ในปี 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้รวมจากธุรกิจการเลี้ยงหมูมากกว่า 6,430 ล้านบาท โดยกลุ่มจังหวัดที่มีรายได้รวมมากที่สุด คือ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ มีมูลค่ากว่า 3,474 ล้านบาท รองลงมา คือ กลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ มีมูลค่า 1,369 ล้านบาท และกลุ่มสบายดี มีมูลค่า 1,310 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยบริษัทเสี้ยงหมูรายใหญ่ในอีสานก็จะอยู่ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์เช่นกัน อย่างเช่น
– บจก.อาร์.เอ็ม.ซี.ฟาร์ม ที่มีรายได้กว่า 869 ล้านบาท
– บจก.ฟาร์มพรประเสริฐ รายได้กว่า 650 ล้านบาท
– บจก.ศรายุทธ ฟาร์ม รายได้กว่า 425 ล้านบาท
– บจก.ส.ปศุสัตว์ รายได้กว่า 282 ล้านบาท
กลุ่มนครชัยบุรินทร์ไม่ได้มีเพียงรายได้รวมมากที่สุด แต่ยังมีจำนวนหมูและเกษตรกรที่เลี้ยงหมูมากที่สุดในภาคอีสานอีกด้วย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมูในพื้นที่นี้ อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมในการทำธุรกิจฟาร์มหมูและยังมีการพัฒนาฐานพื้นที่สำหรับฟาร์มและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีฟาร์มหมูจำนวนมากในพื้นที่นี้
แนวโน้มคาดว่าอุปทานเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ตามจำนวนสุกรเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนหลักอย่างราคาอาหารสัตว์ปรับลดลง ทั้งรำสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และปลาป่น โดยอุปทานเนื้อสุกรจะมาจากผู้ผลิตสุกรรายกลาง-ใหญ่เป็นสำคัญ ขณะที่ผู้ผลิตสุกรรายย่อยจะลดบทบาทลง ขณะที่อุปสงค์เนื้อสุกรคาดว่าขยายตัวได้ตามราคาเนื้อสุกรที่ปรับลดลงเป็นหลัก ซึ่งช่วยหนุนความต้องการของผู้บริโภคไทย นอกจากนี้ การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มการบริโภคเนื้อสุกรในประเทศ
อ้างอิงจาก:.
– KResearch Center
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– กรมปศุสัตว์
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจฟาร์มหมู #ฟาร์มหมู #เลี้ยงหมู #สุกร #เลี้ยงสุกร