World Bank เผย “เงินหมื่นรัฐบาล” หนุน GDP 0.3% ตามรัฐบาลหวัง IMF แนะควรจัดสรรเงินหมื่นบางส่วนไปใช้ในส่วนอื่น

ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการแจกเงินสดมูลคต่า 10,000 บาทให้แก่ประชาชนในกลุ่มเปราะบาง หรือผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้พิการ จำนวน 14.5 ล้านคนทั่วประเทศไทย เป็นเงินมูลค่ากว่า 145,552.40 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลหวังว่าโครงการในระยะแรกนี้จะสามารถกระตุ้น GDP ไทยในปี พ.ศ. 2567 ได้ 0.35% ล่าสุดทาง World Bank ได้มีการออกรายงาน “THAILAND ECONOMIC MONITOR UNLEASHING GROWTH: INNOVATION, SMES AND STARTUPS FEBRUARY 2025” โดยมีการประเมินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะแรกว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.3% ใกล้เคียงกับความคาดหวังของรัฐบาล แต่ทั้งนี้แม้ตัวเลขจะดูสวยงามเป็นไปดั่งที่รัฐบาลคาดหวังไว้แต่หากพิจารณาภาพรวมแล้วจะพบว่าต้นทุนทางการคลังที่ใช้ไปในการกระเศรษฐกิจครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึง 145,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของ GDP ประเทศไทย นั่นหมายความว่าแม้โครงการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามรัฐบาลหวังก็จริง แต่เป็นการกระตุ้นที่ใช้เงินลงทุนสูงแต่ได้ผลตอบแทนกลับมาไม่คุ้มค่าเท่ากับที่ลงทุนไป อีกทั้ง จากรายงาน “Thailand: 2024 Article IV Consultation-Press Release; Staff Report; and Statement by the Executive Director for Thailand” โดย IMF ยังคงได้มีการแนะนำรัฐบาลว่า IMF ได้วิเคราะห์ว่าหากนำงบประมาณที่ใช้ในโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลไปลงทุนในด้านอื่น เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและกายภาพ หรือการศึกษา อาจช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีกว่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับการแจกเงินโดยตรง ทั้งนี้ ทาง World Bank และ IMF ได้มีการคาดการณ์ GDP ประเทศไทยว่ายังคงเติบโตต่ำกว่า 3% การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมานาน นอกจากนี้ แรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกประเทศยังส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง ขณะเดียวกัน แนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังคงไม่แน่นอนและเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบที่สำคัญ โดยทาง World Bank และ IMF ได้มีการคาดการณ์ไว้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันที่ 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ โดยทาง World Bank เน้นว่าการปฏิรูปโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตในระยะยาว หากไม่มีการปฏิรูปนโยบายอย่างเร่งด่วน คาดว่าอัตราการเติบโตของไทยจะลดลงจากค่าเฉลี่ย 3.2% (ช่วงปี 2554-2564) เหลือ 2.7% (ช่วงปี 2565-2573) ซึ่งอาจขัดขวางเป้าหมายในการเป็นประเทศรายได้สูง อีกทั้ง IMF แนะนำให้นโยบายการคลังของไทยเน้นการสร้าง “พื้นที่ทางการคลัง” ใหม่ โดยในปีงบประมาณ 2568 ควรใช้แนวทางการคลังที่ไม่ขยายตัวมากเกินไป (Less Expansionary Fiscal Stance) … Continue reading World Bank เผย “เงินหมื่นรัฐบาล” หนุน GDP 0.3% ตามรัฐบาลหวัง IMF แนะควรจัดสรรเงินหมื่นบางส่วนไปใช้ในส่วนอื่น