ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กันยายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 6.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ย. 64)

ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 6.41% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ภาคที่ขยายตัวสูงสุด คือ ภาคเหนือ อยู่ที่ 6.80% รองลงมาเป็น กรุงเทพฯและปริมณฑล 6.54% ในส่วนภาคกลาง 6.26% และภาคใต้ 6.26% มีอัตราเงินเฟ้อที่เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.23%

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ขิง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ค่าส่งพัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.12 เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.26 (AoA)

อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น

1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 12.10%

โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 16.22% ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม จากการปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได สำหรับค่ากระแสไฟฟ้า แม้จะมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในเดือนนี้ แต่ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ส่วนหนึ่ง

2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 9.17%

โดยเฉพาะข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นถึง 25.12% เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภาวะ น้ำท่วมขัง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ

3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 6.31%

โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 15.9% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางตามสถานการณ์พลังงานโลก

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565

มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐที่อาจจะมีเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี จะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับดี รวมถึงฝนตกชุกน้ำท่วมขังพื้นท่ีเกษตร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย และเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง

นอกจากนี้ ราคาพลังงานโลกที่ผันผวน เงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและ วัตถุดิบเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบที่จำกัด

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

อ้างอิงจาก:

https://www.price.moc.go.th/…/fileu…/file_cpi/Cpi_tg.pdf

http://www.indexpr.moc.go.th/…/TableIndexG_region.asp…

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top