เทียบโครงสร้างประชากรไทย ในอีก 20 ปีข้างหน้า ในวันที่คนไทยเหลือ 60 ล้านคน

ฮู้บ่ว่า😳ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเหลือประชากรเพียง 60 ล้านคนเท่านั้น‼️
.
#โลก🌍ในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มช้าลง จำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ.2565 ทั่วทั้งโลกมีประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากถึง 1,109 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรโลก 8,000 ล้านคน
.
#อาเซียน ในปี พ.ศ.2565 มี 7 ใน 10 ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 เหลือเพียง 3 ประเทศได้แก่ลาวกัมพูชาและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ยังไม่เป็นสังคมผู้สูงอายุ
.
#ประเทศไทย 🇹🇭 ปี 2564 เป็นครั้งแรกที่อัตราการเกิดของเด็กไทยต่ำกว่าอัตราการตาย และอัตราการเกิดมีเเนวโน้มลดลงในทุกๆ ปีเเละคาดการณ์ว่าจะลดลงโดยไม่มีทีท่าจะเพิ่มขึ้น ผนวกกับอัตราการตายที่ลดลง ทำให้อัตราการเปลี่ยนเเปลงของประชากรตามธรรมชาติมีเเนวโน้มลดลงตามไปด้วย ซึ่งการที่อัตราการเปลี่ยนเเปลงของประชากรตามธรรมชาตินี้ลดลง ทำให้ประชากรในอนาคตจะมีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้นเรื่อยๆ
.
จากวิถีชีวิตของหนุ่มสาวที่เปลี่ยนไป สถานะภาพทางสังคม และการศึกษาที่สูงขึ้น ผู้หญิงอยู่เป็นโสดมากขึ้น ทำงานนอกบ้านมากขึ้น แต่งงานช้าลง ความต้องการมีบุตรลดลง และผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มีจำนวนน้อยลง ทำให้อัตราการเกิดลดต่ำลง และก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ #สังคมคนโสด โดยสัดส่วนคนโสดของประชากรวัยเจริญพันธุ์(อายุ 15-49 ปี) เป็นโสดกว่า 40.5% และหากเจาะจงเฉพาะ ช่วงอายุ 15-25 ปี เป็นโสดมากถึง 50.9%
.
ปัจจุบันสัดส่วนผู้สูงอายุของภาคกลาง และภาคเหนือ อยู่ในระดับสูง บางจังหวัดอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงอายุ เกิน 25% ของประชากร
.
#อีสาน 𝗜𝗦𝗔𝗡 𝗣𝗼𝗽𝘂𝗹𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานมีประชากรมากถึง 21.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ โดยภาคอีสานมีสัดส่วนเฉลี่ยรวมผู้สูงอายุกว่า 17.80% ของประชากรทั้งหมด และหากมองเทียบในระดับภูมิภาค ภาคอีสานมีสัดส่วนผู้สูงอายุน้อยเป็นรองเพียงภาคใต้เท่านั้น
.
ประเทศที่มีประชากรลดลง และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เผชิญกับ ผลกระทบ ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
⚠️แรงงานลดลง: ส่งผลต่อภาคการผลิต ภาคบริการ เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว
⚠️ขาดแคลนแรงงานทักษะสูง: ส่งผลต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
⚠️ภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น: เงินบำนาญ สวัสดิการผู้สูงอายุ
⚠️การบริโภคภายในประเทศลดลง: กำลังซื้อลดลง
⚠️การออมและการลงทุนลดลง: กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
.
ด้านสังคม
⚠️ปัญหาครอบครัว: ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว ภาระดูแลผู้สูงอายุตกอยู่กับคนรุ่นหลัง
⚠️ปัญหาสุขภาพ: โรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ
⚠️ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย: ความเข้าใจ ความสัมพันธ์
⚠️ปัญหาอาชญากรรม: การฆ่าตัวตาย การกระทำต่อผู้สูงอายุ การเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวไร้ญาติ
.
ด้านอื่นๆ
⚠️การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: สัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้น
⚠️การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ: มุ่งเน้นไปที่บริการ สุขภาพ เทคโนโลยี
⚠️การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ: สนับสนุนผู้สูงอายุ ส่งเสริมการมีบุตร
⚠️การเปลี่ยนแปลงค่านิยม: ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว
.
อย่างไรก็ตาม ยังมี โอกาส ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ความท้าทาย ดังนี้
☑️โอกาสทางธุรกิจ: สินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ
☑️โอกาสในการพัฒนาทักษะ: ทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ทักษะดิจิทัล
☑️โอกาสในการสร้างสังคมใหม่: สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างใช้วิธีการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก สังคมผู้สูงอายุ ไปในแนวทางที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ บริบท ของแต่ละประเทศ
.
ที่มา:
– UN, 2022
– รายงานผู้สูงอายุไทย 2565
– ประชุากรกลางปี 2565 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
– มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
– รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2567
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
.

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top