กลุ่มครอบครัวทวีแสงสกุลไทย (หรือ “กลุ่ม ช ทวี” ) โดยนายชอ ทวีแสงสกุลไทย และนางอุษา ทวีแสงสกุลไทย เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจรถขนส่งในจังหวัดขอนแก่น และเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุกตั้งแต่ปี 2511 ต่อมาได้ขยายธุรกิจไปยังการผลิต และต่อตัวถังรถบัสในปี 2523 ได้ขยายการผลิตและต่อตัวถังรถพ่วง-กึ่งพ่วง และรถขนส่งประเภทต่าง ๆ
กลุ่ม ช ทวี ได้พัฒนาเทคโนโลยีรถพ่วง รถเพื่อการพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง และมีความพิถีพิถันในการออกแบบตัวถัง รูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับแชสซีรถบรรทุกของลูกค้า เพื่อให้ได้โครงสร้างตัวถังบรรทุกที่แข็งแกร่งทนทานเหมาะสมกับประเภทของงานขนส่งใช้งานได้ในทุกสภาพถนน และทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ
ในรุ่นที่สองของกลุ่ม ช ทวี นำโดยคุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย บุตรชายของคุณชอ ทวีแสงสกุลไทย และคุณอุษา ทวีแสงสกุลไทย ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมยานยนต์และการบริหารธุรกิจ จากประเทศญี่ปุ่น มองเห็นแนวโน้มความต้องการของระบบขนถ่ายสินค้าจำนวนมาก ด้วยรถพ่วงพิเศษขนาดใหญ่ รวมทั้งเล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม ด้านการต่อตัวถังรถบรรทุกที่อาศัยเทคโนโลยีชั้นนำจากต่างประเทศ ว่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมรถพ่วง-กึ่งพ่วง
ในอนาคตจึงได้ตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (“บริษัทฯ” หรือ “CHO”) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัทของครอบครัว คือ บริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด (“CTV-1993”) และบริษัทผู้ผลิต ตัวถังรถบรรทุก และรถพ่วงชั้นนำจากประเทศเยอรมนี คือ DOLL Fahrzeugbau GmbH (“DOLL”) เพื่อประกอบธุรกิจออกแบบ ผลิต ประกอบตัวถัง และติดตั้งระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวกับตัวถังรถบรรทุก รถพ่วง และรถขนส่งเพื่อการพาณิชย์ ด้วยทุนจด ทะเบียน 10.00ล้านบาท โดย CTV-1993 และกลุ่มผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 74 ของทุนจดทะเบียน และ DOLL ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 26 ของทุนจดทะเบียน
กลยุทธ์ด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product)
บริษัทย่อยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทย่อยจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่น อาทิ ความทันสมัย มีนำ้หนักเบา มีความคงทน และง่ายต่อการซ่อมแซม เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทย่อยสามารถผลิตผนังไฟเบอร์กลาสแบบแซนวิชข้ึนรูปชิ้นเดียว (Sandwich GRP) โดย สามารถผลิตได้ความยาวต่อเนื่องสูงสุดถึง 15 เมตร ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรายเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ช ทวี ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัย ภายในและภายนอก ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จึงได้มีการแต่งต้ังประธานคณะผู้บริหารความ เสี่ยง เพื่อมาดำเนินงานในด้านการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมท้ังองค์กร มีความเชื่อมโยงกันทุก ระดับ เพื่อจัดการความเสี่ยงท่ีมีอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ และติดตามการบริหารความเสี่ยง อย่างสม่ำเสมอ บริษัทได้มีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองเพื่อร่วมกันประเมินความเสี่ยง ปัญหาและอุปสรรค ความไม่แน่นอนที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของบริษัท เหตุการณ์ท่ีอาจทำให้องค์การเสียโอกาสในเชิงธุรกิจความเสี่ยงท่ีอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร โดยมีหลักการกำหนดว่าหากมีความเสี่ยงใดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการ ดำเนินธุรกิจไม่ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนท่ีกำหนดแล้ว บริษัทจะต้องมีมาตรการในการบริหาร ความเสี่ยงดังกล่าวอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
อ้างอิงจาก:
– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– เว็บไซต์บริษัท