พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS
. จะเห็นได้ว่า GDP ของไทยและเวียดนามค่อนข้างดีดตัวสูงกว่าประเทศอื่นในGMS เป็นอย่างมากอันเนื่องมาจากมีความโดดเด่นด้านขนาดเศรษฐกิจ ความหลากหลายของภาคเศรษฐกิจ และศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ทำให้ GDP ของทั้งสองประเทศสูงกว่าเพื่อนบ้านใน GMS อย่างชัดเจน วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้GDPหดตัวลง -การระบาดของcovid-19 ปี 2019 เนื่องจากเกิดวิกฤตเชื้อไวรัส โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้ภาคเศรษฐกิจต่างๆในประเทศเกิดการหดตัวลงไม่ว่าจะเป็น ภาคการท่องเที่ยว,การค้าระหว่างประเทศ ทำให้GDP ของแต่ละประเทศเกิดการหดตัวลงเพราะต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของโลก –วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 ส่งผลต่อ GMS โดยเฉพาะในประเทศที่พึ่งพาการส่งออก (ไทย กัมพูชา และเวียดนาม) ในขณะที่ประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศและจีน (ลาวและเมียนมา) ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของ GMS หลังวิกฤต –วิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 1997 ส่งผลต่อประเทศใน GMS ในระดับที่แตกต่างกัน ประเทศที่เปิดเศรษฐกิจและพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศอย่างไทยและกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในขณะที่ประเทศที่เศรษฐกิจปิดตัว เช่น เมียนมา และลาว ได้รับผลกระทบทางอ้อมเท่านั้น วิกฤตครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค GMS ที่มา เว็ปไซต์ :maccrotrends,trading economics พามาเบิ่งหนี้สาธารณะแต่ละประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง GMS
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed