พาซอมเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนสิงหาคมเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สูงขึ้น 7.34% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน สิงหาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ส.ค. 64)

ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 107.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.86% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของภาคเหนือสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้น 8.24% รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ สูงขึ้น 7.98% 7.94% และ 7.88% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราท่ีต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.34%

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ผักและผลไม้ อาทิ ขิง มะนาว และสับปะรด

อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น

1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.9% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 28.4% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 8.5% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 29%

3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 8.4% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 21.4% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก

4. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.7% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.7% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน ปี 2565

อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มขยายตัวแต่ในอัตราท่ีชะลอลง จากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน อาหาร และสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุน ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการท่องเที่ยวในประเทศ และการส่งออก ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลต่อต้นทุนการน้าเข้าสินค้า

อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเดียวกันปีก่อน จะเป็นปัจจัยทอนต่อการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันดิบท่ีมีความผันผวน จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ท้าให้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอน นอกจากนั้น มาตรการลดค่าไฟฟ้าของรัฐ ที่คาดว่าจะออกมาในช่วงที่เหลือของปีจะมีส่วนชะลอการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ท่ีระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

อ้างอิงจาก:

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top