แวดล้อมอีสาน

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย . ภาค พื้นที่สีเขียว (ตร.ม) พื้นที่สีเขียว (ตร.ม) / ประชากร (คน) พื้นที่สีเขียว / ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 49,845,704 2.31 0.03% ภาคเหนือ 41,535,394 3.49 0.02% ภาคกลาง 33,833,473 1.48 0.03% ภาคใต้ 10,079,756 1.06 0.01%   หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 หน่วย ตารางเมตร ต่อ 1 คน   ฮู้บ่ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 135,294,300 ตร.ม. (84,558.95 ไร่) หรือคิดเป็นเพียง 0.03% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร อยู่ที่ 2.04 ตร.ม ต่อ คน ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง พื้นที่สีเขียวกลายเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดอุณหภูมิของเมือง หรือสร้างความสุขให้กับผู้คนที่อยู่อาศัย ทว่า หากพิจารณาสัดส่วนพื้นที่สีเขียวของแต่ละภาคในไทย เรากลับพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่เราต้องเผชิญ   อีสานของเราเป็นผู้นำด้านพื้นที่สีเขียวแต่ยังมีอุปสรรค ปัจจุบันอีสานมีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดในประเทศ คิดเป็น 49.85 ล้านตารางเมตร แม้ตัวเลขนี้จะดูสูง แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของพื้นที่สีเขียวต่อประชากร กลับพบว่ามีเพียง 2.31 ตารางเมตรต่อคน และในภาพใหญ่ของไทย พื้นที่สีเขียว ต่อคน มีเพียง 2.04 ตร.ม. ต่อคนเพียงเท่านั้น ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน    เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่สีเขียวของแต่ละภาค พบว่าภาคเหนือแม้มีพื้นที่สีเขียวรวมรองลงมา (41.53 ล้านตารางเมตร) แต่กลับมีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรสูงที่สุดที่ 3.49 ตารางเมตรต่อคน ในขณะที่ภาคกลางมีพื้นที่สีเขียวเพียง 1.48 ตารางเมตรต่อคน และภาคใต้ต่ำที่สุดที่ 1.06 ตารางเมตรต่อคน นอกจากนี้ หากดูสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่ภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีเพียง 0.03%ขณะที่ภาคเหนืออยู่ที่ 0.02% และภาคใต้ต่ำสุดเพียง 0.01%   ด้วยตัวเลขที่ยังถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานมาก นี่อาจเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของประเทศไทยคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้ โดยต้นไม้ 1 ต้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9-15 กิโลกรัมต่อปี นั่นหมายความว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในอีสานและภูมิภาคอื่น ๆ ให้ได้ […]

พามาเบิ่ง พื้นที่สีเขียว ปอดของแต่ละภาคและแผ่นดิน ก้าวสู่อนาคตสีเขียวของไทย อ่านเพิ่มเติม »

🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!”

ชื่อ จังหวัด ความจุอ่าง (ล้าน ลบ.ม.) น้ำในอ่าง ปริมาณน้ำปัจจุบัน  (ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นเปอร์เซ็น เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 1,966 1,181 60% เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 1,980 1,169 59% เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร 520 286 55% เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 2,431 1,193 49% เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 155 76 49% เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี 136 65 48% เขื่อนลำแชะ จ.นครราชสีมา 275 126 46% เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 141 63 45% เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 165 69 42% เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ 164 65 39% เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 121 39 32% เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 314 65 21% หมายเหตุ: ข้อมูลนี้มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อ้างอิงจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2568 🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!” . 🌧️การจัดการน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของภาคอีสานในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่บางแห่งมีระดับน้ำลดลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา วันนี้วันที่ 12 มีนาคม 2568 ปีนี้ มีน้ำกักเก็บในอ่าง 4,398 ล้าน ลบ.ม แต่ถ้าเทียบกับวันนี้ 12 มีนาคม ปีที่แล้ว มีปริมาณน้ำมากกว่าปีนี้ถึง 580 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนและความต้องการใช้น้ำในพื้นที่จำนวนมาก เช่น การเกษตรและการผลิตไฟฟ้า . 🌪️ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีระดับน้ำในเขื่อนลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานตามปกติ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการลดลงของระดับน้ำในเขื่อน แต่ยังสามารถใช้น้ำได้ในบางส่วน เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคภายในพื้นที่ได้ตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดไว้ เพียงแต่ต้องมีการควบคุมการใช้น้ำอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น . 💧ปัญหาการจัดการน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของภาคอีสานจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน รวมถึงการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในเรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำในอนาคต และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมและการปรับตัวในเรื่องนี้จะช่วยให้การจัดการน้ำมีความสมดุลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น . หมายเหตุ: ข้อมูลนี้มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อ้างอิงจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ข้อมูลวันที่ 12 มีนาคม 2568 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

🌊💦“ชวนเบิ่งสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสานล่าสุด!” อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top