หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่ให้เนื้อสำหรับมนุษย์ใช้บริโภคที่สำคัญมากประเภทหนึ่งและมีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป ทั้งนี้เพราะหมูเป็นสัตว์ที่เลี้ยงดูง่ายเนื่องจากกินอาหารได้สารพัดอย่างขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มีหลายประเทศทางแถบยุโรปและอเมริกาที่เลี้ยงหมูมากจนเป็นอุตสาหกรรมสามารถส่งเนื้อหมูเป็นสินค้าออกจำหน่ายต่างประเทศทำรายได้ให้ประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เนื้อหมูที่ส่งออกจำหน่ายมีทั้งที่เป็นเนื้อสดโดยแช่ไว้ในห้องแช่แข็งและเนื้อที่แปรรูปแล้ว
.
สำหรับประเทศไทย เนื้อหมูนับว่าเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะประชาชนส่วนใหญ่นิยมบริโภคเนื้อหมูมากกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาหารแทบทุกมื้อมักจะมีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ
.
ในประเทศไทยมีหมูทั้งหมดกว่า 12 ล้านตัว แล้วรู้หรือไม่ว่าหมูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากแค่ไหน?
.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหมูมากกว่า 2.7 ล้านตัว หรือคิดเป็นสัดส่วน 22.1% ของจำนวนหมูทั้งหมดในประเทศ และมีเกษตรกรที่เลี้ยงหมูอยู่ทั้งหมด 68,617 คน หรือคิดเป็น 45.7% ของจำนวนเกษตรกรที่เลี้ยงหมูในประเทศ
.
5 อันดับจังหวัดที่หมูมากที่สุดในภาคอีสาน
อันดับที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวน 466,088 ตัว
อันดับที่ 2 จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวน 241,951 ตัว
อันดับที่ 3 จังหวัดอุดรธานี มีจำนวน 227,451 ตัว
อันดับที่ 4 จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวน 186,673 ตัว
อันดับที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 158,899 ตัว
.
หากดูข้อมูล 5 อันดับจังหวัดที่หมูมากที่สุด จะเห็นได้ว่ากระจุกตัวอยู่จังหวัดหลักในอีสาน อย่างนครราชสีมา บุรีรัมย์ อุดรธานี และอุบลราชธานี โดยทั้ง 4 จังหวัดนี้มีจำนวนหมูรวมกันได้มากกว่า 1.1 ล้านตัว หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 38.9% ทีเดียว
.
แต่ที่น่าสังเกตุที่สุดก็คือ จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวนหมูมากเป็นอันดับ 4 ของภาคอีสาน อะไรที่ทำให้จังหวัดขนาดกลางในแง่เศรษฐกิจอย่างชัยภูมิมีจำนวนหมูมากขนาดนี้?
.
โดยในจังหวัดชัยภูมิก็มีบริษัทใหญ่อย่าง บริษัท นวฮะภูมิ 999 จำกัด ที่มีรายได้รวมในปี 2566 อยู่ 309 ล้านบาท และจากการดูข้อมูลฟาร์มเลี้ยงหมูในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็พบว่า จังหวัดชัยภูมิ มีฟาร์มเลี้ยงหมูมากเป็นอันดับที่ 3 ของภาคอีสาน ซึ่งเป็นรองเพียงจังหวัดนนครราชสีมาและขอนแก่นเท่านั้น
.
ในจังหวัดชัยภูมิมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกลับเข้ามาสู่ในอาชีพใหม่เป็นจำนวนมากหลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของ ที่ระบาดอย่างหนักในช่วงปี 2564 ถึง 2565
.
.
เมื่อดูการขับเคลื่อนของภาคส่วนต่างๆ ในส่วนของภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางแนวทางส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย ด้วยการกำหนดพื้นที่นำร่อง Pig Sandbox หรือพื้นที่ควบคุมพิเศษ พร้อมอบรมให้ความรู้ด้านการเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน ควบคู่กับการอุดหนุนปัจจัยจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นอาหารสัตว์ และลูกสุกรขุนราคาถูก ตลอดจนสนับสนุนช่วยเหลือด้านการเลี้ยง การตลาดและแหล่งทุน ขณะที่ภาคผู้เลี้ยง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคต่างๆ ได้มุ่งเน้นให้ความรู้กับผู้เลี้ยงรายย่อยมาอย่างต่อเนื่อง
.
หากภาคการเลี้ยง โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายย่อยได้ปรับเปลี่ยนระบบให้มีการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ผนวกกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ภาครัฐจะจัดสรรให้ มั่นใจเหลือเกินว่า จะช่วยให้มีสุกรที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยกลับเข้าสู่ระบบ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนนี้ นับเป็นการเติมเต็มความพร้อม ซึ่งจะช่วยยกระดับให้ฟาร์มเล็กฟาร์มน้อยต่างๆ มีระบบป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสม หากดำเนินการอย่างรัดกุม
.
.
อ้างอิงจาก:
– กรมปศุสัตว์
– CPF FEED
– Thailand Plus Online
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อี#สานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #หมู #หมูในอีสาน #เลี้ยงหมู #สุกร