หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 จะเกิดปรากฏการณ์
“ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง และไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน
“ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ตั้งตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่เคยมีในแผนที่ดาวในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) อยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร เชื่อกันว่า ฝนดาวตกนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยแอนโตนิโอ บรูคาลาสซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อปี 1825 ซึ่งสังเกตเห็นอุกกาบาตที่เปล่งแสงออกมาจากท้องฟ้า
ฝนดาวตกควอดรานติดส์ มีสาเหตุจากเศษอนุภาคจากอุกกาบาต (ที่มาจากหิน) ขณะที่ดาวตกชนิดอื่น ๆ เกิดมาจากดาวหาง (ซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งและฝุ่น)
สถานที่ดูดาว ทั้ง 22 แห่ง ในภาคอีสาน ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น มีพื้นที่โล่งที่ไม่มีต้นไม้หรือวัตถุบดบังบริเวณขอบฟ้า มีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ
📍นครราชสีมา
– ภูคำหอม รีสอร์ท
– สวนไพลินชมดารา
– มกุฏคีรีวัน เขาใหญ่
– อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง
– อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
– ไร่เขาน้อยสุวณา
– ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้
– หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา
– โรงแรมเรนทรี เขาใหญ่
– ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่
– โรงแรม เดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่
📍ชัยภูมิ
– อุทยานแห่งชาติไทรทอง
– อุทยานแห่งชาติตาดโตน
– อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
– เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
– อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
📍ขอนแก่น
– หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น
– อุทยานแห่งชาติภูเวียง
– สวนสัตว์ขอนแก่น
📍อุบลราชธานี
– วนอุทยานน้ำตกผาหลวง
– อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
📍สกลนคร
– อุทยานแห่งชาติภูผายล
อ้างอิงจาก:
– NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
– เครือข่ายพื้นที่อนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย
– BBC NEWS
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #สถานที่ดูดาว #ดูดาว #ฝนดาวตกควอดรานติดส์ #ฝนดาวตก