อะไรทำให้ เศรษฐกิจอีสาน ฟื้นตัวช้า คาดการณ์ การเติบโตต่ำกว่า 1%💼

แบงค์ชาติคาดการณ์ ปีนี้ #อีสานฟื้นตัวแล้ว⏫ จากภาคการค้าที่ดีขึ้น แต่ก็ยังโตขึ้นไม่ถึง 1% 💼เหตุ ภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวช้า การเกษตรหดตัว และภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือน

 

เศรษฐกิจอีสาน ปี 66 หดตัวที่ -2.2 ถึง -1.2%

ขณะที่ปี 67ขยายตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ถึง 0.9%

ปี 2566 หดตัวจากภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ที่หดตัวเนื่องจากสินค้าคงคลังของคู่ค้ายังอยู่ในระดับสูงจาก อุปสงค์ที่ฟื้นตัวช้า เช่นเดียวกับผลผลิตเกษตรที่หดตัว ในพืชสำคัญทำห้กำลังซื้อในภาคการค้าลดลง ด้านภาค อสังหาริมทรัพย์หดตัวตามยอดขายที่เร่งไปในปีก่อนหน้า ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไร ก็ดี ภาคก่อสร้างขยายตัวได้เล็กน้อยจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ใหม่ หลังจากที่ผู้ประกอบการเร่งระบายสต๊อกไปในปีก่อน 

ปี 2567 ขยายตัวเล็กน้อย จากภาคการค้าตามกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรม ยังฟื้นตัวช้าตามการฟื้นตัวของภาคอิเล็กทรอนิกส์ และผลผลิต เกษตรยังหดตัว เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง บั่นทอน ความสามารถในการซื้อและผ่อนชำระ

สรุปภาพรวมเศรษฐกิจอีสาน ในปี 2566

-🌾 รายได้ในภาคการเกษตรมีการ หดตัว ⬇️ -2.8% YOY

จากผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยเป้นสำคัญ เนื่องจากผุ็ปลูกมันสำปะหลังพบปัญหาใบด่าง ส่วนอ้อยพบปัญหาจากภัยแล้ง ส่วนยางและปศุสัตว์ระดับขยายตัวเล็กน้อยแต่มีราคาที่ถูกลง

รายได้นอกภาคเกษตร หดตัวลง ⬇️ -1.3% YOY  จากภาคก่อสร้างและภาคบริการเป็นสำคัญ

อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความ

-🏛️มาตราการภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่ายลดลง เช่น คนละครึ่ง,ช็อปดีมีคืน,เราเที่ยวด้วยกัน

ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง +4.4% แม้ว่าเงินเฟ้อจะลดลง 0.98%

ซึ่งทั้งหมดนั้นส่งผลให้ การบริโภคเอกชน ปี 2566 หดตัว -1.9% YOY

       สินค้าหมวดยานยนต์ -15.6%     สิ้นค้าอุปโภคบริโภค -0.6%       สินค้าคงทน -6.3%

-🏭การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว สอดคล้องกับการลงทุนเอกชนตามสภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังชะลอตัว

       การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว-4.7% YOY (2566) เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย น้ำตาลสาย แป้งมันสำปะหลัง

       การลงทุนเอกชน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัว -4.6% YOY เช่น การนำเข้าสินค้าทุน รถยนต์เชิงพาณิชย์

หมายเหตุ : ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำประมาณการจากข้อมูลเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์กับธุรกิจและประชาชน และจะมีการทบทวนปรับปรุงประมาณการและเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง

ผลมาจากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อนและมีผลกระทบต่อกัน

  • ปัจจัยภายในภูมิภาค: ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของภูมิภาค ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงและส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและครอบคลุมทั่วถึงก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเช่นกัน
  • ปัจจัยภายนอก: สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกของไทย และกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ปรับเปลี่ยนไปก็มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนในประเทศไทย
  • ปัจจัยอื่นๆ: ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและความไม่เท่าเทียมทางรายได้ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนและการกระจายรายได้ในภูมิภาค

คาดการณ์เศรษฐกิจอีสาน ในปี 2567

  • ภาคการเกษตร หดตัวเล็กน้อย สถานการณ์เอลนิโญปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา เป็นผลให้ภัยแล้งน้อยกว่าที่คาดการณ์ แต่ยังมีผลจากปริมาณฝนและพายุที่กระหน่ำเข้าช่วงฤดูฝน จึงทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าผลของความแปรปรวนทางสภาพอากาศจะส่งผลต่อผลิตผลทางการเกษตรที่ลดลง แต่ราคาผลผลิตที่ปรับตัวขึ้นทำให้รายได้จากภาคการเกษตรทรงตัว
  • ภาคอุตสาหกรรม หดตัวเล็กน้อย อุตสาหกรรมการผลิตและจำนวนโรงงานเปิดใหม่น้อยกว่าโรงงานปิดตัว โดยเฉพาะโรงงานผลิตหรือในห่วงโซ่อุปทานของสายงานก่อสร้าง ที่ปิดตัวลงจากการเข้ามาของเหล็กจีนที่ราคาถูก การแข่งขันจากต่างประเทศ และความต้องการด้านอสังหาฯ ที่ชะลอตัวและส่งผลกระทบโดยตรง ในขณะที่โรงงานผลิตและแปรรูปสินค้าโภคภัณฑ์ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องปรุงจำพวก แป้ง น้ำตาล ในอีสานยังลงทุนเพิ่มเติม และเติบโตจากการบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และภาคการส่งออกที่มีความต้องการมากขึ้นจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อการผลิต แป้ง และน้ำตาลในต่างประเทศ ทำให้เกิดผลดีกับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ในไทย ที่มีอีสานเป็นฐานการผลิตหลัก
  • ภาคก่อสร้าง ขยายตัวเล็กน้อย หลังจากการชะลอตัวมาต่อเนื่องจากภาวะโรคระบาดโควิค-19 ภาคการก่อสร้างในอีสานฟื้นตัวจากการลงทุนด้านอสังหาฯ ของกลุ่มทุนจากภายนอกภูมิภาคที่ลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคการก่อสร้างได้รับอานิสงค์และฟื้นตัว และปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในปีนี้
  • ภาคอสังหาริมทรัพย์ หดตัว แม้ผู้ลงทุน และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์(อุปทาน⬆️) มีแนวโน้มการลงทุนมากขึ้นในทุกจังหวัด จากความเชื่อมั่น และเห็นโอกาสเติบโตของความต้องการที่อยู่อาศัยรวมถึงการลงทุนเพื่อเช่า และการพาณิชย์มากขึ้น แต่ในฝั่งผู้บริโภค(อุปสงค์⬇️) ยังคงทรงตัว และลดลงในบางจังหวัด อันเป็นผลมาจากหลายปัจจัยทั้ง ภาวะเศรษฐกิจ ระดับมหภาคที่ หนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธนาคาร🏦มีมาตรการที่รัดกุมในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การอนุมัติสินเชื่อผ่านจึงลดลง และส่งผลต่อยอดขาย, รวมทั้งภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง และยังไม่มีท่าทีจะปรับตัวลดลง ทำให้การตัดสินใจซื้อของผู้มีรายได้ปานกลาง ชะลอตัว แม้ว่าในเขต มหาวิทยาลัยทั้ง ขอนแก่น และ มหาสารคาม จะยังเป็นทำเลทองในการลงทุนเพื่อเก็งกำไร และทำการปล่อยเช่า แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัว บทสรุปจึงจะเห็นตัวเลขหน่วยเหลือขายเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดนั้นเอง
  • ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
  • ภาคการค้า ขยายตัวเล็กน้อย จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ การบริโภคภายในภูมิภาคยังคงเป็นจุดแข็งของภูมิภาคนี้ รวมถึงรายได้ของเกษตรกรยังปรับเพิ่มขึ้น จากผลผลิตที่ดีขึ้นและราคาสินค้าการเกษตรที่สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ไตรมาส สุดท้ายของปี 2567 ยังคงต้องรอการประเมินหลังจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเพิ่มเติม ทั้งจากเงินงบประมาณที่เบิกของปี 2567 รวมถึงเงินดิจิตอลที่มีท่าทีที่ชัดเจนหลังการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี แต่ถึงแม้จะมีปัจจัยกระตุ้นการบริโภคมากขึ้น แต่หนี้ครัวเรือนที่สูง และสัดส่วนการกู้เพื่อการบริโภคยังคงเป็นภาระที่ฉุดรั้งการบริโภคของภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การขยายตัวของภาคการค้าจากการบริโภคของชาวอีสานเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สรุปได้ว่า การคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่อนข้างต่ำในปี 2567 สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ซับซ้อนและหลากหลายที่ภูมิภาคกำลังเผชิญ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคครัวเรือนในวงกว้าง

หมายเหตุ: การคาดการณ์นี้เป็นเพียงการประมาณการณ์เบื้องต้น และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, F = ประมาณการ /1 ข้อมูลจริงถึงปี 66 ประมาณการโดย ธปท. จากแถลงข่าวผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 1/2567 /2 ข้อมูลจริงถึงปี 64 ประมาณการเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ส่วนเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก.พ. 2567 ตัวเลขในวงเล็บ ( ) แสดงประมาณการรอบ ส.ค. 2566

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top