สธ.เผยสถิติ ปี 68 ไทยติดเชื้อ HIV ใหม่ เกือบ 9 พันราย ป่วยสะสมแล้วกว่าครึ่งล้าน 😰 แนะป้องกัน! สวมถุงยางทุกครั้ง
สธ. ชี้ปี 68 ไทยติดเชื้อ HIV ใหม่เกือบ 9 พัน ดับจากเอดส์ทะลุหมื่น
สธ. เผยปี 68 คาดการณ์ติดเชื้อ HIV ใหม่เกือบ 9 พันราย เสียชีวิตจากเอดส์ทะลุหมื่น สะสมกว่า 5.6 แสนคน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่ากังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ในประเทศไทย ประจำปี 2568 โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 8,862 คน
ผู้ติดเชื้อHIVใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สธ. ยังระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ HIV โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์สูงถึง 10,217 คน
สำหรับ จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV สะสมที่ยังมีชีวิตอยู่ในประเทศไทย ณ ปี 2568 คาดการณ์ว่ามีจำนวน 568,565 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงภาระทางสาธารณสุขที่ยังคงมีอยู่ และความจำเป็นในการดำเนินมาตรการป้องกันและรักษาอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะมีความพยายามในการควบคุมและป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อ HIV มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นในจำนวนที่น่าเป็นห่วง รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
กระทรวงสาธารณสุข จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อ HIV การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และการป้องกันการแพร่เชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไป
พามาเบิ่ง🧐จำนวนผู้ป่วย HIV ในอีสาน ปี 67 จำนวนผู้ป่วยสะสมทะลุแสนคน🤧
.
วินิจฉัย รายใหม่ (สะสม) | PLHIV สะสม |
เสียชีวิต ณ ปีที่รายงาน
|
|
นครราชสีมา | 2169 | 16,797 | 792 |
ขอนแก่น | 1918 | 14,967 | 796 |
อุดรธานี | 1360 | 11,515 | 656 |
อุบลราชธานี | 1157 | 9,655 | 473 |
บุรีรัมย์ | 1144 | 7,961 | 502 |
สุรินทร์ | 992 | 6,856 | 383 |
ร้อยเอ็ด | 842 | 6,727 | 385 |
มหาสารคาม | 827 | 5,531 | 280 |
สกลนคร | 786 | 6,283 | 404 |
ชัยภูมิ | 723 | 5,692 | 297 |
ศรีสะเกษ | 671 | 6,219 | 382 |
กาฬสินธุ์ | 528 | 5,152 | 360 |
เลย | 409 | 3,235 | 213 |
หนองคาย | 375 | 3,407 | 136 |
นครพนม | 302 | 3,158 | 186 |
บึงกาฬ | 260 | 2,096 | 93 |
หนองบัวลำภู | 246 | 2,579 | 179 |
มุกดาหาร | 194 | 1,605 | 79 |
ยโสธร | 172 | 2,435 | 132 |
อำนาจเจริญ | 150 | 1,518 | 67 |
รวมปี 2567 | 15225 | 123,388 | 6795 |
จากข้อมูลปี 2567 มีผู้ป่วยรายใหม่รวม 15,225 คน ผู้ป่วยสะสมรวม 123,388 คน และเสียชีวิตรวม 6,795 คน
จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ว่า วัยรุ่น-เยาวชนยังขาดความเข้าใจในเรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นได้ โดยการที่จะหาข้อมูลในสื่อต่างๆออนไลน์นั้นมีมากแต่มักจะถูกมองข้าม อาจเป็นเพราะสังคมของวัยรุ่น-เยาวชนหรือการเรียนสุขศึกษาในสถานศึกษาไม่ได้เน้นย้ำในการตระหนักและการให้ความสำคัญในเรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากเท่าที่ควร
ปัจุบันมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลจากสถานพยาบาลต่างๆ แหล่งข้อมูลจากกรมควบคุมโรค แม้กระทั่งสื่อออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาควรส่งเสริม และริเริ่มให้มีการพูดถึงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้อย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแรกที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มวัยรุ่น-เยาวชนมากที่สุด ก็มักจะไม่ค่อยสื่อสารในเรื่องเพศ เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย อย่างตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่ด้วยความที่พ่อแม่ของวัยรุ่น-เยาวชนไม่ได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่แรกจึงไม่ได้มีความรู้และสนใจที่จะพูดคุยเลย อีกทั้งกลุ่มวัยรุ่น-เยาวชนมักมองเป็นเรื่องไกลตัว สวนทางกับพฤติกรรมของกลุ่มเยาวชนในยุคปัจจุบันที่มีการพบปะกับคนแปลกหน้าได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะสื่อออนไลน์หรือการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นในการหาคู่ ทั้งนี้ทำให้ง่ายต่อการร่วมเพศกับคนแปลกหน้ามากขึ้น และแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันก็สูงขึ้นอาจเป็นเพราะขาดองค์ความรู้ ขาดการยับยั้งชั่งใจ หรือแม้กระทั่งนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการถูกกระทำโดยไม่ได้ยินยอมในบางราย เมื่อวัยรุ่น-เยาวชนมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยรวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาป้องกัน PrEP/nPEP ไม่ได้แพร่หลายในหมู่เยาวชนเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่ได้มีการติดตามสถานะผลเลือดของตนเองและไม่กล้าที่จะเข้ามาตรวจเลือด ก่อเกิดเป็นการติดเชื้อที่ไม่ทราบมาก่อนและส่งต่อเชื้อกันในกลุ่มวัยรุ่น-เยาวชนเพิ่มขึ้น
อาจจะกล่าวได้ว่า ถึงเวลาที่สังคมจะต้องสร้างและกำหนดค่านิยมใหม่ในกลุ่มวัยรุ่น-เยาวชน ส่งเสริมให้มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ควรรู้จักวิธีการดูแลเพื่อป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ด้วยการให้เกียรติและเคารพทุกเพศ หากจะมีเพศสัมพันธ์ต้องรู้จักวิธีป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หรือการขอรับบริการยาฉุกเฉินหลังสัมผัสเชื้อภายใน72ซม. nPEP (เป๊ป) และวางแผนรับยาป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ PrEP(เพร๊พ) ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

- กรมควบคุมโรค
- สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
- สปสช