Key Points
- แร่หายาก ประกอบด้วยแร่ 17 ชนิด รวมถึง ซีเรียมที่มีมากกว่าทอง 15,000 เท่า แต่กลับถูกขุดนำมาใช้ยากกว่าทอง
- จีน ครองสัดส่วนผลิตแร่หายากมากที่สุดของโลก คิดเป็น 70-80%
- ราว 80% ของแร่หายากที่สหรัฐนำเข้า มาจากจีน และเป็นสินค้าพิเศษที่ไม่ถูกขึ้นกำแพงภาษี
จีนหยุดส่งออกแร่หายาก 7 ชนิดไปประเทศอื่น 100%
“Rare Earth” อาวุธที่จีนใช้เพิ่มอำนาจต่อรองกับสหรัฐฯ
.
ไทยหยุดวันสงกรานต์ แต่โลกยังไม่หยุด ดำเนินนโยบายสงครามการค้าต่อเนื่อง ปัจจุบันประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 โดยผลิตแร่ Rare Earth ถึง 80% ของกำลังการผลิตทั่วโลก โดยมีแหล่งแร่สำรองคิดเป็น 35% ของทั้งโลก นอกจากนี้ประเทศสหรัฐฯ นำเข้าแร่ Rare Earth กว่า 80% ของปริมาณที่นำเข้าทั้งหมดจากประเทศจีน
.
เหตุผลที่ประเทศจีนเป็นผู้นำเพราะมีเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อถลุงแร่ที่เหนือกว่าชาติอื่น อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีอุปสรรคในการเข้าตลาดที่สูงมาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีบริษัทใดเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวโดยไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล
ปกติ ในการตอบโต้ภาษีการค้า มักจะใช้การขึ้นอัตราภาษีใส่กัน จีนมาแปลก สั่งห้ามการส่งออกแร่หายาก ซึ่งได้แก่
- Samarium
- Gadolinium
- Terbium
- Dysprosium
- Lutetium
- Scandium
- Yttrium
ถ้าห้ามการส่งออกจริง 100% จะทำเอาระบบห่วงโซ่อุปทานปั่นป่วนแน่ๆ เพราะจีนเป็นผู้ส่งออกสำคัญ
การตัดสินใจของจีน ทำให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวขึ้น 12% ทันที
ส่วนประเทศที่มีแร่เหล่านี้รองๆ ลงมาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมี ยูเครน กรีนแลนด์ แคนาดา นิวซีแลนด์ ที่เป็นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาทั้งนั้น คราวนี้้ต้องไปดูกันว่าทางสหรัฐอเมริกาต้องหันไปง้อชาติเหล่านี้หรือไม่
.
สหรัฐฯ นำเข้าแร่แรร์เอิร์ธมากแค่ไหน
USGS ประเมินว่า มูลค่าของสารประกอบและโลหะของแร่ Rare Earth ที่สหรัฐฯ นำเข้ามาในปี 2023 อยู่ที่ราว 190 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 7% จากปีก่อนหน้า
ขณะที่ในปี 2024 สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้าแร่แรร์เอิร์ธจาก จีน, มาเลเซีย, ญี่ปุ่น และเอสโตเนีย สูงถึง 80%
นอกจากแร่แรร์เอิร์ธทั้ง 17 ชนิดแล้ว สหรัฐฯ ยังกำลังมองหาแร่ธาตุสำคัญอื่นๆ เช่น ทังสเตน, เทลลูเรียม, ลิเธียม, ไทเทเนียม และอินเดียม
ในการผลิตชิป วัตถุดิบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “แร่หายาก” หรือ “Rare Earth” นั่นเอง
นอกจากเป็นวัตถุดิบผลิตชิปแล้ว แร่หายากยังถูกใช้ทำแม่เหล็กแบบถาวร (Permanent Magnet) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในมอเตอร์ของรถยนต์ไฟฟ้า มอเตอร์ในกังหันลม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ฮาร์ดไดรฟ์ ลำโพง หูฟัง คอมพิวเตอร์ อากาศยาน จอพลาสมา เลเซอร์ เซ็นเซอร์ หุ่นยนต์ ดาวเทียมไปจนถึงยุทโธปกรณ์ทางทหารอย่างเรดาร์ ขีปนาวุธ เครื่องบินรบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
- เครื่องบินขับไล่สหรัฐ F35 ต้องใช้แร่หายากมากถึง 417 กิโลกรัม
- เรือพิฆาตสหรัฐชั้น Arleigh Burke (Arleigh Burke-class destroyer) ใช้แร่หายากมากกว่า 2 ตัน
- เรือดำน้ำสหรัฐ ชั้น Virginia ( US Virginia-class submarine) ใช้แร่หายากราว 4 ตัน
ดังนั้น จากความสำคัญแร่หายากเหล่านี้ ยิ่งสังคมเปลี่ยนเป็นดิจิทัล และหันมาใช้พลังงานสะอาดจากกังหันลม รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ความต้องการแร่หายากพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
แร่หายาก (Rare Earth)มีอะไรบ้าง และทำไมถึงหายาก?
แร่หายาก ประกอบด้วยแร่ 17 ชนิด ได้แก่ สแกนเดียม (Sc) อิตเทรียม (Y) และกลุ่มธาตุแลนทาไนด์อีก 15 ตัว ได้แก่ แลนทานัม (La) ซีเรียม (Ce) เพรซีโอดิเมียม (Pr) นีโอดิเมียม (Nd) โพรมีเทียม (Pm) ซาแมเรียม (Sm) ยูโรเพียม (Eu) แกโดลิเนียม (Gd) เทอร์เบียม (Tb) ดิสโพรเซียม (Dy) โฮลเมียม (Ho) เออร์เบียม (Er) ทูเลียม (Tm) อิตเทอร์เบียม (Yb) และลูทีเชียม (Lu)
– ตารางธาตุแร่หายาก (เครดิต: Rare Element Resources) –
“ธาตุหายาก” หรือ Rare-Earth (REEs) คือ กลุ่มของธาตุ ในตารางธาตุ ทั้งหมด 17 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุใน หมู่แลนทาไนด์ 15 ธาตุ และ อีก 2 ธาตุใน หมู่โลหะทรานซิชัน คือ สแกนเดียม และ อิตเทรียม
แร่หายาก อยู่กันอย่างกระจัด กระจาย และ ไม่กระจุกตัวบนพื้นเปลือกโลก ธาตุ Rare Earth นี้จึงหายาก และด้วยคุณสมบัติ ทางเคมีธรณี ในการสกัด และทำให้บริสุทธิ์ มีวิธีการหลายขั้นตอน และต้องใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง ต้นทุนสูง ทำให้ธาตุหายาก ขาดแคลน เป็นอย่างมาก และ มีราคาสูง
เนื่องจากแร่หายากมีหลายชนิด การนำไปใช้งานจึงหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอ แผงวงจร ลำโพง แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าหรือแม้กระทั่งยุทโธปกรณ์ทางการทหาร
ซึ่งจะกระทบแบรนด์อเมริกา หลากหลายแบรนด์ ทั้ง
รถไฟฟ้าเทสล่า, มือถืออุปกรณ์ของแอปเปิ้ล iPhone, MacPC ที่ประกอบในจีน เป็นต้น
.
จีนมหาอำนาจที่กุม ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่หายากทั้งหมด
ทั่วโลกมีแร่หายากกระจายอยู่ที่ไหนบ้าง คาดไทยมีแร่หายากมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
จากแผนภาพข้างต้นแสดงการกระจายตัวของแร่หายากทั่วโลกและหากสัดส่วนแร่หายากที่กระจายตัวทั่วโลก
ไทย มีแหล่งแร่หายากเป็นอันดับ 5 ของโลก
ประเทศที่ผลิตครอบครองเหมืองและผลิตแร่หายากได้มากที่สุด คือ จีน
ส่วนข้อมูลจาก Statista เผย 6 ประเทศที่ผลิตแร่หายากได้มากที่สุด ได้แก่
- จีน
- สหรัฐฯ
- พม่า
- ออสเตรเลีย
- ไทย
- อินเดีย
จะพบว่า ประเทศมหาอำนาจครอบครองเหมืองแร่หายากทั้งในประเทศ และสัมปทานในประเทศต่างๆ ด้วยคุณสมบัติ ทางเคมีธรณี ในการสกัด และทำให้บริสุทธิ์ มีวิธีการหลายขั้นตอน และต้องใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง ต้นทุนสูง ทำให้ธาตุหายาก ขาดแคลน เป็นอย่างมาก และ มีราคาสูง
แร่หายาก 1 ขุมทรัพย์ ลาว ที่จีนครอบครอง(สัมปทาน)
หนึ่งในแร่ธาตุที่กำลังถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางใน ลาว โดยเฉพาะนับแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา คือ “Rare Earth” ซึ่งในภาษาลาวเรียกตรงตัวเหมือนกับภาษาไทยว่า “แร่หายาก” ที่น่าสนใจคือ เหล่านักลงทุนที่ได้เข้ามาสำรวจ ขุดค้น กระทั่งเริ่มต้นทำเหมืองสกัด “แร่หายาก” ในลาวทุกวัน นี้ แทบทั้งหมดล้วนมาจาก “จีน”
ทุกวันนี้ จีนเป็นประเทศที่ผลิต Rare Earth ได้มาก ที่สุดในโลก เพราะนอกจากมีความเชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีและมีความพร้อมด้านเงินทุนแล้ว การทำ เหมืองและสกัด Rare Earth ยังมีความอ่อนไหว และ สุ่มเสี่ยงมากต่อการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม
หลายประเทศที่ต้องใช้ Rare Earth จึงใช้ วิธีมาซื้อเอาจากจีน มากกว่าที่จะลงทุน ทำเหมืองและสกัด Rare Earth เอง
ปริมาณสำรองธาตุหายากทั่วโลก 1 ในการกุมอำนาจต่อรองของแต่ละประเทศ
ณ ปี 2020 มีปริมาณสำรองรวม 120 ล้านตัน โดยประเทศ 5 อันดับแรกของโลกมีปริมาณสำรองดังนี้
- จีน มีปริมาณสำรองจำนวน 44 ล้านตัน
- เวียดนาม มีปริมาณสำรองจำนวน 22 ล้านตัน
- บราซิล มีปริมาณสำรองจำนวน 21 ล้านตัน
- รัสเซีย มีปริมาณสำรองจำนวน 12 ล้านตัน
- อินเดีย มีปริมาณสำรองจำนวน 6.9 ล้านตัน
แล้ว “ไทย” จะอยู่ตรงไหนในสมรภูมิการค้านี้ หากข้อมูลที่ปรากฏนี้ชี้ให้เห็นว่าไทยมีทรัพยากร แร่หายาก อยู่จำนวนมาก แล้วไทย มีศักยภาพในการผลิต สร้างมูลค่าเศรษฐกิจจากทรัพย์สินในดินแดนไทยมากน้อยเพียงใดในเมื่อ ปริมาณสำรองและการสัมปทานเหมืองแร่หายากทั้งหมด อยู่ในมือของ 5 ชาติยักษ์ใหญ่ทั้งหมด หรือสุดท้ายแล้วรัฐจะกอบโกยเงินจากสัมปทาน ปล่อยให้ต่างชาติสร้างผลกำไรจากสินทรัพย์ในดิน ไม่เกิดการกระจายความมั่งคั่งให้ท้องถิ่น และเหลือทิ้งไว้เพียงร่องรอยการทำลายธรรมชาติอย่างที่เคยเกิดขึ้นมา….
อ้างอิง:
- statista
- reuters
- politico
- cnbc cnbc(2)
- europa
- baks
- theconversation
- impakter
- usgs
- investingnews
- strategicmetalsinvest
- Rare earth ในสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีน
- Rare Earth อีกหนึ่งขุมทรัพย์ของจีนใน ลาว
พามาเบิ่ง🧐 ขุมทรัพย์ทองคำ 64 ต้น 🪙 1 ในแนวแร่ทองคำในไทย : “แนวเลย – เพชรบูรณ์ – ปราจีนบุรี”