โอ้กะจู๋ บุกอีสาน สลัด 1000 ล้าน ทำอย่างไร? จากแปลงผัก สู่บริษัทมหาชน ถอดบทเรียนธุรกิจ ฟรี!! 22 พ.ย.67 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น

🥗โอ้กะจู๋ บุกอีสาน สลัด 1000 ล้าน จากแปลงผัก สู่บริษัทมหาชน

.
หากพูดถึงร้านอาหารออร์แกนิกในเวลา คงไม่มีใครไม่รู้จักร้าน “โอ้กะจู๋” ธุรกิจที่เริ่มจากแปลงผักหลังบ้าน ที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่บริษัทยอดขายกว่า 1000 ล้าน และเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
ISAN Insight and Outlook🧐สิพามาเบิ่ง เส้นทางธุรกิจ จากแปลงผัก สู่บริษัทมหาชน และ อะไรทำให้ “โอ้กะจู๋” เลือก ‘ขอนแก่น’ เป็นสาขาแรกในการบุกอีสาน
.

1⃣มาฮู้จัก “โอ้กะจู๋”

เริ่มจากปลูกผักสวนครัวทั่วไป และผักสลัดบางชนิด บนพื้นที่ปลูกที่มีไม่มากนัก โรงเรือนขนาด 180 ตารางเมตร ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็นำไปประกอบอาหารรับประทานในครอบครัว ด้วยเหตุผลที่ว่า “อยากให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดี ทานผักที่ไร้สารพิษและสารเคมีตกค้าง” จึงเป็นที่มาของสโลแกน “ปลูกผักเพราะรักแม่” เพราะแม่เปรียบเสมือนตัวแทนความรักของครอบครัว ส่วนชื่อของแบรนด์ “โอ้กะจู๋” ก็มาจากการผวน “อู๋” กับ “โจ้” นั่นเอง
.
สำหรับบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ “โอ้กะจู๋” ปัจจุบันได้ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อลงทุนการขยายสาขาแบรนด์ “โอ้กะจู๋“, ขยายแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ , พัฒนาแฟลตฟอร์มรองรับการขาย และขยายฟาร์มเพื่อให้เพียงพอกับการเติบโต
.
ณ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม ปี 2567) โอ้กะจู๋ มีทั้งหมด 34 สาขา โดยอยู่ภายใต้บริษัทจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพประเภทต่างๆ เช่น สลัด สเต๊ก ซุป สปาเกตตี อาหารจานเดียว ขนมหวาน น้ำผักผลไม้ เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
.
รวมถึงนำผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์โอ้กะจู๋ เช่น ผัก ผลไม้สด แซนวิช แร็พ ได้มีการนำไปวางขายยังช่องทางต่างๆ รวมถึงการให้บริการจัดเลี้ยง โดยธุรกิจบริการและจำหน่ายของบริษัทฯ สามารถแบ่งรูปแบบและช่องทางการจำหน่ายได้เป็น 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ 1.Full-service Restaurant 2.Delivery and Kiosk 3.Cafe Amazon และ 4.Supermarket ด้วยผลผลิตจากสวน 5 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่รวมประมาณ 380 ไร่
.
📊หากดูในแง่ของผลประกอบการจะพบว่า
  • ปี 64 บริษัทมีรายได้ 803 ล้านบาท
  • ปี 65 บริษัทมีรายได้ 1,215 ล้านบาท
  • ปี 66 บริษัทมีรายได้ 1,717 ล้านบาท
.
📈ส่วนทางด้านกำไร
  • ปี 64 ขาดทุนอยู่ที่ 83 ล้านบาท
  • ปี 65 กำไร 38 ล้านบาท
  • ปี 66 กำไร 141 ล้านบาท
.
.

2⃣ทำไม “ขอนแก่น” จึงเป็นหมุดหมายแรกใน ภาคอีสาน ของ “โอ้กะจู๋”❓

.
ต้องบอกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน นั้นเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรของประเทศ นั้นจึงหมายถึง ตลาดที่มีขนาดใหญ่ และศักยภาพในการบริโภคที่มากตามจำนวนของประชากร
.
โดย ขอนแก่น ถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการบริโภค ด้วยค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวที่สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์ไม่แตกต่างจากคนในเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ที่เป็นสาขาที่ โอ้กะจู๋ ทำตลาดอยู่ก่อนหน้าแล้วนั้น ทำให้การสร้างแบรนด์ และการรับรู้เป็นเรื่องที่ง่าย และจุดติดกระแสเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรักสุขภาพในเมืองขอนแก่นได้อีกด้วย
.
นอกจากนั้น โอ้กะจู๋ ยังมีพาร์ทเนอร์ที่ยอดเยี่ยมทั้ง บมจ. ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ได้มีการการเข้ามาถือหุ้น 20% เพื่อช่วยให้บริษัทฯ สามารถสร้างโอกาสการเติบโตและก้าวไปอีกขั้น รวมถึงเข้าถึงข้อมูลตลาดในพื้นที่จากกลุ่มธุรกิจในเครือ OR
.
ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการตอบรับอย่างดีจาก เจ้าของพื้นที่อย่าง “ตลาดต้นตาล ขอนแก่น” ที่กำลังมุ่งเน้นในการสร้าง Community market ในเมืองขอนแก่น จึงมีการผลักดัน และดึงร้านอาหารแบรนด์ดังจากทั่วประเทศเพื่อให้เกิด trafic ในตลาดและเป็นโอกาสให้ทั้งผู้ประกอบการ และเป็นแหล่งรวมสินค้าและบริการแบรนด์ดังให้ชาวขอนแก่น อีกด้วย
.

.

3⃣จุดเปลี่ยน จาก “เถ้าแก่” สู่ “ผู้ประกอบการมืออาชีพ”

.
จากเงินทุนครอบครัว จำนวน 50,000 บาท ปลูกผักขายส่งได้ประมาณ 2 ปี ในปีที่ 3 จึงทำเป็นร้านคาเฟ่เล็กๆ นำไม้เก่ามาประกอบเป็นรถ และมีที่นั่งไม่ถึง 10 ที่ ส่วนชื่อร้านที่ตัดสินใจ ใช้ชื่อ “โอ้กะจู๋” ก็มีที่มาจากชื่อของ อู๋ กับ โจ้ ที่ผวนคำให้ดูฟังแล้วสะดุดหู คนจำง่าย ซึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันของทั้ง 3 คน ได้แก่
▪️ คุณอู๋ ชลากร เอกชัยพัฒนกุล
▪️ คุณโจ้ จิรายุทธ ภูวพูนผล
▪️ คุณต้อง วรเดช สุชัยบุญศิริ
.
พร้อมกับโอกาสที่คุณอู๋ได้เข้าร่วม โครงการ LiVE Acceleration Program จาก LiVE Platform โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 ในปี 2563 จากการแนะนำโดย คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ LiVE Exchange ที่เปรียบเหมือนอีกหนึ่งพาร์ตเนอร์คนสำคัญ
ก็ทำให้โอ้กะจู๋ได้ความรู้ และมุมมองในการปรับใช้กับธุรกิจมากขึ้น
โดยเฉพาะช่วง Sharing Session ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ
ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จนเกิด Community ที่คอยช่วยเหลือ
ให้คำปรึกษาระหว่างกันและกันจนถึงทุกวันนี้
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
.

จุดเปลี่ยนสำคัญอีก 1 จุดของโอ้กะจู๋ นั้นเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564

เมื่อบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้เข้ามาจับมือในการร่วมต่อยอดธุรกิจกับโอ้กะจู๋ การเข้ามาของ OR ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้โอ้กะจู๋ สามารถต่อยอดธุรกิจไปได้ในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งการสนับสนุนข้อมูลสาขา หรือข้อมูลคลังสินค้า จนเกิดเป็นแผนการขยายสาขาโมเดลใหม่แบบ Drive Thru ไปตามสถานีบริการน้ำมัน PTT หรือการพาไปสำรวจพื้นที่การขยายสู่ต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้น หากว่าโอ้กะจู๋ ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก OR
.
นอกจากโอกาสทางธุรกิจแล้ว โอ้กะจู๋เอง ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ระบบหลังบ้าน การบริหาร หรือการตรวจสอบ ที่เป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเป้าหมายใหญ่ที่มาไกลเกินกว่าที่คุณอู๋ และผู้ก่อตั้งคนอื่น ๆ คิดไว้ นั่นคือ การวางแผนเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่นเอง
.
เมื่อธุรกิจเล็กๆ ที่ “เถ้าแก่” เป็นระบบ ต้องเปลี่ยนสู่การสร้าง “ระบบบริษัท” ที่ถูกต้อง โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ทั้ง
  • กฎหมาย
  • ระบบบัญชี และการเงินหลังบ้าน
  • ระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงควบคุมภายใน
  • โครงสร้างการบริหารจัดการ
เพื่อเป้าหมายถัดไป ในการระดมทุนในตลาดหุ้น
.

แล้ว โอ้กะจู๋ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง❓

ปัญหาในการเปลี่ยนจากธุรกิจ ครอบครัว หุ้นส่วน สู่ บริษัท มหาชน ต้องเตรียมตัวอย่างไร❓

มาร่วมถอดบทเรียนธุรกิจจาก คุณอู๋ ชลากร เอกชัยพัฒนกุล

 

📣ที่งาน Unlocking Opportunities for Business Growth: เปิดโอกาสให้ธุรกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดการใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

📆22 พฤศจิกายน 2567
📌ณ ห้อง Orchid Ballroom 1 ชั้น 2 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด
📄งานฟรี ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้
.
อ้างอิงจาก:
  • เว็บไซต์ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน)
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • บทสัมภาษณ์ คุณอู๋ ชลากร เอกชัยพัฒนกุล และ คุณโจ้ จิรายุทธ ภูวพูนผล

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top