NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ”

พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5   ในทุกฤดูหนาวอากาศที่เย็นตัว พร้อมกับความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผนวกกับลมประจำฤดูที่พัดลมหนาวจากตะวันออกเฉียงหนือ จาก Infographic ที่แสดงจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า มลพิษทางอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เป็นอีก 1 สาเหตุของมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรม, การใช้รถที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และที่กำลังเป็นประเด็นสังคม คือ การเผาในทางการเกษตร ทั้ง นาข้าว อ้อย และข้าวโพด ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT เสนอให้มีการตรวจสอบและศึกษาวิจัยสาเหตุของฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจัง เพื่อหาต้นตอที่แท้จริงโดยนำวิเคราะห์ฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์มาใช้ ศึกษาฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์ “การเผา-การใช้รถ” อาจไม่ใช่ “สาเหตุหลัก” ฝุ่น PM2.5 รองผู้อำนวยการ NARIT เผย ต้นตอหลักของการเกิดฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาและการใช้รถไม่ถึงครึ่ง แต่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “ละอองลอยทุติยภูมิ” ในงาน NARIT The Next Big Leap เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 68 ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT ได้มีการกล่าวถึงการนำองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งรวมถึงปัญหาใหญ่ใกล้ตัวอย่าง “วิกฤตฝุ่น PM2.5” ด้วย ดร. วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการ NARIT บอกว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคนิค “Mass Spectrometry” (แมสสเปกโทรเมทรี) ในการศึกษาองค์ประกอบฝุ่นเพื่อหาว่าต้นตอจริง ๆ ของฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาตามที่มีการเข้าใจกันเป็นวงกว้างจริงหรือไม่ Mass Spectrometry คือการจำแนกโครงสร้างของโมเลกุลสารต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบของสเปกตรัม ซึ่งทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สารนั้น ๆ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันเป็นอะไรบ้าง เช่น นักดาราศาสตร์จะใช้ตรวจวัดสเปกตรัมรังสีคอสมิกในบรรยากาศดวงจันทร์ ในที่นี้ ก็สามารถนำมาใช้ศึกษาฝุ่นได้และสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้ด้วย ดร.วิภูบอกว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2016 งานวิจัยต่างประเทศเคยมีการทดลองใช้ ACSM ใกล้กับกรุงมิลาน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมของอิตาลี และมีประชากรมาก มีหลายองค์ประกอบที่คล้ายกรุงเทพและเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนั้นออกมาว่า ในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบโดยเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์ถึง 58% รองลงมาคือไนเตรท (NO3) 21% ตามด้วยซัลเฟต (SO4) 12% และแอมโมเนีย (NH4) 8% งานวิจัย Variations in the chemical composition of … Continue reading NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ”