1 เดียวในโลก ‘บั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ความภาคภูมิใจของชาวกาฬสินธุ์ จาก ประเพณี สู่ ‘อัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์’

1. ‘บั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ประเพณี 1 เดียวในโลก

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความ

ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage

ท่ามกลางเสียงหวีดแหลมของตะไลที่หมุนทะยานขึ้นฟ้า และกลิ่นควันดินประสิวที่คลุ้งทั่วท้องนาเล็ก ๆ แห่งตำบลกุดหว้า มีบางสิ่งที่มากกว่า ‘ประเพณี’

ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่ผูกโยงกับความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวอีสานมาอย่างช้านาน เชื่อว่าเป็นการจุดขึ้นเพื่อขอให้เทพเทวดาบันดาลให้ฝนตกดี เพื่อทำการทำนาในช่วงต้นฤดูฝน 

 

ณ ตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ มีงานประเพณีบุญบั้งไฟที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นไม่ซ้ำประเพณีบั้งไฟที่ไหนในโลก นั่นคือ ‘ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ความโดดเด่นที่ว่านั่นคือ การจุด ‘บั้งไฟตะไล’ ซึ่งเป็นบั้งไฟที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีหลายขนาดตามปริมาณดินประสิวที่ใช้ในการบรรจุ ตั้งแต่บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน และบั้งไฟล้านจนไปถึงสิบล้าน เอกลักษณ์ของบั้งไฟตะไลคือ เวลาจุดจะมีลักษณะหมุนขึ้นพร้อมกับปล่อยควันเป็นเกลียวคลื่น ส่งเสียงดังกังวาน และตัวบั้งไฟก็จะตกลงพื้นอย่างช้าๆ จากร่มชูชีพที่คอยพยุง สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

 

สำหรับปี 2568 นี้ งานบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า จะจัดขึ้นในวันที่ 17–18 พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้งงาน ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ขบวนแห่บั้งไฟสุดอลังการ
  • การจุดบั้งไฟตะไลแสน ตะไลสองล้าน และตะไลสิบล้าน ที่จะทะยานขึ้นฟ้าอย่างตื่นตาตื่นใจ
  • การแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสานพื้นบ้าน
  • รวมถึงกิจกรรมสนุกสนานอีกมากมายตลอด 2 วันเต็ม

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน, เฮลิคอปเตอร์ และ ข้อความ

ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage

งานใหญ่ประจำปีที่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ใครที่อยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ของบั้งไฟตะไลล้านและบรรยากาศงานบุญอีสานแท้ ๆ ห้ามพลาดเด็ดขาด!

 

นอกจากนี้ อีสาน อินไซต์ สิพามาเบิ่ง ว่าทำไม ‘บุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ จึงเป็นมากกว่าแค่ประเพณี

@aum_wimonrat

บั้งไฟตะไลสิบล้าน #บุญบั้งไฟ #กุดหว้า

♬ เสียงต้นฉบับ – หมอแคนอุ้ม วิมลรัตน์ – หมอแคนอุ้ม Shop

 

2. ไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่จุดขึ้นฟ้า แต่ บั้งไฟตะไลล้าน คือ ‘สัญลักษณ์แห่งความเป็นกุดหว้า’

ก่อนที่จะมีบั้งไฟตะไล ชาวบ้านกุดหว้าซึ่งเป็นชาวผู้ไท ก็มีการจุดบั้งไฟเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน กระทั่ง ‘นายพิศดา จำพล’ ได้คิดค้นและริเริ่มการทำ บั้งไฟตะไล ขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการเริ่มจุดในปี 2521 ด้วยความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ แม้จะลอยอยู่บนฟ้าได้ไม่นาน แต่กลับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม และได้กลายมาเป็น อัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในโลก ของชุมชนกุดหว้า

@pailolhnaidee

แล่นล่ะแม้ บั้งไฟตะไล 10 ล้าน ทีมงาน #เหิรฟ้าพญาแถน หนึ่งเดียวในโลก! ประเพณีอีสานบ้านเฮา งานบุญบั้งไฟตะไลล้าน ประจำปี 2567 เทศบาลตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ (วันที่ 19 พ.ค.67) . 📸 : #ไปเลาะไหนดี . #บุญบั้งไฟตะไลล้าน #วัฒนธรรมผู้ไท #กุดหว้า #กาฬสินธุ์ #เที่ยวกาฬสินธุ์ #รีวิวกาฬสินธุ์ #กาฬสินธุ์ #kalasin

♬ เสียงต้นฉบับ – ไปเลาะไหนดี – ไปเลาะไหนดี

จากมุมมองของคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้มีความผูกพันธ์กับประเพณีนี้อย่างใกล้ชิด ได้ให้ความเห็นว่า การทำบั้งไฟตะไลล้านนั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเป็นงานฝีมือที่ซับซ้อนและประณีตกว่าบั้งไฟทั่วไป ในทุกๆปี การทำบั้งไฟจะดำเนินโดยคนในชุมชนเอง โดยมีหลายช่วงวัยมาร่วมแรงร่วมใจกัน สะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตที่หล่อหลอมให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความภาคภูมิใจร่วมในท้องถิ่น

 

บั้งไฟตะไลล้าน จึงไม่ใช่แค่สิ่งที่ถูกจุดขึ้นฟ้าในงานบุญเท่านั้น แต่เป็น “สัญลักษณ์แห่งความเป็นกุดหว้า” ที่ฝังอยู่ในหัวใจของผู้คนในชุมชน ถึงขั้นที่มีคำกล่าวว่า

 

“คนกุดหว้าไม่กลับบ้านวันสงกรานต์ก็ได้ แต่บุญบั้งไฟจะไม่พลาดเด็ดขาด”

@khun12345678903

#บั้งไฟตะไล10ล้านกุดหว้า

♬ เสียงต้นฉบับ – มีนตราไม่ใช่มินตรา (ช่องจริง) – Ms.Meentra

3. จาก ประเพณี สู่ “อัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์”

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์ รายงานว่าประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้าน บ้านกุดหว้า ปี 2567 มีจำนวนผู้มาเที่ยวชมงานทั้งสิ้น 85,606 คน มีทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยรุ่นจนไปถึงผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ 83.4% เป็นชาวกาฬสินธุ์ และอื่นๆเป็นคนจังหวัดข้างเคียง เช่น ร้อยเอ็ด มุกดาหาร หรือมาจากกรุงเทพมหานคร ก็มีเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความโด่งดังของประเพณีนี้ในระดับประเทศ

 

ในภาพรวมของผู้ที่มาเที่ยวชมงาน มีความประทับใจในงานอย่างมาก โดยสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในตัวงานมากที่สุดคือการจุดบั้งไฟตะไลล้าน รองลงมาได้แก่ ขบวนแห่บั้งไฟ ความยิ่งใหญ่ของการจัดงาน ประเพณีวัฒนธรรมชาวผู้ไท และการแสดงพิธีเปิด ตามลำดับ นอกจากนั้นผู้ที่มากว่า 88% ต้องการกลับมาเที่ยวชมงานในปีถัดไป

และประเพณีบุญบั้งไฟบ้านกุดหว้าในปี 2567 นี้ ได้สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างมาก โดยตลอดทั้งงานมียอดจำหน่ายสินค้ารวม 12.2 ล้านบาท กระจายรายได้สู่หาบเร่แผงลอย กว่า 5.5 ล้านบาท (45.2%) ร้านค้าในชุมชน กว่า 5.1 ล้านบาท (41.5%) และผลิตภัณฑ์ชุมชน 1.6 ล้านบาท (13.3%)

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน และ ข้อความ

ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนชัดว่า “ประเพณี” ไม่ได้มีแค่คุณค่าทางจิตใจหรือวัฒนธรรม แต่ยังหล่อหลอมให้เกิดเป็นอัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์เฉพาะพื้นที่ ต.กุดหว้า  ที่ได้นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจเทศกาล (Festival Economy) ซึ่งเป็นกลไกที่กระจายรายได้อย่างรวดเร็วไปยังฐานราก จากผู้ขายหาบเร่ แม่ค้าในตลาด ไปจนถึงผู้ผลิตของพื้นบ้านที่ครั้งหนึ่งอาจไม่เคยเข้าถึงผู้ซื้อจากนอกพื้นที่

 

ยิ่งไปกว่านั้น งานบุญยังช่วยสร้าง “การเคลื่อนไหวของเงิน” ภายในชุมชนกุดหว้า ซึ่งต่างจากเม็ดเงินที่ไหลผ่านแล้วจบในระบบห้างหรือธุรกิจนอกถิ่น เพราะการจับจ่ายในเทศกาลแบบนี้ คือการหมุนเวียนภายในรัศมีชีวิตของคนในท้องถิ่นจริง ๆ

 

นี่คือมิติที่มักถูกมองข้ามในวัฒนธรรมท้องถิ่น ว่าทุกเสียงตะไลที่ดังขึ้นบนฟ้า กำลังกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เคลื่อนไปพร้อมกัน

อาจเป็นรูปภาพของ หนึ่งคนขึ้นไป, ฝูงชน, วัด และ ข้อความ

ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage

สรุปประเด็น

  • ชวนชมบั้งไฟตะไลล้าน ต.กุดหว้า จ.กาฬสินธุ์ 17-18 พฤษภาคมนี้
  • บั้งไฟตะไลล้าน สะท้อนภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และความรักใคร่สามัคคีของคนกุดหว้า ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า “คนกุดหว้าไม่กลับบ้านวันสงกรานต์ก็ได้ แต่บุญบั้งไฟจะไม่พลาดเด็ดขาด”
  • ไม่ใช่แค่ประเพณี แต่บุญบั้งไฟบ้านกุดหว้าคือ ‘อัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

 

อ้างอิงจาก

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top