ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ 

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ 

.

.

พระพุทธรูปหรือพระปฏิมาเป็นสัญลักษณ์เเทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาด้วยความระลึกถึงพระศาสดา พระพุทธปฏิมาทุกองค์แสดงให้เห็นถึงความ รุ่งเรื่องไพบูลย์ของพุทธศาสนาโดยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งนำความเป็นสิริมงคลและอานุภาพแห่งพระพุทธปฏิมาปกแผ่คุ้มครองชาวไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

.

จำนวน 108 เป็นตัวเลขมงคลในทางพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ชิ้นาลังการฎีกาของลังการะบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตฉะเมื่อประสูติได้ 5 วัน ดังปรากฏการจำหลักลวดลายมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมงคลในทางโหราศาสตร์ ซึ่งอ้างกำลังเทวดาอัฐเคราะห์ได้ 108  เช่นกัน 

.

กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เลือกสรรพระพุทธปฏิมามาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจากทั่วประเทศจํานวน 108 องค์ ตามเลขมงคลในทางศาสนาพุทธ อันเป็นหลักฐานเเสดงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาที่ประดิษฐานอย่างมุ่นคงในประเทศไทย 

.

โดยในภาคอีสานมีองค์พระปฏิมาที่ได้รับการเลือกสรรเพียง 3 องค์ดังต่อไปนี้ 

.

1.หลวงพ่อองค์ตื้อ

  • ที่ตั้ง : วัดศรีชมพูองค์ตื้อ หนองคาย 
  • ขนาด : ​​สูง 4 เมตร หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร
  • รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง
  • อายุ :  ต้นพุทธศตวรรษที่ 22
  • ความสําคัญ : เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสําริดที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย เป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง
  • ตำนานที่เกี่ยวข้อง : ตำนานกล่าวถึงการหล่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อนี้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีพระราชดำริจะหล่อพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นที่บ้านน้ำโหม่ง และได้ชักชวนชาวบ้านให้มาร่วมบุญ ซึ่งชาวบ้านในท้องที่และต่างถิ่นต่างนำทองเหลือง ทองแดงมาตามจิตศรัทธาได้น้ำหนักรวมกัน 1 ตื้อ มีการแยกกันหล่อเป็นส่วนๆ ในวันสุดท้ายมีการหล่อพระเกศ เริ่มตั้งแต่เช้าแต่ก็ไม่เสร็จเพราะทองยังไม่ละลายดี พอถึงเวลาเพลก็แยกย้ายกันไป ทิ้งเบ้าไว้ในเตา เมื่อกลับมาอีกครั้ง ปรากฏทองถูกเทใส่เบ้าแล้วและมีลักษณะที่งามกว่าที่คาดไว้ เมื่อสอบถามจึงรู้ว่า มีชายชรานุ่งขาวห่มขาวมายกเบ้าจนสำเร็จ

 

  1. หลวงพ่อพระใส
  • ที่ตั้ง : วัดโพธิ์ชัย  หนองคาย 
  • ขนาด : หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูง 4 คืบ 1 นิ้ว
  • รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง
  • อายุ :  ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23
  • ความสําคัญ : หลวงพ่อพระใสหรือหลวงพ่อเกวียนหักตามตํานาน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของศาสนิกชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง
  • ตำนานที่เกี่ยวข้อง : หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง ตำนานเล่าสืบต่อว่า พระธิดา 3 องค์ ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และตั้งชื่อตามนามของตนไว้ว่า พระเสริม พระสุก และพระใส มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ เดิมทีประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว จนมีการอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ แต่เกิดพายุใหญ่ ที่บ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย ทำให้พระสุกจมลงน้ำ ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่นำขึ้นมาถึงหนองคาย พระเสริม ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ) ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระทั้ง 2 ไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธิ์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริม ไปประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน

 

  1. .พระบาง
  • ที่ตั้ง : วัดไตรภูมิ  นครพนม
  • ขนาด : ​​สูง 80 นิ้ว แท่นสูง 21.5 นิ้ว
  • รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง
  • อายุ :  ต้นพุทธศตวรรษที่ 24
  • ความสําคัญ : ชาวนครพนมเชื่อกันว่าทําให้ฝนตก ในวันสงกรานต์ชาวบ้านจะอัญเชิญพระบางออกมาเเห่เพื่อขอฝน
  • ตำนานที่เกี่ยวข้อง : ตำนานที่เล่าสืบกันมากล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในประเทศลาว โดยหล่อขึ้นพร้อมกับพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่บ้านดอนติ้ง เมืองหินบูน ประเทศลาว ในช่วงที่มีศึกสงครามได้มีการอัญเชิญพระบางไปซ่อนไว้ในถ้ำหินเหิบ บ้านนาคก แขวงคำเกิด ต่อมาพระอาจารย์ตา พงษ์ศรี พระเกจิที่เจ้าเมืองหินบูนและชาวบ้านเคารพมาจำพรรษาที่นครพนม ทราบข่าวความงามของพระบางจึงขอกับเจ้าเมืองหินบูน จึงมีการเคลื่อนย้ายจากถ้ำโดยนำพระข้ามเหวด้วยรอกและนำมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทนก่อนที่จะประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ และเชื่อกันว่าหากปีไหนฝนแล้งแล้วนำพระบางออกแห่จะทำให้ฝนตก

 

ที่มา :  กระทรวงวัฒนธรรม ,ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

https://linktr.ee/isan.insight

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #พระพุทธรูป#ศาสนาพุทธ#องค์พระปฎิมา#พระชื่อดัง

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top