พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️

“ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นทุ่งใหญ่ของภาคอีสานมีพื้นที่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ จํานวนพื้นที่ทั้งสิ้น 2,107,690 ไร่    ทำไมถึงเรียก “ทุ่งกุลาร้องไห้”   เดิมมีชื่อว่า ทุ่งหมาหลง หรือ ทุ่งป่าหลาน ที่ได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นั้น มีตํานานกล่าวว่ามีพ่อค้าชาวกุลาเดินเร่ขายสินค้าผ่านเข้ามาในทุ่งกว้างแห่งนี้จนเมื่อยล้ายังไม่พ้นทุ่งกว้างแห่งนี้ จึงมีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”     ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้า GI รุกตลาดยุโรปรายแรกของไทย   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็น สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึงพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ สินค้าที่ได้รับการรับรอง “จีไอ” จะได้รับการยอมรับจากตลาดหลักโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีการใช้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ คาดว่าเริ่มมีการนําเข้ามาปลูกหลังจากทางราชการมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและรับรองพันธุ์ในปี 2502 ในชื่อพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” ได้เริ่มดําเนินการอย่างกว้างขวางในปี 2524 โดยโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเน้นการเปลี่ยนพันธุ์ปลูกจากข้าวเหนียวเป็นพันธุ์ข้าวเจ้า จึงทําให้ข้าวหอมมะลิมีการปลูกอย่างแพร่หลาย   โดยข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศ ได้แก่ – สหภาพยุโรป – สาธารณรัฐประชาชนจีน – อินโดนีเซีย – มาเลเซีย   จุดเด่นของพันธุ์นี้คืออะไร?   ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วงฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าว ยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก   การที่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้ขึ้นเป็นสินค้า GI นั้น นับว่าเป็นโอกาสทางการค้า การตลาด รวมถึงเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าข้าวคุณภาพที่ได้มาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน   สำหรับสถานการณ์ด้านตลาด พบว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจนรวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ … Continue reading พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️