาก เป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องมีขนาดกว้าง ไม่เกิน 4.40 เมตร ยาวไม่เกิน 16.20 เมตร
.
แทรกเตอร์ที่ใช้ในภาคเกษตรไทยส่วนใหญ่แบ่งเป็น (1) กลุ่มแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ และ รถไถเดินตาม (Power tiller or 2-wheel walking tractor) เหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กและอาศัยความคล่องตัว และ (2) กลุ่มแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือแทรกเตอร์ที่มีขนาดกำลังแรงม้าไม่น้อยกว่า 40 แรงม้า ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการปรับพื้นที่ ไถเตรียมดิน ใช้เพื่อฉุดลากเครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรง หรือมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก
.
หากลองเทียบสัดส่วนจํานวนรถเเทรกเตอรที่จดทะเบียนสะสมในเเต่ละจังหวัดกับเนื้อที่ถือครองทําการเกษตร จะได้อัตราส่วนรถเเทรกเตอร์ต่อพื้นที่การเกษตร( 1 คันต่อกี่ไร่) จะพบว่าที่มีอัตราส่วนนี้มากที่สุดคือ บึงกาฬ
1 คัน : 628 ไร่ เนื่องจากมีจํานวนรถเเทรกเตอร์จดทะเบียนสะสมน้อยที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ 2,922 คัน
ในขณะที่จังหวัดนครราชสีมาที่มารถเเทกเตอร์มากที่สุดอยู่ที่ 46,595 คัน มีอัตราส่วนอยู่ที่ 1คัน : 159 ไร่
.
อัตราส่วนเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 1 คัน : 246 ไร่
นอกจากนี้มีงานศึกษาจากวารสารแก่นเกษตร ระบุว่าจุดคุ้มทุนของรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง เจ้าของรถเเทรกเตอร์ควรไถนาอย่างน้อย 260 ไร่ต่อคันต่อปีเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเเละน่าสังเกตสําหรับการตัดสินใจซื้อหรือใช้งานรถเเทรกเตอร์ เเต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆเท่านั้น มีข้อมูลหรือเหตุปัจจัยๆอื่นที่มากกว่าที่ได้นําเสนอสําหรับการวิเคราะห์หรือตัดสินใจเกี่ยวกับรถเเทรกเตอร์เเละการเกษตร
.
ที่มา :
กรมการขนส่งทางบก,สํานักงานสถิติเเห่งชาติ,Krungsri Research,วารสารแก่นเกษตร
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #รถเเทรกเตอร์ #Tractor #รถไถนา #รถไถ #คูโบต้า #kubota #Yanmar #NewHolland