ชวนเบิ่ง การพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงพื้นที่ภาคอีสาน

ชวนเบิ่ง การพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงพื้นที่ภาคอีสาน

 

รถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน

  1. ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. มูลค่าโครงการ 24,064 ล้านบาท

รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และยกระดับ 

จำนวนสถานี : 19 สถานี

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 3 แห่ง

เปิดให้บริการแล้ว ในปี 2563

  1. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 135 กม. มูลค่าโครงการ 29,968.62 ล้านบาท (4 สัญญา + ขยายระยะเวลา)

รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน ยกระดับ และอุโมงค์

จำนวนสถานี : 19 สถานี

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 1 แห่ง

กำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2565 (บางส่วน)

 

ทางคู่ระยะที่ 2

  1. ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าโครงการ 26,663.26 ล้านบาท

รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และทางรถไฟยกระดับ

จำนวนสถานี : 15 สถานี

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 3 แห่ง

สถานะ : รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมพิจารณาเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินโครงการ โดยคาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2569

  1. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. มูลค่าโครงการ 37,527.10 ล้านบาท

รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และทางรถไฟยกระดับ

จำนวนสถานี : 35 สถานี

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 4 แห่ง

สถานะ : รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ โดยคาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2571

 

ทางรถไฟสายใหม่ อยู่ระหว่างประกวดราคา

  1. ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท

รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน

จำนวนสถานี : 18 สถานี

ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 6 แห่ง

สถานะ : คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้ว พระราชกฤษฎีกาเวนคืนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2564

 

ทางรถไฟสายใหม่ระยะถัดไป

  1. ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่
  2. ช่วงศรีสะเกษ-ยโสธร-ร้อยเอ็ด
  3. ช่วงอุบลราชธานี-ช่องเม็ก
  4. ช่วงมุกดาหาร-อำนาจเจริญ-อุบลราชธานี

 

รถไฟความเร็วสูงระยะเร่งด่วน

  1. ช่วงกรุงเทพฯ (สถานีกลางบางซื่อ) – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. ใช้งบประมาณลงทุนของรัฐบาลไทย 179,412 หมื่นล้านบาท

รูปแบบโครงสร้าง : ทางยกระดับ (188.68 กม.) ระดับพื้นดิน (54.09 กม.) และอุโมงค์ (8 กม.)

สถานะ : จากการก่อสร้างทั้งหมด 14 สัญญา อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคา 3 สัญญา ลงนามแล้วและเตรียมก่อสร้าง 3 สัญญา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7 สัญญา และแล้วเสร็จ 1 สัญญา (คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.)

จำนวนสถานี : 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง (เชื่อมต่อ 3 สนามบิน) สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา

โดยเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะให้บริการด้วยรถไฟความเร็วสูง Fuxing Hao CR 300 จำนวน 6 ขบวน คาดว่าจะส่งมอบในปี 2567-2568 ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ 250 กม./ชม. ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อ – นครราชสีมา 1 ชั่วโมง 30 นาที อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 107 บาท สูงสุด 534 บาท โดยคาดว่า จะเปิดให้บริการปี 2569

  1. ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. ใช้งบประมาณลงทุน 252,347 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ โดยคาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2572

อย่างไรก็ตาม ทั้งโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงจะเข้ามาเชื่อมโยงระบบคมนาคม และการขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมของจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน (พลังงาน) ยิ่งขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศ ที่จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป

 

อ้างอิงจาก : 

การรถไฟแห่งประเทศไทย

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เศรษฐกิจอีสาน #Economy #IsanEcon  #รถไฟทางคู่#รถไฟความเร็วสูง

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top