เติบโตด้วยตนเอง..‘อุดรธานี’ ถูกผลักดันจากภาครัฐน้อยกว่า ‘ขอนแก่น’ จริงหรือ?
ความรุ่งเรืองของ ‘อุดร’ จากอดีต กระทั่ง ปัจจุบัน อุดรธานี จังหวัดใหญ่แห่งอีสานที่เจริญเติบโตมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงสงครามเย็น โดยในยุคสงครามเย็น ช่วงปี พ.ศ. 2497-2505 มีสหรัฐฯ เข้ามาช่วยพัฒนาโครงสร้างในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ถนนมิตรภาพ วางรากฐานสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมไปถึงสนามบิน ส่งผลให้ในยุคนั้น อุดรธานีเป็นที่ถึงดูดของคนต่างท้องที่ ต่างเชื้อชาติ ตั้งรกราก ไม่ว่าจะเป็น ทหารอเมริกัน คนเวียดนามที่ลี้ภัยสงคราม คนจีนที่เข้ามาค้าขาย ส่งผลให้เม็ดเงินมหาศาลเข้ามายังอุดรธานี ซึ่งความเจริญของอุดรในยุคนั้นสะท้อนได้จากการที่มีร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิง อยู่เต็มเมือง มีความทันสมัยทางด้านวัฒนธรรม อาหาร แฟชั่น แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ในอีสาน รูปภาพจาก: Yothin Samrandee เรื่องราวในอดีตยังคงมีผลมาจวบจนปัจจุบัน โดยสภาพสังคมของเมืองอุดร หลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม มีชุมชนคนจีนและเวียดนามอาศัยอยู่มาก มีฝรั่งเดินอยู่ทั่วไป มีคนลาวเข้ามาช้อปปิ้งทุกวัน โดยยอดผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติของอุดรฯ ในช่วง ม.ค.- พ.ย. 2567 มีจำนวน 9.5 แสนคน อันดับ 2 ในอีสานรองจากเมืองติดริมโขงอย่างหนองคาย แต่พบว่าอุดรธานีมีรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 12,508 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าหนองคายที่เท่ากับ 8,183 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าคนลาวในเวียงจันทน์ซึ่งมีกำลังซื้อสูง เดินทางผ่านเข้ามายังด่านหนองคายเพื่อเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในเมืองอุดรนั่นเอง นอกจากนั้นตลอด 15 ปีที่ผ่านมา สนามบินอุดรธานี ยังมีสถิติเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารสูงที่สุดอันดับ 1 ในอีสานทุกปี โดยในปี 2566 และ 2567 มีจำนวนผู้โดยสารรวมกว่า 3.6 ล้านคน โดยอันดับ 2 คือ สนามบินขอนแก่น มีจำนวน 3.1 ล้านคน รูปภาพจาก: กรมท่าอากาศยาน Agoda เผย อุดรธานีคว้าอันดับ 1 จุดหมายท่องเที่ยวสุดคุ้ม จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอุดรธานีเป็นเมืองค้าขายและหมุดหมายการท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้งคนไทยและต่างชาติ อย่างไรก็ตาม มีหลายๆเสียงที่บอกว่า อุดรธานีนั้นป็นจังหวัดใหญ่ในอีสานที่ถูกภาครัฐให้ความสำคัญน้อยกว่าจังหวัดอื่นอย่างขอนแก่น? เรื่องนี้ จริงเท็จแค่ไหน Isan insight & Outlook สิพามาเบิ่ง ‘อุดร’ ถูกลดความสำคัญ ‘ขอนแก่น’ กลายเป็นตัวเลือกแรกของรัฐ ประเด็นนี้ต้องมองย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้ามามีอำนาจทางการเมือง ได้ให้กำเนิดนโยบาย “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆของไทย โดยใช้ ‘แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่หนึ่ง’ … Continue reading เติบโตด้วยตนเอง..‘อุดรธานี’ ถูกผลักดันจากภาครัฐน้อยกว่า ‘ขอนแก่น’ จริงหรือ?
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed