พามาเบิ่ง ตราประจำจังหวัด ภาคอีสาน
จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 – ปัจจุบัน รูปติณชาติ (หญ้า) กาฬสินธุ์ (บึงน้ำสีดำ) ภูเขา และเมฆ หมายถึงสัญลักษณของความชุมชื่น และอุดมสมบูรณของภูมิภาค ทิวเขาตรงสุด
จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้ หมายถึง พระธาตุขามแก่น เป็นภาพสัญลักษณ์จากตํานาน
เมืองที่กล่าวว่าในเมืองเคยมีต้นมะขามใหญ่อยู่ตนหนึ่งต่อมาถูกตัดโค่นลงเหลือแต่ตอทิ้งไว้หลายปีภายหลังตอไม้นั้นกลับงอกงามมีกิ่งกานสาขาขึ้นอีก ชาวเมืองเห็นเปนนิมิตอันดี จึงได้สร้างพระเจดียครอบทับตอไม้นั้นและถือเป็นสิ่งที่เคารพบูชาสืบมา
จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปธงสามชายอันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ
จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปพระธาตุพนม
จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล
จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน รูปภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้
จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง
จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปทุ่งนาและต้นรัง มาจากชื่อเมืองมหาสาลคาม (หมายถึงหมู่บ้านต้นรังใหญ่)
ซึ่งสะกดเพี้ยนมาเป็นมหาสารคามในปัจจุบัน
จังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 – ปัจจุบัน รูปปราสาทสองนางสถิตประดิษฐานแก้วมุกดาหารตรานี้กรมศิลปากรไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ
จังหวัดยโสธร พ.ศ. 2515 – ปัจจุบัน รูปพระธาตุอานนท์ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองในวัดมหาธาตุ มีสิงห์ขนาบสองข้าง
มาจากชื่อที่ตั้งเมืองเมื่อแรกสร้างคือบ้านสิงห์ท่า รูปดอกบัวบานหมายถึงจังหวัดยโสธรแยกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี รัศมีบนยอดแปดแฉกหมายถึงอำเภอทั้งแปดของจังหวัด
จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน รูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย เบื้องหลังเป็นรูปพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยมีกรอบวงกลมเป็นรูปรวงข้าวล้อมรอบ เดิมตราจังหวัดร้อยเอ็ดมีเพียงรูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัยเท่านั้น ส่วนปีที่ใช้ตราปัจจุบันอ้างตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งออกแบบโดยนายรังสรรค์ ต้นทัพไทย
จังหวัดเลย พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปพระธาตุศรีสองรัก เบื้องหลังเป็นทิวเขา
จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2512 – ปัจจุบัน รูปปรางค์กู่ มีดอกลำดวน 6 กลีบรองรับอยู่เบื้องล่าง ตราปราสาทพระวิหาร ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2483 – 2512 ต่อมาได้เปลี่ยนตราใหม่เพราะไทยเสียปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 การจะใช้ตราเดิมต่อไปจึงเป็นการไม่สมควร
จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปพระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์
จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปพระอินทร์ประทับบนแท่นศีรษะช้างเอราวัณ หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ
เดิมเรียกปราสาทหินศีขรภูมิว่าปราสาทหินบ้านระแงง
จังหวัดหนองคาย พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาล เบื้องหลังเป็นหนองบัวลำภู ในระยะแรก ตราที่ทางจังหวัดออกแบบเองมีเฉพาะรูปศาลสมเด็จพระนเรศวรในวงกลมเท่านั้น
จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เทพเจ้าประจำทิศเหนือ ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลอุดร
จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2483 – ปัจจุบัน รูปดอกบัวบานชูช่อพ้นน้ำ
จังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน รูปพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด ก่อนหน้านี้ทางจังหวัดใช้ตราอีกแบบหนึ่ง แต่มีลักษณะคล้ายตราในปัจจุบัน
อ้างอิงจาก :
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กองกลาง สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กําหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ.2482
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่
Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/
Website : https://isaninsight.kku.ac.th
Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook
LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #IsanEcon #ตราประจำจังหวัด #ตราประจำจังหวัดภาคอีสาน