ฮู้บ่ว่า การย่อยสลายของกระทงใช้เวลาปานใด๋ ?

ฮู้บ่ว่า 

การย่อยสลายของกระทงใช้เวลาปานใด๋ ?

 

ก่อนจะไปลอยกระทงปี 2565 กัน มีข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) มาฝาก 

 

เนื่องจากปัจจุบันหลายคนหันไปใช้กระทงรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อหวังจะลดปริมาณขยะจากกระทง แต่กระทงแต่ละชนิดก็ใช้ระยะเวลาย่อยสลายแตกต่างกัน บางชนิดอาจย่อยสลายได้เร็ว บางชนิดอาจกลายเป็นอาหารปลาได้ แต่หากมีปริมาณที่มากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน

 

กระทงที่ทำจากขนมปังเมื่อขนมปังยุ่ย จะทำให้น้ำมีค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) หรือ ค่าสารอินทรีย์สูง หากปริมาณไม่มาก จะไม่ค่อยส่งผลเสีย แต่หากมากเกินไป จะทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียได้ 

 

อีกทั้งยังมีผลกระทบที่จะเกิดกับธรรมชาติ สัตว์น้ำ ที่อาจทั้งกินเอาขยะเข้าไป หรือก็ต้องอาศัยอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่า รวมถึงวัสดุอุปกรณ์บางอย่างในการทำกระทงเช่น ตะปู ลูกแม็กที่ใช้เย็บใบตอง ที่ไม่อาจย่อยสลายได้

 

ในการจัดเก็บกระทง จึงมีการแยกกระทงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ นำไปเป็นวัตถุดิบหมักทำปุ๋ย โดยส่งไปที่ศูนย์กำจัดมูลฝอย ส่วนกระทงที่ทำจากโฟมจะรวบรวมและประสานบริษัทนำไปรีไซเคิล เช่น การทำกล่องดินสอ ไม้บรรทัด และวัสดุในหมอนรองคอ ซึ่งคาดว่าในปีนี้กระทงโฟมจะมีปริมาณลดลง

 

เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ ลอยกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทง  อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดี ควบคู่กับการสืบสานประเพณีให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับคนที่ทำกระทงแบบรักสิ่งแวดล้อม ให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น 

 

อ้างอิงจาก:

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพธุรกิจ

Springnews

Thairath

 

#ISANInsightAndOutlook  #อีสาน #ลอยกระทง #ลอยกระทง2565 #กระทงรักษ์โลก

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top