มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน
เผาอ้อย สาเหตุจากต้นทุน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง การเผาอ้อย เป็นกรรมวิธีที่ชาวไร่อ้อยทำในช่วงเก็บเกี่ยวอ้อยจนกลายเป็นวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงเปิดหีบอ้อยช่วงเดือนธันวาคม-ช่วงต้นปี ซึ่งสาเหตุหลักที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเลือกที่จะทำการเผา มาจากปัจจัยด้าน “ต้นทุน” เนื่องมาจากแรงงานตัดอ้อยสดหาได้ยากกว่า แรงงานไม่ชอบตัดอ้อยสด เพราะยุ่งยาก เสี่ยงที่โดนใบอ้อยบาดมือ และใช้เวลามากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีต้นทุนค่าแรงที่สูง เจ้าของไร่อ้อยหลายรายจึงมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะจ้าง และเลือกที่จะใช้วิธีการเผาแล้วจึงเก็บเกี่ยว ปัจจัยต่อมาคือการใช้รถตัดอ้อยเพื่อแก้ปัญหาแรงงานนั้นทำไม่ได้ทั่วถึงเนื่องจากในบางพื้นที่สภาพทางกายภาพไม่เหมาะสมกับรถตัด ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นเนิน มีหินเยอะ มีต้นไม้เยอะ พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังได้ง่าย นอกจากนั้นการใช้รถตัดอ้อยนั้นมีต้นทุนที่สูง จำนวนรถตัดมีไม่มาก และไร่อ้อยบางพื้นที่รถตัดเข้าไปได้ยาก และเสี่ยงที่จะไม่คุ้มค่า ลักษณะของแปลงของเกษตรกรไร่อ้อยในภาคอีสานเป็นแปลงขนาดเล็ก เกษตรกรมีจำนวนมากในบางโรงอาจมีเกษตรกรมากถึงเป็น 10,000 ราย ในการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เช่นรถตัดอ้อยเข้าไปในแปลงขนาดเล็กนั้นจะไม่คุ้มทุนเพราะต้องเสียหัวแปลงท้ายแปลงในการกลับรถเสี่ยงต่อการที่รถตัดอ้อยจะเหยียบอ้อย การที่แปลงไร่อ้อยกระจายอยู่ทั่วไปไม่รวมตัวกันทำให้การเคลื่อนย้ายรถตัดทำได้ลำบาก อาจมีต้นทุนที่สูงจึงทำให้หารถเข้าไปตัดได้ยาก คุณภาพของการบริการรถตัดอ้อยก็ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรเช่นกันเพราะถ้าหากคนขับรถตัดไม่ชิดดินทำให้ตออ้อยถอนขึ้นหรือเหยียบตออ้อยจะทำให้อัตราการงอกในปีต่อไปค่อนข้างต่ำและเกิดการสูญเสียในปีต่อๆไป นอกเหนือจากปัจจัยสำคัญในข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น ปัญหาไฟไหม้ธรรมชาติ หรือไฟที่เผาจากแปลงอื่นลุกลามมา นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการแข่งขัน ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องทำการรีบเร่งให้ผลผลิตของตนออกสู่ตลาดก่อนรายอื่น จึงต้องทำการเผาอ้อยเพื่อเร่งเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้ การแข่งขันระหว่างโรงงานอาจเป็นเหตุจูงใจให้มีการจุดไฟเผาไร่อ้อย เพื่อบังคับให้เกษตรกร เร่งการเก็บเกี่ยวหากไม่มีคิวหีบก็จะต้องขายอ้อยที่ไหนก็ได้แบบเร่งด่วนเพื่อไม่ให้น้ำหนักอ้อยไฟไหม้สูญเสียไปมากกว่าที่ควรเป็น ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้ ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีการปลูกอ้อยมากที่สุดในในประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเผาอ้อยมากที่สุดตามไปด้วย โดยปริมาณอ้อยไฟไหม้ที่เกษตรชาวไร่อ้อยอีสานได้นำมาขายให้โรงงานมีปริมาณทั้งสิ้น 14 ล้านตัน หรือเป็นสัดส่วนกว่า 34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบในภาคอีสาน การเผาอ้อยนั้นเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาควัน เศษที่เถ้า ฝุ่น PM2.5 ผนวกกับช่วงต้นปีมีความกดอากาศต่ำอยู่แล้ว จึงส่งผลให้ปัญหามลภาวะหนักขึ้นไปอีกและกลายเป็นปัญหาที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทุกปี เผาอ้อยเฮ็ดหยัง? ต้นตอฝุ่นควัน กับเหตุผลที่หลายคนยังไม่รู้ สัดส่วนอ้อยเผาเข้าหีบอีสานลดลง จากมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ปีเก็บเกี่ยว 2567/68 นี้ บอร์ดคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเก็บเกี่ยวและซื้อขายอ้อยของชาวไร่และโรงงาน เพื่อลดปัญหาการเผาและฝุ่นควัน ผ่านการสนับสนุนให้เก็บเกี่ยวอ้อยสดเพิ่มขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับใบและยอดอ้อยผ่านการรับซื้อจากชาวไร่ มีการสนับสนุนและดูแลเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวอ้อยสด ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวไร่ประมาณ 120 บาทต่อตันอ้อย อีกทั้งในปีนี้มีมาตรการหักเงินชาวไร่ตามสัดส่วนของอ้อยเผาที่ส่งเข้าโรงงาน ตั้งแต่ 30-130 บาทต่อตัน นอกจากนั้นยังมีบทลงโทษแก่โรงงานน้ำตาลที่มีการรับซื้ออ้อยเผาเกินสัดส่วน ดังเช่นในกรณีของ บริษัท น้ำตาลไทย อุดรธานี ที่ได้ถูกสั่งปิดชั่วคราวหลังจากมีการรับซื้ออ้อยเผาเป็นปริมาณมาก โดยจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในปีเก็บเกี่ยวนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณอ้อยเข้าหีบหลังจากเปิดหีบ 45 วัน ของปีการผลิต 2566/2567 และ 2567/2568 พบว่าตัวเลขการรับซื้ออ้อยเผาของโรงงานน้ำตาลภาคอีสานลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปีการผลิต 2566/2567 (เปิดหีบ 12 ธ.ค. 2566) มีปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบ 7 ล้านตัน คิดเป็น 30% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม ขณะที่ปีการผลิต 2567/2568 (เปิดหีบ 6 ธ.ค. 2567) พบว่าปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบลดลงเป็น 4.2 ล้านตัน และคิดเป็นเพียง 20% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมในปีนี้ สะท้อนผลในเชิงบวกของการใช้มาตรการ เป็นแนวทางการลดปัญหาการเผาอ้อยและมลภาวะต่อไป … Continue reading มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed