4 สินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) กับโอกาสสร้างรายได้ของอีสานตอนกลาง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจ 4 สินค้า ได้แก่ จิ้งหรีด แพะเนื้อ โคขุน และหญ้าเนเปียร์ ที่สามารถเลี้ยงหรือปลูกเสริมทดแทนข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสมของ (S3, N) 4 จังหวัด ภาคอีสานตอนกลาง คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ได้เป็นอย่างดี
.
💵สินค้าดังกล่าวมีต้นทุนและผลตอบแทนเป็นอย่างไร ?
.
👉จิ้งหรีด
ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 276 บาทต่อตารางเมตร 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 6-7 รุ่น
ให้ผลผลิตประมาณ 7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ราคาขายเฉลี่ย 104.06 บาทต่อกิโลกรัม
ผลตอบแทนเฉลี่ย 701 บาทต่อตารางเมตร
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 426 บาทต่อตารางเมตร หรือ 63 บาทต่อกิโลกรัม
.
เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่ มีการจำหน่ายผลผลิตเอง ทั้งจิ้งหรีดสดและจิ้งหรีดต้มสุก ทั้งในประเทศและให้กับพ่อค้าคนกลาง เพื่อส่งต่อให้กับตลาด Modern Trade รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
.
👉แพะเนื้อ
ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 3,537 บาทต่อตัว
โดยแม่แพะ 1 ตัว ให้ผลผลิตลูกแพะ 2 ตัวต่อรุ่น
เกษตรกรจำหน่ายแพะเนื้ออายุเฉลี่ย 7 เดือน
ราคาจำหน่าย 3,780 บาทต่อตัว หรือ 140 บาทต่อกิโลกรัม
(น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 27 กิโลกรัมต่อตัว)
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 314 บาทต่อตัว
.
เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตทั้งหมดให้กับพ่อค้าคนกลาง ทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัดที่เข้ามารับซื้อ โดยพ่อค้าคนกลางจะมีการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
.
👉โคขุน
ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 56,687 บาทต่อตัว
ราคาจำหน่าย 60,864 บาทต่อตัว หรือ 91 บาทต่อกิโลกรัม
(น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 666 กิโลกรัมต่อตัว)
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 4,177 บาทต่อตัว
.
ปัจจุบันภาคอีสานตอนกลาง ยังผลิตโคขุนไม่เพียงพอต่อความต้องการรับซื้อ และมีพ่อค้ารายใหม่ ๆ เข้ามาติดต่อรับซื้ออย่างต่อเนื่อง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมีการจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลาง ทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด รวมถึงมีการจำหน่ายโคขุนให้กับสหกรณ์การเกษตรหนองสูง จำกัด และส่งออกไปยังตลาดประเทศจีน
.
👉หญ้าเนเปียร์
ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 17,899 บาทต่อไร่
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี
ผลตอบแทนเฉลี่ย 51,210 บาทต่อไร่
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 33,311 บาทต่อไร่
.
เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์รายย่อย สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด สหกรณ์ปศุสัตว์ตักสิลา จำกัด และสวนสัตว์ขอนแก่น
.
อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต ทั้ง 4 ชนิด เป็นการศึกษาตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ของพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง เพื่อวางแผนด้านการผลิตสินค้าเกษตรในแต่ละจังหวัด ทำให้สามารถบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพความเหมาะสมของปัจจัยการผลิตและความต้องการของตลาดในพื้นที่
.
เกษตรกร ประชาชน หรือผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลสินค้าแต่ละชนิด พื้นที่ทำการเกษตร ตลาดรองรับ รวมถึงพิจารณาเรื่องน้ำเป็นสำคัญ หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมด้านข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.4 โทร. 043-261-513 หรืออีเมล zone4@oae.go.th
.
หมายเหตุ ระดับความเหมาะสมของพืชมี 4 ระดับ คือ S1 พื้นที่มีความเหมาะสมสูง, S2 พื้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง, S3 พื้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย และ N พื้นที่ไม่เหมาะสม
.
.
อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวจเกษตรและสหกรณ์
.
#ISANINsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าทางเลือกที่มีอนาคต #จิ้งหรีด #แพะเนื้อ #โคขุน #หญ้าเนเปียร์

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top