“สุรา” ก้าว(หน้า)ไปทางไหน ?
.
“สุราก้าวหน้า” เป็นโยบายที่หวังสร้างรายได้ขยายการเติบโตของ SME รายย่อยของไทย โดยการแก้ พ.ร.บ.สรรพสามิต เปิดทางให้การผลิตเหล้าเบียร์ทำได้อย่างเปิดกว้างมากขึ้น ลดการผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศ และสามารลดการผูกขาดธุรกิจสุราในกลุ่มนายทุนใหญ่เพียงไม่กี่กลุ่ม
.
.
สุรากลั่นท้องถิ่นในภาคอีสาน
.
รายได้และการจำหน่ายสุรากลั่นท้องถิ่นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการท่องเที่ยว เนื่องจากรูปแบบการจัดจำหน่ายที่ยังถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ผู้ผลิตเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายหน้าร้านโดยตรง การจำหน่ายในลักษณะนี้จำกัดโอกาสในการเข้าถึงตลาดกว้างขวาง อีกทั้งการผลิตสุรากลั่นท้องถิ่นยังคงไม่สามารถผลิตในปริมาณมากและมีราคาที่ถูกกว่าสุรากลั่นจากแบรนด์ใหญ่ในตลาดได้ ส่งผลให้ตลาดสุรากลั่นท้องถิ่นยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ในเร็ว ๆ นี้ รายได้ของสุรากลั่นท้องถิ่นจึงยังคงขึ้นอยู่กับกระแสการบริโภคของนักดื่มเป็นหลัก นอกจากนี้ ความจำเป็นในการพัฒนารสชาติและการตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเพื่อรักษาความน่าสนใจในตลาด แตกต่างจากแบรนด์ใหญ่ที่มีโอกาสติดตลาดได้ง่ายกว่าและสามารถจัดจำหน่ายได้อย่างทั่วถึง ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ใหญ่มีรายได้ที่มั่นคงและสามารถคาดการณ์ได้มากกว่าสุรากลั่นท้องถิ่น
.
โดยสินค้าเกษตรที่นิยมนำไปใช้ผลิตสุรากลั่นในภาคอีสาน ได้แก่ ข้าวเหนียว และ อ้อย ซึ่งเป็นผลผลิตที่นิยมปลูกเป็นอย่างมากในภาคอีสาน ถ้าหากนำผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าส่งให้แก่โรงกลั่นเพื่อผลิตสุรากลั่นท้องถิ่นจะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
.
และธุรกิจสุรากลั่นท้องถิ่นจะส่งผลในทางบวกต่อ supply chian ทั้งต้นน้ำอย่างเกษตรกร และปลายน้ำอย่างร้านอาหารที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก
.
.
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเบียร์ในบ้านเราเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 2 รายเท่านั้น คือ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันราว 95% ของปริมาณจำหน่ายเบียร์ทั้งหมดในประเทศ
.
ในขณะที่อุตสาหกรรมสุรา มีการแข่งขันที่น้อยกว่าเบียร์มาก เนื่องจากมีข้อจำกัดของกฎหมายที่ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจได้ยาก และถึงแม้จะเข้ามาได้ก็ไม่สามารถที่จะแข่งขันได้ ตลาดจึงถูกผูกขาดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 80% ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีผลิตภัณฑ์สุราสำหรับตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกระดับกว่า 30 แบรนด์
.
ปัจจุบัน ทิศทางของนโยบายสุราก้าวหน้ายังไม่แน่ชัดว่า ท้ายที่สุดจะไปทางไหน แต่ข้อกังวลและความท้าทายที่ละเลยไม่ได้ คือ การควบคุมการบริโภค โดยเฉพาะในเยาวชน รวมทั้งการติดตามและเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย โดยเฉพาะการดื่มในระดับอันตราย การดื่มแล้วขับขี่ยานพาหนะ และผลกระทบทางสุขภาพระยะยาวที่อาจจะเป็นผลเกิดขึ้นตามมา จากการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางสุขภาพกาย สุขภาพจิตและภาวะทางอารมณ์ รวมไปถึงสุขภาพสังคมด้วยเช่นกัน
.
.
ในปัจจุบันสุราท้องถิ่นแดนอีสานมีการกระจายอยู่ทั่วภาคอีสาน ดังนี้
📍กาฬสินธุ์
– พัวร์ (PUR)
– สุราตรางูทอง
📍ขอนแก่น
– คูน (Koon)
📍ชัยภูมิ
– The Spirit of Chaiyaphum
– ไร่ฟ้าเปลี่ยนสี เหล้าเตยหอม
– Spirit of Laen kha
📍นครพนม
– เหล้าอุเรณูนคร
📍นครราชสีมา
– Red jungle
📍บุรีรัมย์
– อมราสาโท
📍มหาสารคาม
– สุราตราช้างทองคำ
📍ร้อยเอ็ด
– ร้อยธานี เบฟเวอเรจ ป๊าดโธ
📍เลย
– สุราชุมชนนาด้วง
📍ศรีสะเกษ
– สาโทดอกลำดวน
📍สกลนคร
– ออนซอน (Onson)
📍สุรินทร์
– Thai Sato – Satom Organic Farm : Surin
– GRANDMA JINN
📍หนองคาย
– อีสานรัม (ISSAN RUM)
📍อำนาจเจริญ
– สุราตรานางฟ้า
📍อุบลราชธานี
– ซอดแจ้ง (Sod Chaeng Spirit)
– มาสุข (MASUK)
.
หมายเหตุ: เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม และห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์
อ้างอิงจาก:
– วิจัยกรุงศรี
– รายงานสุขภาพคนไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
– ประชาชนเบียร์
– เว็บไซต์ของบริษัท
– สุราก้าวหน้า
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #เหล้าอีสาน #สุราก้าวหน้า #สุราอีสาน