ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราที่สำคัญอันดับ 1 ของโลก โดยยางพาราหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมายาพาราเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นดับ 4 รองจาก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และยานยนต์ โดยมูลค่ารวมของการส่งออกยางพาราของไทยในปีนี้อยู่ที่ 493,933 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 430,351 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.8% โดยคู่ค้าสำคัญของไทยอันดับ 1 และ 2 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และจีน ตามลำดับ ในปี 2566 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีผลผลิตจากต้นยางพารา 4.8 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 2.77 ล้านตัน และภาคอีสาน 1.37 ล้านตัน
สำหรับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตยางพาราในประเทศไทยนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายบริษัท อีกทั้งยังมีการยางแห่งประเทศไทย และสมาคมยางพาราไทย ที่คอยให้การสนับสนุนบริษัทต่างๆอยู่เบื้องหลัง โดยบริษัทที่ทาง ISAN Insight & Outlook เลือกมานำเสนอในวันนี้จะเป็นบริษัทผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 1,000 ล้านบาท ได้แก่
- บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน)
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียนสูงที่สุดในกลุ่มการผลิตยางแผ่นและยางแท่งและเกือบแตะ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องเป็นบริษัทของคนไทยที่มีการร่วมหุ้นลงทุนกับชาวต่างชาติจึงทำให้มูลค่าของทุนจดทะเบียนมาการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันทางบริษัทมีโรงงานอยู่ 17 โรงงานในทุกภูมิภาค โดยบริษัทไทยฮั้วยางพาราเป็นบริษัทที่กินส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 11.33% ลูกค้าและตลาดที่สำคัญของบริษัทไทยฮั้วยางพาราประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป และบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สำคัญ เช่น กู๊ดเยียร์ มิชลิน คอนติเนนทอลเอจี พิเรลลี โยโกฮามารับเบอร์ ซูมิโตโม่คอร์ปอเรชั่น ฮันกุกไทร์เป็นต้น
- บริษัท เซาท์แลนด์รีซอร์ซ จำกัด
บริษัทผลิตยางรายใหญ่ในภาคใต้ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 มีโรงงานทั้งในภาคใต้หลายพื้นที่ และในต่างจังหวัด รวม 17 โรงงาน สร้างการจ้างงานให้คนในพื้นที่มากกว่า 3,000 คน โดยบริษัทเซาร์แลนด์รีซอร์ซนั้นกินส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 7.59% น้อยกว่าบริษัทอื่นแม้ว่ากำลังการผลิตจะสูงกว่าก็ตาม ลูกค้าของบริษัทคือผู้ผลิตยางรถยนต์และผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยางอื่นๆ โดยตลาดหลักประกอบด้วยประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย มาเลเซีย อเมริกา และประเทศต่างๆ ในยุโรป
- บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทผลิตยางรายใหญ่ในภาคอีสานที่ปี 2566 ที่ผ่านมายังคงสามารถทำกำไรได้มากถึง 1,545.6 ล้านบาท ขณะที่บริษัทอื่นนั้นขาดทุนกันหลายบริษัท โดยบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ กินส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในกลุ่ม 3 บริษัทที่ยกมา อยู่ที่ 11.66% และทางบริษัทกำลังทำการสร้างโรงงานผลิตแห่งที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 8 แสนตันต่อปีได้ในอนาคต สำหรับคู่ค้าที่สำคัญของบริษัทได้แก่ บริดจสโตน ประเทศจีน สิงคโปร์และประเทศอื่นๆ
เคยมีคำกล่าวที่ว่าน้ำยางของภาคใต้นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่าภาคอื่นเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากกว่าที่ส่วนใหญ่จะเจอฝนมากกว่าภาคอื่น โดยเมื่อเทียบกับภาคอีสานแล้วนั้นที่มีพื้นที่ที่สามารถปลูกได้มากกว่าภาคใต้ แต่มีโอกาสเจอสภาพอากาศแห้งแล้งได้มากกว่าจึงอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำยางที่สามารถกรีดออกมาได้
- บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัทรายใหญ่ในกลุ่มการผลิตน้ำยางข้นที่ถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญในการนำไปผลิตสิ่งต่างๆต่อได้มากมาย ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานอยู่ 5 แห่ง สร้างกำลังการผลิตมากกว่า 3 แสนตันต่อปี ทำให้บริษัทไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ปกินส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ที่ 11.23% อีกทั้งตัวบริษัทเองยังมีบริษัทย่อยอีกมากมาย ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของบริษัท เช่น ประเทศจีน มาเลเซีย เกาหลี และประเทศอื่นๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าในกลุ่มบริษัทที่เป็นการผลิตยางแผ่นและยางแท่ง สินค้าหลักในการผลิตและการส่งออกจะเป็นยางแท่ง (STR) ที่มีสัดส่วนมากถึง 70% ในทุกบริษัท ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตยางรถยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากกว่ายางแผ่นรมควัน ขณะที่แผ่นยางรมควัน (RSS) นั้นจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 15% แม้จะเป็นวัตถุดิบที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกััน แต่จะนิยมนำไปใช้กับอุตสหกรรมที่ต้องการความยืดหยุ่นของยางสูงกว่ายางแท่ง เช่น ยางรถบรรทุก ยางล้อเครื่องบิน เป็นต้น แม้ว่ายางแท่ง (STR) และยางแผ่นรมควัน (RSS) จะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่ก็ยังคงมีน้ำยางเข้มข้นที่เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการนำไปผลิตสินค้าสำคัญต่างๆอีกมากมาย เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย จุกนมยาง ยางยืด และ กาว เป็นต้น จึงสามารถกล่าวได้ว่ายางพารานั้นถือเป็นขุมทรัพย์แหล่งสำคัญของชาวไทยมาช้านานก็สามารถพูดได้
อ้างอิงจาก
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, เว็บไซต์ของบริษัท, รายงานประจำปีบริษัท, สมาคมยางพาราไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์