ในปี 2564 จังหวัดหนองคายมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 44,396 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 97,617 บาท
โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME
– ภาคการบริการ คิดเป็น 44% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 1,897 ราย
– ภาคการเกษตร คิดเป็น 23% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ อยู่ที่ 81 ราย
– ภาคการผลิต คิดเป็น 22% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟางและวัสดุถักสาน อยู่ที่ 933 ราย
– ภาคการค้า คิดเป็น 11% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การขายปลีกสินค้าอื่น ๆ ในร้านค้าทั่วไป อยู่ที่ 2,568 ราย
การค้าชายแดนกับลาว
มูลค่าการส่งออกสินค้าไปลาว อยู่ที่ 44,170 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกชายแดนมากเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสาน โดย 3 อันดับสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด คือ เชื้อเพลิง รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์โลหะทำด้วยเหล็ก และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ตามลำดับ
มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากลาว อยู่ที่ 64,516 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ น้ำมันดีเซล รองลงมา คือ อุปกรณ์และส่วนประกอบของรถยนต์ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามลำดับ
ตัวอย่างบริษัทใหญ่
บริษัท มิตซูเจียงหนองคาย จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 1,228 ล้านบาท
บริษัท นวลจันทร์ รับเบอร์ จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 890 ล้านบาท
บริษัท เจียง-อัศวรรณ หนองคาย จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 796 ล้านบาท
ตัวอย่างโครงการใหญ่
1. ทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ตะวันออก)
สร้างเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก 2,893 ล้านบาท จำนวน 3 ตอน โดยจะช่วยรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ลดแออัดในตัวเมือง หนุนพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยง สปป.ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในแผนโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์
อ้างอิงจาก:
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ
– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– กระทรวงพาณิชย์
– กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ