ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่”

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” จังหวัดที่มีประชากร 6.3 แสนคน แต่มีรายได้/หัว สูงอันดับ 3 ของภาคอีสาน.ลอตเตอรี่…แผ่นกระดาษแห่งความหวังของคนไทยสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่เกมเสี่ยงโชค แต่ยังสะท้อนถึงความหวัง ความเชื่อ และพฤติกรรมทางสังคมของคนไทย ลอตเตอรี่กลายเป็นกิจกรรมที่คนทุกชนชั้น ทุกวัย มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานรายวัน พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงข้าราชการและนักธุรกิจ ทุกคนต่างมีความหวังว่าตัวเลขบนสลากหนึ่งใบอาจเปลี่ยนชีวิตได้ โดยภาคอีสาน เป็นภาคที่ประชาชนมีการซื้อลอตเตอรี่หรือเล่นหวย กว่า 8.1 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศ ส่วนหนึ่งจากจำนวนประชากรที่มาก และยังสะท้อนถึงพฤติกรรมการชอบเสี่ยงโชคของคนอีสาน.เมืองเลย เมืองแห่งลอตเตอรี่โดยหากพูดถึงลอตเตอรี่ในภาคอีสานแล้ว จังหวัดที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” ทั้งในระดับภาคอีสานและประเทศ นั่นคือจังหวัดในอีสานตอนบนอย่าง เลย คนในจังหวัดเลยมีความผูกพันธ์กับการซื้อขายล็อตเตอรี่อย่างมากจนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม ถึงขนาดที่มีความคิดเห็นที่ว่าพ่อค้าแม่ค้าที่เดินขายล็อตเตอรี่อยู่ทั่วประเทศไทยนั้นมีโอกาสสูงที่จะมาจากจังหวัดเลย.เหตุผลอันเนื่องมาจากที่เลยมีตลาดนัดค้าส่งลอตเตอรี่ขนาดใหญ่อย่าง ‘ตลาดลอตเตอรี่วังสะพุง’ ตั้งอยู่ที่ ถนนมลิวรรณ บ้านน้อยนา ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย ถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอีสานและใหญ่ระดับต้นๆของประเทศ มีพ่อค้ารายย่อยทั่วสารทิศทั้งในและนอกภาคอีสานมาซื้ออย่างมากมายในช่วงออกรางวัล สร้างเม็ดเงินกว่า 1,500-2,000 ล้านบาทต่องวด.‘ลุงเยี่ยน’ ผู้บุกเบิกอาชีพขายลอตเตอรี่ใน จ.เลยวัฒนธรรมการขายลอตเตอรี่ในจ.เลย ถูกบุกเบิกมาจากชายหนุ่มคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘นายยศพล มูลกองศรี’ หรือคนท้องที่เรียกเขาว่า ‘ลุงเยี่ยน’ เป็นชาวบ้านโพนงาน อ.ทรายขาว จ.เลย เกิดเมื่อปีพ.ศ.2499 โดยประมาณ ช่วงปีพ.ศ.2520 ลุงเยี่ยนซึ่งในขณะนั้นอายุ 20 ต้นๆ ได้ปลดประจำการจากการเป็นพลทหาร และได้มีโอกาสเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำอาชีพเสริมเป็นการปั่นจักรยานเร่ขายลอตเตอรี่ตามชุมชน.ลุงเยี่ยนเป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี เมื่อไรก็ตามที่พี่น้องญาติมิตรหรือชาวบ้าน เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ลุงเยี่ยนก็ยินดีให้พักอาศัยด้วยเสมอ และลุงเยี่ยนจึงได้แนะนำชาวบ้านให้ทำอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่ซึ่งเป็นอาชีพสุจริต หวังสร้างรายได้ให้แก่ญาติมิตร โดยเริ่มแรกลุงเยี่ยนเป็นคนออกทุนให้ก่อน จากชาวบ้านกลุ่มเล็กๆที่ได้เริ่มอาชีพนี้ และได้บอกกันปากต่อปากจนคนอำเภอวังสะพุงจึงเริ่มนิยมทำอาชีพนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งในที่สุดอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่จึงได้กลายเป็นอาชีพหลักของคนอำเภอวังสะพุงและกระจายไปทั่วจังหวัด.กระทั่งในปี 2542 ปริมาณคนขายลอตเตอรี่เพิ่มมากขึ้น นายชิติพัทธ์ กิ่งแก้ว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสหกรณ์วังสะพุง จำกัด ได้ริเริ่มเปิดตลาดนัดลอตเตอรี่ที่สามแยกนาหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าสลาก ทั้งรายใหญ่ รายย่อย และผู้เดินขาย ลดความจำเป็นในการเดินทางไปซื้อถึงกรุงเทพฯ ต่อมาปี 2553 จึงย้ายไปขอใช้โกดังสหกรณ์การเกษตรวังสะพุงจนมาถึงปัจจุบัน โดยจากความคิดรอเริ่มของลุงเยี่ยน ได้ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นหลายหมื่นรายสร้างอาชีพและมีรายได้.เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ลุงเยี่ยนได้เสียชีวิตในวัยเพียง 38 ปี แต่ญาติมิตรและคนที่ลุงเยี่ยนเคยช่วยเหลือไว้ก็ไม่เคยลืมบุญคุณ เพื่อเป็นการระลึกความมีเมตตาและคุณงามความดีในการบุกเบิกอาชีพขายลอตตอตรี่แก่คนในจังหวัด จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ลุงเยียนขนาดเท่าตัวจริงขึ้น เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565 ตั้งอยู่ที่หน้า ตลาดนัดลอตเตอรี่ เจมส์-ออย อ.วังสะพุง จ.เลย.ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป กระทบอาชีพขายลอตเตอรี่หลังจากที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เปิดตัว ‘สลากดิจิทัล’ ซึ่งเป็นการขายล็อตเตอรี่ผ่านแอพลิเคชั่นเป๋าตังตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2565 ด้วยราคาที่แน่นอนที่ 80 บาท เพิ่มตัวเลือกให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งจากลอตเตอรี่ที่ขายบนแผงมักมีราคาที่สูงกว่าจากมีต้นทุนเพิ่มเติม และจำนวนโควตาลอตเตอรี่ของพ่อค้าแม่ค้าที่ขายบนแผงที่ลดลง นอกจากนั้นการมาของสลาก L6 และ N3 ซึ่งมีการขายเฉพาะรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งผู้ซื้อสลากสามารถเลือกตัวเลขได้ตามความต้องการ มีรางวัลพิเศษ และได้รับรางวัลแน่นอน … Continue reading ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่”