พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง?
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ภาคอีสาน” มีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ หนึ่งในคำเรียกขานที่คุ้นหูคือ “ดินแดนที่ราบสูง” ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้. ภาคอีสานมีลักษณะเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 168,854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเด่นคือมีแอ่งขนาดใหญ่ 2 แอ่ง ได้แก่ แอ่งโคราช ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนล่างของอีสาน เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น และมหาสารคาม แอ่งสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนบนของอีสาน เช่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์. จุดสูงสุดของภาคอีสาน หากพูดถึงพื้นที่ที่สูงที่สุดของภาคอีสาน มีสองจุดที่น่าสนใจ ได้แก่ “ภูหมันขาว” (1,820 เมตร) ตั้งอยู่ในจังหวัดเลย เป็นจุดสูงสุดของภูมิภาค มีทัศนียภาพที่งดงามและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ “ภูลมโล” (1,664 เมตร) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเลยและพิษณุโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่เต็มไปด้วยต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทย ยอดภูขวาง ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ความสูง 1,571 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เนิน 1408 จังหวัดเลย ความสูง 1,408 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล. จุดต่ำสุดของอีสาน อำเภอเขื่องใน และอำเภอเมืองอุบลราชธานี ความสูงประมาณ 110-130 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทุ่งกุลาร้องไห้ ความสูงประมาณ 110-140 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งพื้นที่ ลุ่มแม่น้ำมูล หรือ ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 847,000 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคลุมอำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด . . ภูมิศาสตร์กายภาพ ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกันโดยรวมว่า ที่ราบสูงโคราช(Khorat Plateau) มีรูปร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยู่ตรงกลาง ลาดเอียงจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก บริเวณชายขอบเป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิน มีชั้นหินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอนๆ จากลักษณะทางธรณีวิทยาและอายุของหิน ทำให้ทราบว่าแผ่นดินอีสานอยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อน้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนของเปลือกโลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค เป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำแพง และพนมดงรัก ขณะเดียวกันตอนกลางของที่ราบก็เกิดการโค้งตัวขึ้นเป็นสัน จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทือกเขาภูพานแบ่งแอ่งที่ราบต่ำตอนกลางของภาคออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ตอนเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ส่วนที่อยู่ทางใต้เรียกว่า “แอ่งโคราช”. 1.แอ่งโคราช พื้นที่ราบเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่ … Continue reading พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง?
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed