พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5
🔥จุดความร้อน หรือ Hot Spot คืออะไร? จุดความร้อน พูดง่ายๆก็คือ จุดที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก ซึ่งส่วนมากก็คือความร้อนจากไฟ แสดงในรูปแบบแผนที่เพื่อนำเสนอตำแหน่งที่เกิดไฟในแต่ละพื้นที่แบบคร่าวๆ การได้มาซึ่งข้อมูลจุดความร้อนอาศัยหลักการที่ว่า ดาวเทียมสามารถตรวจวัดคลื่นรังสีอินฟาเรดหรือรังสีความร้อนที่เกิดจากไฟ (อุณหภูมิสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส) บนพื้นผิวโลก จากนั้นก็ประมวลผลแสดงในรูปแบบจุด ซึ่งปัจจุบันทุกคนสามารถตรวจสอบจุดความร้อนเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์เหล่านี้ (http://bit.ly/2OalZnU) ในช่วงนี้บ้านเมืองเราในหลายพื้นที่ยังคงเกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง กลุ่มควันปกคลุมเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด โดยแผนภาพที่นำเสนอจุดแดง📛คือ จุดความร้อนที่กระจายอยู่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการเผามีการกระจายตัวทั้งประเทศ แต่ภาคอีสานจะมีการการเผาที่กระจายตัวหนาแน่นทั่วอีสาน ซึ่งสาเหตุการเผานั้นก็มาจากการเผาตอซังและฟางข้าวของชาวนา หรือเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเกิดขึ้นค่อนข้างมาก โดยต้นทุนในการที่จะจ้างรถไถกลบก็จะใช้เงินจำนวนมาก การเผาจะประหยัดกว่าการจ้างรถไถมาไถกลบหรือทำการไถกลบเอง เมื่อเกิดมลพิษทางอากาศย่อมส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบสาธารณสุขภาพรวม สิ่งแวดล้อม และในที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือมักส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และ PM 2.5 ยิ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากด้วยอนุภาคที่เล็กมากของ PM 2.5 จึงสามารถเดินทางผ่านกระแสเลือด ปอด รวมไปถึงหัวใจได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจและหลอดเลือดของประชากรใน ประเทศ ในขณะนี้เองประเทศไทยก็กำลังเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมา พบมีแหล่งกำเนิดฝุ่นมาจากไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจร ขนส่ง และโรงงาน ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาช่วงต้นปีที่ความกดอากาศสูง แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศปิด ลมสงบ ฝุ่นละอองไม่ฟุ้งกระจาย และสะสมในพื้นที่ จนเกินมาตรฐาน การเผาในประเทศที่เป็นหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหา PM 2.5 ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด PM 2.5 ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความหนาแน่นของประชากร หรือการจราจร นอกจากนี้ การเผาจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีผลกระทบต่อ PM2.5 ด้วยเช่นกัน ปริมาณการเกิดไฟไหม้สูงพบเห็นได้ที่ชายแดนติดกับกัมพูชา จากรูปแสดงให้เห็นความถี่การเกิดการเผาไหม้ซึ่งมักมีจุดเกิดการเผาไหม้ในประเทศเพื่อนบ้านบริเวณใกล้กับชายแดนประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ภาคอีสานของประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีลมมรสุมประจำปี และร่องความกดอากาศต่ำในช่วง พ.ย.-ม.ค. ในช่วงหน้าหนาวทำให้ฝุ่นควันถูกพัดตามกระแสลมเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทยมากขึ้น ข้อมูลระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) รายงานผ่านระบบเดือน ม.ค. 2568 ที่ยังไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน โดยรวมกว่า 1.44 แสนราย เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบมากที่สุด รองลงมา กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งสถิติเผยว่า อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่หลักที่มีการเพาะปลูกอ้อย หรือมีการเผาที่มีความถี่มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคนั้นเอง พามาเบิ่งจำนวนสะสมผู้ป่วยมะเร็งปอดแต่จังหวัดภาคอีสาน ปี 2566 ที่มา: – กรุงเทพธุรกิจ – Thai … Continue reading พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed