‘สุรา’ ทั้งในรูปแบบกลุ่นและหมัก ในภาคอีสานมีประวัติศาสตร์ยาวนาน เริ่มต้นจากการนำเอาข้าวเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวอีสานมาหมักและกลั่นเป็นสุรา ในอดีตชาวบ้านจะทำสุรากลั่นใช้ในครัวเรือนเอง โดยเฉพาะในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวที่มีข้าวเหลือใช้มาก หรือข้าวที่มีคุณภาพไม่ดีพอสำหรับการบริโภค
บทบาทของสุราในภาคอีสาน ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มที่ใช้เพื่อความมึนเมา แต่สุรากลั่นมีบทบาทสำคัญในงานบุญและประเพณีต่างๆ ของชาวอีสาน เช่น งานบุญผะเหวด งานบุญข้าวจี่ งานบุญบั้งไฟ โดยจะใช้เป็นเครื่องไหว้เจ้าที่ ผีปู่ย่า และเป็นเครื่องดื่มในการสังสรรค์ การเสิร์ฟสุรากลั่นให้แขกที่มาเยือนเป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความจริงใจของเจ้าบ้าน ถือเป็นมารยาทที่ดีในวัฒนธรรมอีสาน
ความรู้เรื่องกรรมวิธีการทำสุราได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยผู้สูงอายุจะสอนให้ลูกหลานได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการที่เป็นความลับของแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดความหลากหลายในรสชาติและวิธีการผลิตในแต่ละพื้นที่ ซึ่งความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมเหล่านี้ ได้ผนวกรวมกับความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ ต่อยอดเป็นธุรกิจการผลิตสุราในท้องถิ่น ที่ไม่เพียงสะท้อนวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชน แต่ยังมีศักยภาพในการสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
โคราช แหล่งธุรกิจผลิตสุราและไวน์แห่งอีสาน
โคราช ดินแดน ย่าโม ท้าวสุรนารี วีรสตรีที่สร้างชัยชนะด้วย “สุรา” พื้นที่แห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอารยธรรมและมี สาโท ที่เป็นสุราท้องถิ่นที่โด่งดังมาตั้งแต่อดีต
ปัจจุบันในภาคอีสานมีธุรกิจผลิตสุรากลั่นและไวน์ ทั้งรายใหญ่และรายย่อยรวมกัน 137 ราย มีรายได้รวมกว่า 14,000 ล้านบาท โดยจังหวัดที่มีธุรกิจประเภทผลิตสุรากลั่นและไวน์มากที่สุดในอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา หรือ โคราช โดยมีนิติบุคคลจดทะเบียนทั้งสิ้น 33 ราย รองลงมาคือ กาฬสินธุ์ 18 ราย โดยธุรกิจผลิตสุรากลั่นและไวน์ในโคราช ล้วนปล้วเป็นเป็นธุรกิจรายย่อยที่ไม่ใช่โรงงานผลิตของบริษัทใหญ่
โดยนิติบุคคลในธุรกิจผลิตสุรากลั่นและไวน์ ของโคราชมีรายได้รวมกันกว่า 250 ล้านบาท โดย 3 อันดับนิติบุคคลที่มีรายได้มากที่สุด ได้แก่
-
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สัมฤทธิ์มั่นคง
- ทุนจดทะเบียน: 400,000 บาท (2 กรกฎาคม 2545)
- รายได้รวม: 66,766,721.71 บาท
- เป็นนิติบุคคลที่ผลิตสุราประเภทสุราแช่มากว่า 20 ปี โดยมีสินค้าหลักคือ “สาโทสยาม” ซึ่งผลิตมาจากการหมักข้าวเหนียว ซึ่งเป็นวัตถุดิบท้องถิ่น
@ploy.chompu_ สาโทสยาม #สุราไทย #สุราก้าวไกล
-
บริษัท อโศกวัลเล่ย์ ไวน์เนอร์รี่ จำกัด
- ทุนจดทะเบียน: 5,000,000 บาท (5 พฤศจิกายน 2551)
- รายได้รวม: 57,435,961.47 บาท
- เป็นธุรกิจผลิตไวน์องุ่นรายใหญ่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อ.ปากช่อง ตัวอย่างสินค้า เช่น ไวน์แบรนด์ “GranMonte” นอกจากนั้นยังมีไร่องุ่นและร้านอาหารที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย
-
ห้างหุ้นส่วน อังคณาเทรดดิ้ง จำกัด
- ทุนจดทะเบียน: 5,000,000 บาท (5 พฤศจิกายน 2551)
- รายได้รวม: 57,435,961.47 บาท
- จากโรงงานสุรากลั่นในชุมชน อ.เสิงสาง ขยายเป็นโรงงานสุรากลั่นที่มีรายได้มากเป็นอันดับ 3 ของโคราช มีสินค้าหลักคือ “สุราขาวปลามังกร”
@sharkwow.ch 40 ดีกรี ของ4จังหวัด ที่เพื่อนๆคอมเม้นกันเข้ามากจนต้องลองให้ดู มาดูกันว่าจะมีของที่ไหนบ้าง!!?? #ขึ้นหน้าฟีด #ทดลอง #fyp #เมา #ขึ้นหน้าฟีดที #แอลกอฮอล์ #สุราก้าวหน้า #เอาขึ้นหน้าฟีดที #40ดีกรี
ธุรกิจผลิตสุราและไวน์ในโคราชถือว่าเป็นตัวอย่างในการนำสินค้าทางการเกษตรในท้องถิ่น มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านการรวมกลุ่มกันในชุมชน พัฒนาสู่ อุตสาหกรรมสุราชุมชนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้วัตถุดิบจากพื้นที่ เช่น ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ หรือองุ่น มาผ่านกระบวนการผลิต แล้วนำมาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและมาตรฐานที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ
การรวมกลุ่มของชุมชนยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก กระจายรายได้ให้กับเกษตรกรและช่างฝีมือในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านรสชาติและเรื่องราวของสุราแต่ละชนิด ซึ่งตอบรับกับแนวทางการส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทย ที่เน้นการต่อยอดทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา สู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มในตลาดสมัยใหม่
กฎหมายผลิตสุราล่าสุดของไทย
เพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมสุราชุมชนอย่างยั่งยืน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการผลิตสุราฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดเดิม เปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะรายย่อยและวิสาหกิจชุมชน เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ผ่านการปรับปรุงหลักเกณฑ์จากกฎกระทรวงเดิม (พ.ศ. 2565) โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ ได้แก่
- ผ่อนปรนระยะห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะ สำหรับโรงกลั่นขนาดเล็กและกลาง หากมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
- เปิดทางให้ขอใบอนุญาตผลิตสุราขนาดกลางได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มจากระดับขนาดเล็ก
- อนุญาตให้จำหน่ายเบียร์สดนอกสถานที่ผลิตได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด
นโยบายนี้ถือเป็นการสร้างสะพานเชื่อมจากภูมิปัญญาดั้งเดิมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ผ่านแนวคิด Soft Power ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นจุดแข็งในการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2568
28 มิ.ย. – 6 ก.ค. 2568
สมัครเข้าร่วมกิจกรรม “ชม ชิม สาเกและสาโท”
https://docs.google.com/…/1FAIpQLSe37MTESmx…/viewform…
.
Sake and Sato Film Screening & Workshop “ชม ชิม สาเกและสาโท: ความเหมือนที่แตกต่างภูมิปัญญาพื้นบ้านของญี่ปุ่นและไทย”
นำเสนอประสบการณ์เรียนรู้วัฒนธรรมการหมักสาเกและสาโท อันสะท้อนให้เห็นถึงจุดร่วมทางวัฒนธรรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นของญี่ปุ่นและประเทศไทย ผ่านการชมสารคดีเกี่ยวกับการผลิตสาเกที่จังหวัดอิชิคาว่า และฟังการบรรยายเกี่ยวกับที่มา ภูมิปัญญาการหมักสาเกและสาโท รวมถึงการชิมสาเกและสาโท
พบกับวิทยาการผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน กับ 3
- Mr. Tomohiro OTSUBO (Speaker)
- Ms. Panisa Upahad (Speaker)
- Ms. Nithipha Thongputchot (Moderator/speaker)
.
พบกัน วันที่ 6 ก.ค. 2568 เวลา 12.30 – 18.30 น.
ณ Khontemporary ขอนแก่น
_
ที่มา:
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- เว็บไซต์รัฐบาลไทย
- เว็บไซต์บริษัท