🔎พาเปิดเบิ่ง เกลือหิน (rock salt)🧂🪨ขุมสมบัติล้านปีแห่งแดนอีสาน

พาเปิดเบิ่งเกลือหิน (rock salt)ขุมสมบัติล้านปีแห่งแดนอีสาน..ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ.เมื่อ 300-250 ล้านปีก่อน ช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก อีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อน้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบ.ต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนของเปลือกโลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค แผ่นดินอีสานจะถูกยกตัวสูงขึ้นจากการชนของแผ่นทวีปอินเดียและยูเรเซีย เป็นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ ในขณะที่ภาคกลางยังเป็นทะเลอยู่.เกิดการเปลี่ยนสันฐานทางธรณี ระดับน้ำทะเลลด และภูมิประเทศเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แร่ธาตุ น้ำทะเล เกลือ ไหลไปกองที่ก้นแอ่งโคราช และ แอ่งสกลนคร เป็น เกลือหิน นั้นเอง..เกลือหิน (อังกฤษ: rock salt) คือ ทรัพยากรแร่ตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เกลือหินที่พบในประเทศ ไทยแบ่งตามส่วนประกอบทางเคมีออกเป็น 2 ประเภทคือ.ส่วนที่เป็นเกลือแกง หรือที่รู้จักกันว่าเกลือสินเธาว์ เรียกว่าแร่ เฮไลต์ (Halite) มีองค์ประกอบทางเคมีคือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ประกอบด้วย คลอรีน (Chlorien) ร้อยละ 60.7 และ โซเดียม (Sodium) ร้อยละ 39.3 เกลือมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 58.4 มีรูปผลึกแบบสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ใสไม่มีสีเมื่อบริสุทธิ์ แต่เมื่อมีมลทินจะมีสีขาว สีเทา สีน้ำตาล และสีส้ม มีความถ่วงจำเพาะ 2.165 ความแข็งตามสเกลของมอร์ (Moh’s Scale) 2.5 มีจุดหลอมตัวที่ 800.8 องศาเซลเซียส และน้ำเกลือจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิลบ 21.12 องศาเซลเซียส เกลือชนิดนี้มีประโยชน์ที่สำคัญนอกจากใช้ในการปรุงอาหารและถนอมอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างมากในการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหรรมหลายชนิดเช่นการทำโซดาไฟ (NaOH) โซดาแอช (Na2CO3).ส่วนที่มีส่วนประกอบของธาตุโปแตสเซียม อยู่ด้วยเรียกว่า เกลือโปแตส มีหลายชนิดด้วยกันเช่นแร่ ซิลไวท์ (Sylvite : KCl) แร่คาร์นัลไลท์ (Carnallite : KCl.MgCl2.6H2O) แร่เคนไนท์ (Kainite : MgSO4.KCl.3H2O) และแร่ แลงบิไนท์ (Langbenite : K2SO4.2MgSO4) เป็นต้น เกลือโปแตสมีประโยชน์ในการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมีโดยเนื่องจากมีธาตุ โปแตสเซียม (K) เป็นส่วนประกอบสำคัญ.เกลือหินพบมากในภาคอีสาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า น้ำทะเลที่เคยไหลท่วมภาคอีสานและได้ถูกปิดกั้นด้วยเทือกเขาจากการยกตัวของเทือกเขาภูพานทางตอนกลางของภาคอิสาน ซึ่งได้ทำให้เกิดการแบ่งดินแดนอีสานเป็น 2 ส่วน ทำให้พบแร่เกลือหิน และแร่โปแตชชนิดคาร์นัลไลท์ จำนวนมาก บริเวณที่พบแร่เกลือหินและแร่โปแตช มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกระทะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แอ่ง คือ.แอ่งเหนือ หรือ แอ่งสกลนคร (Sakonnakhon Basin) อยู่ทางตอนเหนือ ของ ที่ราบสูงโคราช คลุมพื้นที่ของ จังหวัดอุดรธานี … Continue reading 🔎พาเปิดเบิ่ง เกลือหิน (rock salt)🧂🪨ขุมสมบัติล้านปีแห่งแดนอีสาน