Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี

ทัพไทยอันดับ 14 โลก พลานุภาพทางทหารในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี ต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และธุรกิจ สถานการณ์ชายแดนเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวและมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตามแนวชายแดนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงในหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และที่สำคัญ คือ การลักลอบเข้าเมือง หรือแม้แต่ความขัดแย้งภายในประเทศเพื่อนบ้านที่อาจส่งผลกระทบข้ามมายังฝั่งไทย จากข้อมูล Global Firepower 2025 กองทัพไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ด้วยจำนวนกำลังพลประจำการกว่า 363,850 นาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกองทัพไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีทางการทหารที่ทันสมัย การฝึกซ้อมที่เข้มข้น และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอด พลานุภาพนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง พบว่าจีนเป็นมหาอำนาจทางทหารอันดับ 1 ของโลก (2,035,000 นาย) ตามมาด้วยเวียดนามอันดับ 10 (600,000 นาย) กัมพูชาอันดับ 23 (221,000 นาย) เมียนมาอันดับ 38 (150,000 นาย) และลาวอันดับ 53 (130,000 นาย) โดยการจัดอันดับและจำนวนกำลังพลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพลานุภาพทางทหารในภูมิภาค และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องรักษาสมดุลทางอำนาจและเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพนั่นเอง   บทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารีมีอะไรบ้าง⁉️ ในด้านของความมั่นคงภายในประเทศและชายแดน “กองกำลังสุรนารี” ซึ่งมีที่ตั้งและขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อย่างเช่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องอธิปไตยและรักษาความสงบสุขในพื้นที่ ภารกิจหลักของกองกำลังสุรนารีไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การป้องกันการรุกรานจากภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การปราบปรามยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดน และการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล หน่วยงานหลักในสังกัดของกองกำลังสุรนารี เช่น หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 26 และ 23 ที่รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ รวมถึงหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12 ซึ่งมีภารกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยทหารหลัก แสดงให้เห็นถึงการจัดโครงสร้างที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยคุกคามในหลากหลายรูปแบบ   ความมั่นคงชายแดนที่เข้มแข็งจากบทบาทของทัพไทยและกองกำลังสุรนารีส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างไร⁉️ เมื่อพื้นที่ชายแดนมีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพ ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและการค้าชายแดน ผู้ประกอบการเองก็จะมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนที่เติบโตอย่างยั่งยืน หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการท่องเที่ยว ความปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว หากพื้นที่ชายแดนมีความมั่นคง การท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคอีสานก็จะเติบโต ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่   การที่ทัพไทยติดอันดับ 14 ของโลก ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการปกป้องประเทศชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน “ช่องบก” จ.อุบลราชธานีนี้ ก็มีกองกำลังสุรนารีเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนภาคตอีสาน ซึ่งบทบาทของกองกำลังเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การทหาร แต่ยังครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เพื่อปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืนนั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Global Fire Power 2025 – TNN   […]

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี อ่านเพิ่มเติม »

ISAN Insight ชวนมาเฮ็ดงาน THE STANDARD VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025

THE STANDARD VOLUNTEER ขอเชิญชวนนักศึกษาที่สนใจและต้องการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการจัดการงานอีเวนต์ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ THE STANDARD EVENT VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 งานสัมมนาธุรกิจระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดย THE STANDARD ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำมากมาย 📍 วันที่จัดงาน: 4-5 กรกฎาคม 2568 ณ จังหวัดขอนแก่น ภายในงานจะพบกับผู้นำธุรกิจระดับประเทศ เวทีเสวนาเข้มข้นจาก The Secret Sauce พร้อมกิจกรรม Business Trip และ Business Matching โดยเปิดพื้นที่ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และคนรุ่นใหม่ ได้มาร่วมเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจอย่างเข้มข้นตลอด 2 วัน คุณสมบัติของผู้สมัคร: 🔘 อายุ 20 ปีขึ้นไป 🔘 ไม่จำกัดคณะหรือสาขาวิชาที่ศึกษา 🔘 หากกำลังศึกษาอยู่ในคณะวิทยาการจัดการ / การจัดการอีเวนต์ / การจัดการโรงแรม จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ 🔘 โครงการฝึกงานนี้จัดขึ้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้กับผู้เข้าร่วม โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมจะได้รับอาหารทุกมื้อ ตลอดระยะเวลา 2 วันของกิจกรรม พร้อมใบเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วม   สิ่งที่คุณจะได้รับจากโครงการ: 📌 ลงมือปฏิบัติงานจริงกับงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ระดับมืออาชีพ 📌 สัมผัสประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้นำทางความคิดระดับประเทศ 📌 มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของทีม THE STANDARD EVENT อย่างใกล้ชิด 📌 พบปะผู้คน สร้างคอนเนกชัน และเรียนรู้ทักษะ Soft Skill ที่ใช้ได้จริง   👉คลิกเพื่อ สมัคร   📌 (10คน) Volunteer Coordinator    หน้าที่ : ประสานงาน ดูแล และอำนวยความสะดวกให้กับ Speaker ในส่วนของ Main Stage, Expertise Stage และ Business Matching ⏰ตารางเวลา 4 July 2025 11.00-12.30 น ประชุมรับบรีฟ นัดหมายการทำงานทั้ง 2 วัน 14.00-21.00 น Business Matching 5 July 2025   

ISAN Insight ชวนมาเฮ็ดงาน THE STANDARD VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 อ่านเพิ่มเติม »

สหรัฐฯ ลงดาบ! แผงโซลาร์กัมพูชาโดนภาษี 3,521%

ฮู้บ่ว่า? กัมพูชาอาจถูกสหรัฐฯ สั่งเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์สูงถึง 3,521%    . ในขณะที่โลกเร่งเดินหน้าเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาด สหรัฐอเมริกาได้จุดชนวนความสั่นสะเทือนในอุตสาหกรรมแผงโซลาร์เซลล์อีกครั้ง หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าแผงโซลาร์เซลล์จากกัมพูชาในอัตราสูงสุดถึง 3,521% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการดำเนินการด้านภาษีที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี   . มาตรการภาษีดังกล่าวเกิดจากผลการสอบสวนที่พบว่า บริษัทจีนใช้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากต้นทุนการส่งออก ที่เป็นผลมาจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ   . สาเหตุที่กัมพูชาถูกประกาศการขึ้นภาษีในอัตราสูงสุด เนื่องจาก บริษัทผู้ผลิตในกัมพูชา เช่น Solar Long และ Hounen Solar ได้ถอนตัวจากการให้ความร่วมมือในกระบวนการสอบสวน ส่งผลให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ มองว่าขาดความโปร่งใส และได้กำหนดภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงสุด ส่งผลให้การส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ของกัมพูชาอาจได้รับผลกกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ของกัมพูชาพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ กว่า 97.7% ของการส่งออกทั้งหมด   . ประเทศไทยเอง ก็ได้รับการขึ้นภาษีการนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน โดยสูงถึง 375% แต่จากการตรวจสอบพบว่า สินค้าที่ถูกขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ จะเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกโดยบริษัทจีน ที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทย    . ผลกระทบต่อการส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทยอาจอยู่ในระดับที่รุนแรง เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และสัดส่วนการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ที่สูง ซึ่งอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างสู่ผู้ผลิตในประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวมีการใช้สินค้าและวัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้า  แต่ผลกระทบต่อผู้ผลิตอาจเบาลงลงหากบริษัทดังกล่าวใช้วัตถุดิบนำเข้าหรือใช้วัตถุดิบจากโรงงานจีนที่เข้ามาตั้งในประเทศไทย และอาจเป็นผลทำให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถเติบโตได้ จากข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการส่งออก   ที่มา : The guardian, Reuters, Trademap 🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓   Cambodia อาจเป็น (S)cambodia เมื่ออุตสาหกรรม Scam มีรายได้กว่า 40% ของ GDP กัมพูชา

สหรัฐฯ ลงดาบ! แผงโซลาร์กัมพูชาโดนภาษี 3,521% อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่หากมองลึกลงไปถึงชีวิตแรงงาน จะพบว่าความมั่นคงนั้นอาจยังไปไม่ถึงพวกเขา  จากข้อมูลล่าสุดในปี 2567 คนไทยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 42.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศในอาเซียน และสูงเป็นอันดับ 5 รองจากกัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ขณะที่ประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีระบบแรงงานใกล้เคียง กลับมีชั่วโมงการทำงานที่ต่ำกว่าชัดเจน เมื่อย้อนดูข้อมูลย้อนหลัง 12 ปี จะพบว่าแนวโน้มชั่วโมงการทำงานของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2556 คนไทยเคยทำงานเฉลี่ยสูงถึง 44.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เลยทีเดียว จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องถึงจุดต่ำสุดที่ 40.8 ชั่วโมงในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อย่างเต็มที่ และจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้น ชั่วโมงการทำงานกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 2564-2567 ซึ่งอาจหมายถึงความจำเป็นของแรงงานที่ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงวิกฤต และเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง การที่คนไทยต้องทำงานมากกว่าหลายประเทศนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานใกล้เคียงกันอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย จะพบว่าผลิตภาพแรงงานของไทยยังตามหลังอยู่ สะท้อนถึงระบบเศรษฐกิจที่ยังอาศัยแรงงานในภาคที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ทั้งการผลิตที่ไม่เน้นนวัตกรรม หรือภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน ทำให้การทำงานในแต่ละชั่วโมงของแรงงานไทยไม่สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างคุ้มค่า ส่งผลให้รายได้ต่อชั่วโมงต่ำ และต้องชดเชยด้วยการทำงานเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยสิ่งที่น่ากังวลไปยิ่งกว่านั้นคือผลกระทบทางสังคมและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวไทย ชั่วโมงการทำงานที่สูงนั่นต้องแลกมาด้วยเวลาที่ลดลงในการดูแลครอบครัว พัฒนาทักษะตนเอง หรือแม้แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ประเทศต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิด “ทำงานอย่างชาญฉลาด มากกว่าทำงานหนัก” หรือ Work smart, not work hard แต่ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่ในวัฒนธรรมการทำงานหนักเพื่อแลกกับรายได้ที่ยังไม่มั่นคงเพียงพอ การทำงานที่ยาวนานของแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนถึงระบบค่าจ้างขั้นต่ำที่ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในเมืองใหญ่ นอกจากนี้แรงงานจำนวนมากยังทำงานแบบชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงแต่จะไม่มีหลักประกันทางสังคม และไม่มีสวัสดิการใดรองรับหากเกิดปัญหาเรื่องสุขภาพหรือรายได้นั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Statista – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – The Standard – BLT Bangkok – AMARIN 34 HD   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ชั่วโมงการทำงาน #ชั่วโมงการทำงานของคนไทย #คนไทยทำงานหนัก #แรงงานไทย

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS

หมวด หน่วย นครพนม หนองคาย มุกดาหาร จำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่ปี 2567 แห่ง 68 123 117 มูลค่าทุนจดทะเบียนปี 2567 ล้านบาท 100 164 476 จำนวนธุุรกิจทั้งหมด แห่ง 910 1475 1160 มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม ล้านบาท 3864 7104 10069 ผลประกอบการงบการเงิบปี 2566 ธุรกิจ ขายยานพาหนะ การผลิตสุรากลั่น ขายส่งผักผลไม้ มูลค่า (ล้านบาท) 4805 4359 7441 ธุรกิจ ขายเชื้อเพลิงยานยนต์ ขายยานพาหนะ ขายสินค้าทั่วไป มูลค่า (ล้านบาท) 2124 2126 3276 ธุรกิจ ขายสินค้าทั่วไป ขายเครื่อวจักรทางการเกษตร การผลิตน้ำตาล มูลค่า (ล้านบาท) 1933 1265 3075 ต่างชาติที่ลงทุนสูงสุด ประเทศ ลาว จีน จีน ทุนจดทะเบียน 54 43 14 ประเทศ อเมริกัน ลาว มาเลเซีย ทุนจดทะเบียน 20 33 9 ประเทศ สิงคโปร์ ฝรั่งเศส ลาว ทุนจดทะเบียน 3 5 7 เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) คือ พื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการลงทุน การค้าชายแดน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรัฐจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่เหล่านี้เป็นพิเศษ เช่น การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี การผ่อนคลายกฎหมายแรงงานต่างด้าว การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนทางราชการในการดำเนินธุรกิจ ประเทศไทยเริ่มผลักดันแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจริงจังในปี 2541 โดยมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิด “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridor) ซึ่งธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยการผลักดันพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค ต่อมาในปี 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้ง SEZ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีเป้าหมายให้ SEZ เป็นเครื่องมือกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากศูนย์กลางไปยังพื้นที่ชายแดน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS อ่านเพิ่มเติม »

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล

ปิโตรเลียมพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย พยุงความมั่นคงทางพลังงาน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความมั่นคงทางพลังงานอย่างเต็มตัวนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยการค้นพบและเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งเอราวัณในอ่าวไทย ตามมาด้วยการผลิตน้ำมันดิบ จากแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชรในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการพลิกโฉมพลังงานของประเทศจากผู้พึ่งพิงสู่ผู้ผลิตเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง แหล่งปิโตรเลียมของไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งในอ่าวไทยและบนบก โดยในภาคอีสานของเรา ก็เป็นที่ตั้งของขุมทรัพย์พลังงานสำคัญอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ สินภูฮ่อม และแหล่งก๊าซธรรมชาติ น้ำพอง สองฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของชาติ   แหล่งสินภูฮ่อม ขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่งและการพึ่งพาตนเอง แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ซึ่งตั้งอยู่บนแปลงสัมปทาน EU1 และ E5N ครอบคลุมพื้นที่ 232.2 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ได้เริ่มเดินเครื่องผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยให้ผลผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว ด้วยอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวเฉลี่ย 200 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2567) คิดเป็นสัดส่วนถึง 3% ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลของแหล่งสินภูฮ่อมในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลังงานของประเทศนั่นเอง การที่แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมสามารถสร้างรายได้กว่า 2,425.2 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-2563 ยิ่งตอกย้ำถึงศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่สูงมาก การลงทุนในโครงการปิโตรเลียมขนาดใหญ่นี้จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การค้นพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในสภาวะที่ราคาพลังงานโลกผันผวนและไม่แน่นอน การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ลดการนำเข้าของพลังงาน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดโลก และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวอีกด้วย การผลิตปิโตรเลียมในปริมาณมากย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานของแหล่งสินภูฮ่อมในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นยังเป็นการกระจายเม็ดเงินลงทุนและรายได้ไปสู่ภูมิภาค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง   แหล่งน้ำพอง หัวใจแห่งการผลิตกระแสไฟฟ้าภาคอีสาน แหล่งก๊าซน้ำพอง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 และเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 โดยมีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมจำนวน 34.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำพอง และอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งถูกส่งตรงไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประชาชนกว่าล้านครัวเรือนในภาคอีสาน นอกจากนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพองยังสร้างรายได้กว่า 750 ล้านบาท แหล่งก๊าซน้ำพองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคอีสาน การมีแหล่งพลังงานในท้องถิ่นช่วยลดการสูญเสียพลังงานจากการส่งผ่านระยะไกล และสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าให้กับภูมิภาคอีกด้วย การใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภายในประเทศย่อมมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและท้ายที่สุดก็ส่งผลดีต่อค่าครองชีพของประชาชน การดำเนินงานของแหล่งก๊าซน้ำพองสร้างโอกาสในการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่น ทั้งในส่วนของการสำรวจ การผลิต การบำรุงรักษา และบริการที่เกี่ยวข้อง     แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมและแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง ไม่เพียงแต่เป็นขุมทรัพย์พลังงานที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่ยังเป็นเสาหลักสำคัญในการค้ำจุน ความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง การลงทุนและพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแหล่งใหม่ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในขณะที่สถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวนและปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงต่างชาติ

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว

ฮู้บ่ว่าหากไทยและกัมพูชามีการปิดด่านการค้าชายแดนอย่างเต็มรูปแบบ อาจทำให้การค้าระหว่างไทย และกัมพูชากว่า 40% ต้องชะลอตัวลง   มููลค่าการค้าปี 2568 (ม.ค. – เม.ย.) มูลค่าการค้าทั้งหมด มูลค้าการค้าชายแดน มูลค่าการค้าช่องทางอื่นๆ นำเข้า 17,900 14,387 3,513 ส่งออก 108,383 50,225 58,158 มูลค่าการค้า 126,283 64,612 61,671   ด่านการค้าสำคัญ ส่งออก (ลบ.) นำเข้า (ลบ.) ศก. อรัญประเทศ (สระแก้ว) 30,576 11,865 ศก. คลองใหญ่ (ตราด) 9,707 1,328 ศก. จันทบุรี (จันทบุรี) 9,036 982 ศก. ช่องจอม (สุรินทร์) 900 1,992   สถานการณ์ตึงเครียดเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 จากกรณีข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ชายแดนช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีรายงานเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา โดยกองทัพบกไทยระบุว่าทหารกัมพูชาได้เข้ามาขุด “ช่องคูเลต” หรือร่องสนามเพาะ เตรียมตั้งแนวรบในพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ ส่งผลให้เกิดการยิงตอบโต้กันนานราว 10–25 นาที ในช่วงเช้ามืดของวันดังกล่าว มีรายงานว่าทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวว่าอีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มยิงก่อน   . ส่งผลให้ในวันที่ 7 มิถุนายน 2025 ผู้บัญชาการทหารบกได้ออกคำสั่งที่ 806/2568 ซึ่งประกาศใช้มาตรการควบคุมการเปิด–ปิดด่านอย่างเป็นทางการ ‒ เริ่มจากการจำกัดการผ่านแดนเฉพาะกรณีจำเป็น (เช่น การค้า แรงงาน) ลดเวลาทำการ และค่อยๆ ปิดจุดที่มีความเสี่ยงสูง โดยในปัจจุบัน ณ วันที่ 16/6/2568 มีด่านการค้าจำนวนมากที่มีการควบคุมเวลาเปิดทำการ เช่น จุดผ่านแดน ไทย – กัมพูชาในจังหวัดสระแก้ว จุดผ่านแดนถาวร บ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพไทย – กัมพูชา จุดผ่อนปรนการค้า บ้านหนองปรือ เป็นต้น รวมถึงในพื่นที่จังหวัดอื่นๆ อย่าง บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตราด จันทบุรี ซึ่งอาจเป็นผลทำให้การนำเข้า ส่งออกสินค้า การเดินทางของนักท่องเที่ยว และการโยกย้ายของแรงงานทำได้ยากมากขึ้น   มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ของไทย และกัมพูชา ในเดือน มกราคม ถึงเดือนเมษายน คิดเป็นมูลค่ากว่า 64,612

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน

  จำนวนผู้ผ่านด่านบกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 68 สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 (คน) %YoY 5 เดือน ลาว 1,201,542 -13.0% กัมพูชา 475,690 -14.1% เวียดนาม 41,650 -19.6% เมียนมาร์ 34,924 332.0%   จังหวัด สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 %YoY 5 เดือน เลย ลาว 48,578 -6.8% หนองคาย ลาว 456,286 12.2% เวียดนาม 20,613 -10.0% บึงกาฬ ลาว 848 -34.1% นครพนม ลาว 36,853 -8.8% เวียดนาม 10,888 -30.9% มุกดาหาร ลาว 161,639 0.1% เวียดนาม 7,045 -25.5% อุบลราชธานี ลาว 118,760 12.6% เวียดนาม 3,104 -16.4% ศรีสะเกษ กัมพูชา 31,610 0.3% สุรินทร์ กัมพูชา 44,109 -25.8% สระแก้ว กัมพูชา 281,123 -3.1% ลาว 163,838 -37.1% จันทบุรี ลาว 147,089 -50.0% กัมพูชา 93,044 -35.9% ตราด กัมพูชา 25,804 -7.1% เชียงราย เมียนมาร์ 34924 332.0% ลาว 17271 22.7% พะเยา ลาว 26793 36.4% น่าน ลาว 16472 11.8% อุตรดิตถ์ ลาว 7115 -31.0% ที่มา: Travel Link เขตแดนประเทศดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สุดเขตแดนประเทศไทย พื้นที่ชายขอบของประเทศที่หลายคนอาจมองว่าไกลโพ้นและเงียบเหงา แท้จริงแล้วกลับเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง จุดบรรจบของผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน อ่านเพิ่มเติม »

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน

เสียงพิณเสียงแคนสะท้านโลก นักร้องหมอลำหญิง ปลดล็อก Soft Power อีสาน สู่มูลค่าเศรษฐกิจพันล้านบาท ภาคอีสาน ดินแดนแห่งวัฒนธรรมอันสวยงาม ไม่ได้มีเพียงข้าวเหนียวและทุ่งกุลาร้องไห้ แต่มี “หมอลำ” ที่เป็นมากกว่าการแสดงพื้นบ้าน แต่มันคือจิตวิญญาณแห่งวิถีชีวิตของคนอีสาน เป็นเครื่องมือสื่อสารเรื่องราวประวัติศาสตร์ สังคม และความรู้สึกนึกคิดของคนอีสาน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการที่หมอลำได้ขึ้นมาเป็น Soft Power อันทรงพลัง ที่ไม่เพียงสร้างความบันเทิง แต่ยังเป็นจักรกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจในภูมิภาคให้เติบโตอย่างมหาศาล    หมอลำ Soft Power อีสาน ที่หยั่งรากลึกและผลิบาน ในยุคที่ Soft Power ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หมอลำได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นนี้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเนื้อหาที่เข้าถึงง่าย ดนตรีที่มีจังหวะเร้าใจ และการแสดงที่เต็มไปด้วยพลัง หมอลำได้ก้าวข้ามขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และภาษา ไม่ใช่แค่คนอีสานเท่านั้นที่หลงใหล แต่ยังขยายฐานแฟนคลับไปทั่วประเทศและในหมู่คนไทย รวมถึงชาวต่างชาติที่เริ่มให้ความสนใจ นักร้องหมอลำหญิง คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของ Soft Power ชิ้นนี้ ด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ ลีลาการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ และความสามารถในการสื่อสารอารมณ์ผ่านบทเพลง ต่างก็ได้กลายเป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันผ่านเสียงเพลง ไม่ว่าจะเป็น “ราชินีหมอลำ” ระดับตำนาน ไปจนถึงดาวรุ่งพุ่งแรงในยุคดิจิทัล พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้ขายเพียงบทเพลง แต่ขาย “ตัวตน” “เรื่องราว” และ “วิถีชีวิต” ที่สะท้อนความเป็นอีสานอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความผูกพันทางอารมณ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้งนั่นเอง   จากเวทีสู่มูลค่าเศรษฐกิจ หมอลำสร้างเงินได้อย่างไร? การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของหมอลำนั้นมีความซับซ้อน แต่สามารถประมาณการณ์ได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า พันล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่านี้เกิดจากหลายภาคส่วนที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะหมอลำเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน ซึ่งธุรกิจการแสดงและคอนเสิร์ต นี่คือแหล่งรายได้หลักที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด วงหมอลำคณะใหญ่ๆ โดยเฉพาะวงที่มีนักร้องหมอลำหญิงและชายเป็นแม่เหล็กดึงดูด สามารถทำรายได้จากการเดินสายแสดงทั่วประเทศได้มหาศาลต่อปี ค่าจ้างแสดงของศิลปินเบอร์ต้นๆ และวงขนาดใหญ่ มีตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อคืน หากรวมค่าใช้จ่ายในการจัดงาน เวที แสง สี เสียง ทีมงาน การขนส่ง และค่าบัตรเข้าชม จะเห็นว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือฤดูกาลการแสดง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างแท้จริง หรือแม้กระทั่ง ธุรกิจบันเทิงดิจิทัลในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางสร้างรายได้มหาศาล นักร้องหมอลำหญิงหลายคนมีผู้ติดตามบน YouTube, TikTok, Facebook และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอื่นๆ เป็นจำนวนมาก รายได้จากยอดวิว โฆษณา การขายเพลงดิจิทัล การไลฟ์สด และการรับบริจาค (Super Chat/Sticker) เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างคอนเทนต์เบื้องหลัง การทำ Vlog ชีวิตส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับผ่านช่องทางดิจิทัล ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย สินค้าที่ระลึกและธุรกิจต่อเนื่อง ความนิยมของนักร้องหมอลำนำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ระลึกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ โปสเตอร์ อัลบั้มเพลง หรือแม้กระทั่งสินค้าแบรนด์ของศิลปินเอง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น นอกจากนี้ ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น

จาก ‘หน้าฮ้าน’ สู่ ‘เงินล้าน พามาเบิ่ง 14 หมอลำหญิงเสียงทองแห่งแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน

รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4 (NC4) ได้เผยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด . จากข้อมูลในรายงาน พบว่า 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด มีความเสี่ยงสูงสุดต่อภัยความร้อน และจังหวัดนครราชสีมายังมีความเสี่ยงสูงสุดทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมอีกด้วย . ทั้งนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย ภาคการจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การปนเปื้อนของน้ำ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครสวรรค์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่มีที่ตั้งโรงงาน อยู่ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ได้แก่ บจ.ขอนแก่นบริวเวอรี่ และ บจ.มหาสารคามเบเวอเรช มีแนวทางที่องค์กรธุรกิจใช้ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานการบำบัดน้ำเสียของโรงงาน รวมถึงไม่สร้างมลพิษทางน้ำ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่โรงงานต้องใช้ร่วมกับชุมชน, นอกเหนือจากการแสวงหาผลกำไร บริษัทจึงให้ความสำคัญกับ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร(CSR)” โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อชุมชน, สังคม, และสิ่งแวดล้อม และร่วมแก้ปัญหา และจัดการทรัพยากรน้ำ ภัยแล้ง และความสะอาดของแหล่งน้ำ ที่เป็นปัญหาในภาคอีสาน สิงห์อาสา ร่วมกับ ม. ขอนแก่น สร้างแหล่งน้ำชุมชนยั่งยืนภาคอีสานต่อเนื่องปีที่ 6 รองรับการใช้น้ำเพียงพอตลอดท้งปี สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าขยายโครงการสิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนปีที่ 6 ที่บ้านโนนรัง ต.สาวะถี อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่รองรับการใช้น้ำของชุมชนตลอดทั้งปี เป็นทั้งบ่อกักเก็บน้ำในฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งอย่างยั่งยืน โดยนับตั้งแต่ปี 2563 มีแหล่งน้ำชุมชนสิงห์อาสาในจังหวัดภาคอีสานถึง 8 แห่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ชาวบ้านมีน้ำใช้เพียงพอและยังสามารถใช้น้ำทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว พืชผัก ผลไม้ และยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชน สร้างรายได้เพราะมีปลาในบ่อให้ชาวบ้านจับเป็นอาหารได้ รวมถึงระบบน้ำประปาสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งปี ปัญหา ‘ภัยแล้ง’ ​เป็นหนึ่งในความเดือดร้อนสำคัญของพี่น้อง​ภาคอีสานมาเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันจาก​ภาวะโลกเดือด ทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ทำให้ความรุนแรงของปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และสำหรับทำการเกษตรมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง​เป็นลูกโซ่ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพ รวมถึงรายได้ที่ไม่เพียงพอของผู้คนในพื้นที่ การมีแหล่งน้ำที่สะอาดในปริมาณที่เพียงพอ​​ จึงเป็นหนึ่งปัจจัยพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)​ จึงร่วมกับ “สิงห์อาสา” พร้อมด้วยบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดฯ และ เครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 สถาบัน สร้างสรรค์โครงการ “สิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน” ต่อเนื่องหลายปี เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังทำหน้าที่เป็นบ่อกักเก็บน้ำและช่วยชะลอการหลากของน้ำในช่วงฤดูฝน ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top