จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน
ฮู้บ่ว่า? นอกจากสินค้าจากจีนที่ทะลักมาไทยแล้ว จีนยังเริ่มย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น โดยในปีล่าสุดมีโรงงานตั้งใหม่กว่า 179 แห่งที่มีการลงทุนจากจีน . หลังจากการเกิดสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2560 ส่งผลให้จีนได้เริ่มมีการมองหาตลาดใหม่ๆ ในการขายสินค้าที่ผลิตออกมามหาศาลในประเทศ ทำให้สินค้าจีนมีแนวโน้มที่จะทะลักมายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศใน GMS รวมถึงไทยเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน . การทะลักของสินค้าจากจีน สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยได้ในหลายมิติ ในด้านหนึ่งผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้รับอานิสงค์จากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้น จากสินค้าที่มีราคาถูกลง มีความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในภาคการผลิต กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันภายในประเทศที่เข้มข้น ตลอดจนความยากลำบากในการแข่งขันด้านต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศได้ ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถรับมือกับปัญหาการทะลักของสินค้าจีนได้ จนนำไปสู่การปิดโรงงานหรือยุติการดำเนินกิจการในที่สุด . นอกจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนแล้ว จีนยังเริ่มขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการจัดตั้งหรือร่วมลงทุนในโรงงานภายในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดแนวโน้มนี้คือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนสามารถใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีสินค้าจีนที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศไทยเองยังมีความต้องการสินค้าจากจีนสูง ทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนมองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ ส่งผลให้การย้ายฐานการผลิตมายังไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปภาพ 1 : มูลค่าการลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตจากประเทศจีน ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รูปภาพ 2 : จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการจากจีน ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน . มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากจีนในภาคการผลิตของไทยเติบโตกว่า 6 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,547 ล้านบาท ก่อนสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เป็น 38,401 ล้านบาท ในปี 2566 สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการขยายฐานการผลิตของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จีนมีความได้เปรียบ เช่น พลาสติก โลหะ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ที่ไทยมีการพึ่งพาจากจีนสูง รวมถึงกลยุทธ์การย้ายฐานการผลิตของจีนเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติตะวันตกและสิทธิประโยชน์จาก BOI ยังผลักดันให้จีนขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น รูปภาพ 3 : จำนวนการตั้งโรงงานในปี 2567 โดยจำแนกตามสัญชาติที่มีการลงทุน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม รูปภาพ 4 : มูลค่าการลงทุนในบริษัทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . ในปี 2567 มีการตั้งโรงงานที่ได้รับการลงทุนจากจีนกว่า 179 แห่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการตั้งโรงงานในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนการตั้งโรงงานที่มีจีนลงทุนมากถึง 164% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆที่ไม่มีการลงทุนจากจีน รวมถึงเม็ดเงินการลงทุนในโรงงานจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 11,387 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนให้ความสำคัญกับตลาดไทยมากขึ้นทั้งในด้านการรองรับสินค้านำเข้าจากจีนและโอกาสที่จะเติบโตในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รูปภาพ 5 : ประเภทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน จำแนกตามขนาดของโรงงาน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . การลงทุนจากจีนในโรงงานของไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่จีนได้เปรียบและไทยมีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง … Continue reading จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed